การใช้เครื่องมือด้านมานุษยวิทยาในการเรียนรู้ชุมชนเพื่อการวางแผนปฏิบัติงานชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ:
เครื่องมือด้านมานุษยวิทยา, การเรียนรู้ชุมชน, การวางแผนปฏิบัติงานชุมชนบทคัดย่อ
โดยทั่วไปการดำเนินงานสาธารณสุขและการบริการพยาบาล คือ สิ่งที่รัฐบาลจัดหาให้ตามความต้องการของชุมชนพยาบาลและนักวิชาการสาธารณสุขจะต้องประเมินความต้องการของชุมชุมที่ตนเองรับผิดชอบด้วยเครื่องมือที่หลากหลายโดยเครื่องมือเหล่านั้นใช้ค้นหาความต้องการด้านสุขภาพของคนในชุมชุม จากการใช้ในการทำความรู้จักกับบริบทของชุมชนที่เข้าไปศึกษาโดยการใช้เครื่องมือทางด้านมานุษยวิทยาในการศึกษาชุมชนเชิงลึก 7 อย่าง ซึ่งประกอบด้วยแผนที่เดินดิน, ผังเครือญาติ, โครงสร้างองค์กรชุมชน, ระบบสุขภาพชุมชน, ปฏิทินชุมชน, ประวัติศาสตร์ชุมชน และประวัติชีวิตบุคคลสำคัญหรือกลุ่มเป้าหมายในชุมชน เมื่อมีการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพอนามัยชุมชน จะช่วยให้ทราบปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนที่พบบ่อย ซึ่งมีทั้งปัญหาเกี่ยวกับโรคติดเชื้อต่างๆ และโรคไร้เชื้อที่สำคัญ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งมีความสัมพันธ์กับบริบทต่างๆ ทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชน เมื่อมีการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนด้วยเครื่องมือดังกล่าว ก็จะทำการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพในชุมชน จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพชุมชนและเขียนแผนงานแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขต่างๆ ในชุมชน
References
สุพัตรา ศรีวณิชชากร. สาธารณสุขมูลฐานระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว นิยาม ความหมายและความเชื่อมโยง [อินเตอร์เน็ต]. 2552. [เข้าถึงเมื่อ 30 มิถุนายน 2565] จาก https://kb.hrsi.or.th/dspace/bit-stream/
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง,ราตรี ปิ่นแก้ว และวรัญญา เพ็ชรคง. วิถีชุมชน: คู่มือการเรียนรู้ที่ทำให้งานชุมชนง่ายได้ผลและสนุก.กรุงเทพฯ:ดีไซร์;2545.
รังสิยา นารินทร์, วราภรณ์ บุญเรียง.การรวบรวมข้อมูล. ใน: ศิวพร อึ้งวัฒนา;พรพรรณ ทรัพย์ไพบูลย์. การพยาบาลชุมชน. [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.]; 2555.หน้า 51-60.
สมใจ วินิจกุล. อนามัยชุมชน กระบวนการวินิจฉัยและการแก้ปัญหา(ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์; 2552.
พลูศักดิ์ พุ่มวิเศษ. ระบบสาธารณสุขและการวางแผนงานสาธารณสุข.กรุงเทพฯ:จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์; 2557.
ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. กระบวนการพยาบาลอนามัย: แนวคิดและการปฏิบัติการพยาบาล. พิษณุโลก: โรงพิมพ์ตระกูลไทย;2560.
อมรรัตน์ รัตนศิริ, สุชาดา ภัยหลีกลี้.แนวคิดการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพ.ใน: เกรียงศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ และคณะ.การสร้างสุขภาพมิติของการป้องกันควบคุมโรคในบริบทหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2547. หน้า 105-21.
รุจิรา ดวงสงค์. การจัดการทางสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ. ขอนแก่น:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี.การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE Modelในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย; 12(1): 38-48.
สมใจ วินิจกุล. อนามัยชุมชน กระบวนการวินิจฉัยและการแก้ปัญหา (ฉบับปรับปรุง).พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: หจก.ฟันนีพับบลิชชิ่ง; 2550.
วรางคณา จันทร์คง. แนวคิดและหลักการในการทำงานชุมชน ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การทำงาน ชุมชนด้านสาธารณสุขหน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช; 2562. หน้า 1-73.
Elizabeth T. Anderson & Judith McFarlane. Community analysis and nursing diag-nosis. In Elizabeth T. Anderson & Judith McFarlane. Community as partner: Theory and practice in nursing. 7th ed. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer; 2015. p. 229.
Green W. Lawrence & Karshall W. Kreuter. Health Promotion Planning: An Education and Environmental 2nd ed. California: Mayfield Publishing Company; 1991. p. 134-35.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความนี้ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย ผลการวิเคราะห์ตลอดจนข้อเสนอแนะเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น หรือกองบรรณาธิการแต่อย่างใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง