การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ปภาดา ชมภูนิตย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
  • พิมพ์นิภา บุญประเสริฐ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
  • รัชดาภรณ์ แม้นศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ , ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง, การดูแลสุขภาพ, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก  การวิจัยแบ่งเป็น 3ระยะได้แก่ 1) ศึกษาปัญหาและความต้องการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง  2) การพัฒนารูปแบบและการดำเนินกิจกรรมการดูแลสุขภาพ 3) การประเมินผลของการใช้รูปแบบเลือกผู้เข้าร่วมวิจัยแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) ตัวแทนจากผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายในชุมชน จำนวน 32 คน  2) กลุ่มผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 30 คน  3) ผู้ดูแลที่เข้าร่วมในการทดลองรูปแบบจำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 92 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพแบบประเมินระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้    การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ pair t-test

ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบที่พัฒนามี 4 องค์ประกอบได้แก่ การจัดเตรียมแผนการดูแลการเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนและภาคีเครือข่ายการดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้านการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรมการดูแลอย่างต่อเนื่อง  ผลการดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบพบว่า ผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงมีการรับรู้ภาวะสุขภาพสูงขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01)  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเพิ่มคุณภาพการดูแล ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ที่มีภาวะพึ่งพิง ได้เนื่องจากมีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยเฉพาะการนำผู้อายุที่มีจิตอาสามาเป็นผู้ดูแลและการได้รับสนับสนุนจากภาคีที่เกี่ยวข้อง ให้การดูแลอย่างสม่ำเสมอ

References

National Statistical Office, Ministry of intermates and communication technology.Estimate Thai population year 2543-2573. Bangkok. National Statistical Office; 2011. (in Thai)

Wangji N, Sangsuwan A. New continuing care model for dependent elderly patients. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health. 2022;9(1):241-56. (in-Thai)

Thangkratok P. The role of the nurse in the chronic disease management. Journal of Research in Nursing-Midwifery and Health Sciences. 2017;37(2):154-9. (in Thai)

National Statistical Office [internet]. 2021 [cited 2023 Oct 02]. Available from: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/displayData. (in Thai)

Department of older persons, Ministry of Social Development and Human Security. Measures to drive the National Agenda on Aging Society. (2nd edition). Bangkok. Amarin Printing and Publishing; 2019. (in Thai)

Chantharapratin D, Boonyapithak S, Chullasap N. participation in extra-curricular activities according to the Deming Cycle of students in Rajamangala University of Technology Srivijaya, SongkhlaArea. Rajamangala University of Technology Srivijaya Research Journal. 2017;9(1):98-112. (in Thai)

Department of health, Ministry Public Health .70 hours care giver. Nakhon Pathom. National office of Buddhism; 2013. (in Thai)

Ponnakaew Hospital. Barthel ADL Index. [Internet]. 2019 [cited 2023 Sep 02]. Available from: http://www.pknhospital.com/2019/data/starRPST/homecare/cpso_star62_05.pdf. (in Thai)

Leurmamkul W, Meetam P. Development of a Quality of Life Questionnaire: SF-36 (Thai Version). The Thai Journal of Pharmaceutical Sciences. 2000;24(2):92-111. (In Thai)

Chuenjairuang P, Chaichan S, Panyasaisophon T. Development of health management guidelines the home-bound and bed-bound older adults through community participation in Non-Pradu District, Nakhon Ratchasima Province, Thailand. Journal of Nursing and Health Care. 2023;40(3):15-24. (in-Thai)

Wisoon C, Tharakum E. Development of care guidelines for bed-ridden patients without a family caregiver through community participation. Journal of Nursing and Health Care. 2023;41(2):1-14. (in-Thai)

Sriphuwong W, Sriphuwong C, Thiabrithi S. Long term care model development for the dependency elderly in Thakhonyang Sub-district, Kantharawichai District, Mahasarakham Province. Acad J Community Public Health AJCPH. 2020;6:13-28. (in Thai)

Robrujen S. Development of the elderly care model for elderly caregivers, Warinchamrab district, Ubon Ratchathani province. Princess of Naradhiwas University Journal. 2017;9(3):57-69. (in Thai)

Daharn T, Duangrach J. Development of a health care model for elderly by community particapation, Nonglake Sub-district, Kosum Phisai District, Mahasarakham Provine. Academic Journal of Mahasarakham Provincial Public Health Office. 2017;2(3):42-54. (in Thai)

Janesawatpong J. Effectiveness of the care model for dependent elderly at BanPong Municipality, BanPong District, Ratchaburi Province. Journal of Research for Health Improvement and Quality of Life. 2021;1(3):49-58. (in-Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-09