ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลต่อความรอบรู้ ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

ผู้แต่ง

  • บุญชัย ภาละกาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ไขนภา มิ่งชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่
  • อรนิตย์ จันทะเสน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล, การใช้ยาอย่างสมเหตุผล, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองชนิด 2 กลุ่ม เปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลต่อความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 62 คน ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่และคลินิกหมอครอบครัวปทุม ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบตามลำดับ โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 31 คน กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มอย่างง่าย ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ โดยกลุ่มทดลองได้รับการเสริมสร้างความรอบรู้ด้วยโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลฯ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบให้ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามกรอบแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของนัทบีม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00  2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลสำหรับประชาชนไทย  ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขผ่านการประเมินความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เฉลี่ยทั้งฉบับ .85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ Wilcoxon signed Rank test และ Mann-Whitney U Test   

ผลการวิจัยพบว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับไม่เพียงพอ หลังการเข้าร่วมโปรแกรมพบว่ากลุ่มทดลองมีระดับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับเพียงพอ ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบยังมีระดับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลอยู่ในระดับไม่เพียงพอ และ หลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลโดยรวมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

References

World Health Organization (WHO). Promoting rational use of medicines: core components [Internet]. 2002 [cited 2023 Oct 10]. Available from: https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/67438/WHO_EDM_2002.3.pdf

Phonsingchan S, Rungruang K. Selective factors affecting the rational antibiotic use behavior of nursing students Boromrajonani College of Nursing, Surin.Journal of Nursing, Ministry of Public Health. 2021;31(1):211-32. (in Thai)

Centers for Disease Control and Prevention (CDC). CDC’s 2019 Antibiotic Resistance (AR) Threats Report. [Internet]. [cited 2023 Oct 10] Available from: https://www.cdc.gov/drugresistance/about.html

O’Neill J. Review on antimicrobial resistance. Antimicrobial resistance: Tackling a crisis for the health and wealth of nations. [Internet]. 2014. [cited 2023 Oct 10] Available from:https://amr-review.org/sites/default/files/AMR%20Review%20Paper%20-

NunKong K. Development of a model to promote rational drug use in the community to ensure the safety of drug use by the public. [Dissertation] Burapha University; 2022. (in Thai)

National Antimicrobial Resistance Surveillance Center (NARSC). The situation of antibiotic resistance in Thailand. [Internet]. 2013 [cited 2024 Jan 18]. Available from: http://narst.dmsc.moph.go.th/news001.html (in Thai)

Ubon Ratchathani Provincial Health Office (HDC). Information to meet branch service plan RDU. [Internet]. 2023 [cited 2024 Jan 18]. Available from: https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=03b912ab9ccb4c07280a89bf05e5900e (in Thai)

Wattanakul S, Chidnayee S, Saesow P, Triya D, Panwarin S, Nithiratana P. Knowledge of rational drug use of village health volunteers. Journal of Boromrajonani College of Nursing, Uttaradit. 2020;12(2):72–82. (in Thai)

Department of Public Health Support Ministry of Public Health. Ministry of Public Health Regulations On Village Health Volunteers, 2011 along with relevant regulations. [Internet]. [cited 2024 Jan 18]. Available from: https://hss.moph.go.th/HssDepartment/file_reference/20210505164400907.pdf (in Thai)

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 2008;67(12):2072-8.

Division of Health Education Department of Health Service Support, Ministry of Health. Health literacy (HL) program reasonable use of the drug For public health volunteers and working-age citizens. Nonthaburi: Health Education Division Department of Health Service Support; 2019. (in Thai)

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

Photha T, Melueangnon K, Kanchanarat P, Phumthong S. Development of tools and assessment of rational drug use literacy among Thai people. Nonthaburi: Public Health Systems Research Institute; 2023. (in Thai)

Jaroensook K. The effectiveness of the development program on health literacy and behaviors of village health volunteers in Singburi Municipality, Singburi Province. Singburi Hospital Journal. 2022;30(1):72-90. (in Thai)

Wichantuek P. Predictive factors of antibiotic use behavior of village health volunteers. Journal of the Royal Thai Army Nurses. 2021;22(1): 146-55. (in Thai)

Khamwong D, Sangkhawat T. Factors affecting the drug use behavior of village health volunteers. Journal of Thai Pharmacy and Health Sciences. 2012;7(3): 121-6. (in Thai)

Phonyon N. Results of improving health literacy and behavioral health in rational drug use among village health volunteers. Journal of Sakon Nakhon Hospital. 2023;26(1): 89-100. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-19