เกี่ยวกับวารสาร

 Journal History

วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ เป็นของสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคะวันออกเฉียงเหนือได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางของบุคลากรวิชาชีพการพยาบาลฯ การดูแลสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้และแนวปฏิบัติจากงานวิจัย บทความวิชาการ และบทความอื่นๆที่น่าสนใจ เพื่อเพิ่มพูนความเข้มแข็งทางวิชาชีพการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ดังนั้นจึงใคร่ขอเชิญชวนให้พยาบาลทุกท่านและผู้ที่เกี่ยวข้องที่สนใจส่งบทความมาเผยแพร่ในวารสารนี้ กองบรรณาธิการยินดีรับเรื่องที่ท่านส่งมาและยินดีสรรหาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ท่านเขียน มาให้ข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงต้นฉบับให้ได้คุณภาพอย่างสมบูรณ์แบบ  

กำหนดการออกวารสารปีละ 4 ฉบับ

ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม

ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน

ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน

ฉบับที่ 4  ตุลาคม – ธันวาคม

 วัตถุประสงค์ Focus

  1. เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการพยาบาลและความรู้จากศาสตร์อื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่วิชาชีพพยาบาล
  2. เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยทางการพยาบาลและการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
  3. เพื่อเสริมสร้างนักวิชาการทางการพยาบาลและพัฒนาพยาบาลในการเผยแพร่ความรู้จากประสบการณ์และการศึกษาค้นคว้าวิชาการเพื่อนำไปสู่องค์ความรู้ทางการพยาบาล
  4. เพื่อเป็นสื่อกลางการติดต่อสัมพันธ์ของพยาบาลในประเทศไทยและเผยแพร่ข่าวสารของสมาคมฯ
  5. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ทางการพยาบาลแลสาขาวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง

ขอบเขตการตีพิมพ์ :   วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลหรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล การพยาบาลและการดูแลสุขภาพสาขาต่างๆ ทั้งทางด้านบริการ บริหาร การศึกษา การพัฒนาคุณภาพ และเทคโนโลยีทางการพยาบาล และองค์กรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย ทางการพยาบาลที่มีคุณภาพในระดับประเทศ แก่บุคลากรทางการพยาบาล และผู้ที่สนใจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง

ประเภทของเรื่องที่รับตีพิมพ์

1. บทความทางวิชาการ (Academic article) เป็นบทความที่เรียบเรียงสาระความรู้ที่เกี่ยวข้อง
กับการพยาบาลและการดูแลสุขภาพสาขาต่างๆ ที่มีเนื้อหาทันสมัย นำมาสรุปวิเคราะห์ เปรียบเทียบ สังเคราะห์โดยผู้เขียน นำเสนอองค์ความรู้และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ
2. บทความวิจัย (Research article) เป็นบทความเกี่ยวกับการรายงานการวิจัยทางการ
พยาบาลและการดูแลสุขภาพสาขาต่างๆ ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ รวมทั้งการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis) และการสังเคราะห์อภิมาน (Meta-synthesis)

กระบวนการพิจารณาประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review Process)

วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ มีนโยบายให้ต้นฉบับบทความผ่านการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและจริยธรรมจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นอย่างน้อย จำนวน 2 ท่าน โดยกระบวนการประเมินจะเป็นแบบ double-blind ซึ่งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งจะไม่ทราบชื่อกันและกัน

ขั้นตอนการพิจารณาประเมินบทความ :   การดำเนินการพิจารณาประเมินบทความทั้งหมด จะดำเนินการผ่านทางระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเว็บไซต์ Thai Journal Online (ThaiJO)   ซึ่งขั้นตอนทำงานของวารสารการพยาบาลและ    การดูแลสุขภาพ มีดังนี้

  1. ผู้เขียนส่งไฟล์บทความไปยังระบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ของวารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ในเว็ปไซด์ Thai Journals Online (ThaiJO) กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้วิจัยทราบว่าได้รับไฟล์บทความเป็นที่เรียบร้อย
  2. กองบรรณาธิการดำเนินการตรวจสอบเนื้อหาของบทความ รูปแบบการจัดพิมพ์ รูปแบบการ อ้างอิง ประเด็นทางจริยธรรม ความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของวารสาร เมื่อกองบรรณาธิการพิจารณาเห็นสมควรรับบทความเพื่อตีพิมพ์ จะดำเนินการส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องตรวจสอบคุณภาพของบทความ แบบปกปิดสองทาง (Double blind review) โดยไม่เปิดเผยชื่อผู้เขียนบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิทราบ และไม่เปิดเผยชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนทราบ และกองบรรณาธิการไม่เปิดเผยทั้งชื่อผู้วิจัยและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้บุคคลอื่นทราบเช่นกัน
  3. เมื่อบทความได้รับการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว กองบรรณาธิการจะดำเนินการตามความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิการพิจารณาตัดสินการรับตีพิมพ์ หรือ ปฏิเสธการรับตีพิมพ์ ขึ้นอยู่กับผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ท่าน และการตัดสินใจขั้นสุดท้ายขึ้นกับบรรณาธิการ โดยบรรณาธิการจะส่งผลการพิจารณาไปยังผู้แต่ง ซึ่งอาจเป็นการตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์ ถ้าเป็นการตอบรับการตีพิมพ์ ส่วนมากจะมีข้อเสนอแนะให้ผู้แต่งปรับแก้ไขบทความ ซึ่งมีตั้งแต่ การปรับแก้ไขเพียงเล็กน้อยจนถึงการปรับแก้ไขในระดับมาก ทั้งนี้เพื่อความสมบูรณ์ของบทความที่ลงตีพิมพ์
  4. ระยะเวลาในการดำเนินการประเมินบทความจนถึงขั้นตอนการตอบรับเพื่อตีพิมพ์นั้น ขึ้นกับคุณภาพของบทความ ระยะเวลาประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ และระยะเวลาในการแก้ไขต้นฉบับของผู้แต่ง โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1 – 2 เดือน การปรับแก้ไขบทความ ขอให้ผู้แต่งดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ได้รับจากบรรณาธิการ ร่วมกับการชี้แจงการปรับปรุงแก้ไข ที่ส่งมาพร้อมกับบทความฉบับแก้ไข

Sponsors