ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

ผู้แต่งที่ประสงค์ส่งบทความต้องจัดเตรียมเอกสารดังนี้

  1. ไฟล์  Title page: ชื่อเรื่อง (ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)  ชื่อผู้นิพนธ์ (ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) ชื่อหน่วยงานและสถาบันที่ระบุสถานที่ของผู้นิพนธ์ (ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) และ E-mail address ของผู้นิพนธ์ทุกคน (ตัวอย่าง title page และแบบฟอร์มส่งบทความ)
  2.  ไฟล์นิพนธ์ต้นฉบับและบทความวิจัย:  ชื่อเรื่อง บทคัดย่อและคำสำคัญ (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)    บทนำ วัสดุและวิธีการ ผลการวิจัย วิจารณ์ สรุป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง ตารางและรูปภาพ ทั้งนี้ต้องไม่ปรากฏชื่อและ  E-mail address ของผู้แต่งอยู่ในต้นฉบับนี้ (ตัวอย่างต้นฉบับบทความวิจัย
  3. Check list การเตรียมต้นฉบับ (เอกสาร Checklist)
  4. หนังสือรับรองการยกเว้นการพิจารณาจริยธรรมโครงการวิจัย (Certificate of Exemption: COE) หรือหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในคน (Certificate of Approval: COA) ในกรณีที่บทความเป็นการศึกษาทื่มีความเกียวข้องหรือกระทำในมนุษย์หรือเป็นกรณีศึกษาในผู้ป่วย
  5. ไฟล์เอกสารอื่นๆ (ตาราง รูปภาพ ฯ)

การนำส่งบทความผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น   (Make a submission)
(คู่มือการใช้ระบบ thaijo สำหรับผู้แต่ง)

ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่ ไม่เสียค่าใช้จ่าย

คำแนะนำสำหรับผู้แต่งในการเตรียมต้นฉบับ    ประเภทของบทความ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ

  1. บทบรรณาธิการ (Editorials) เป็นบทความซึ่งวิเคราะห์ผลงานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความสําคัญในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หรืออาจจะเป็นข้อคิดเห็นเพื่อประโยชน์ในด้านการยกระดับวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ให้สูงขึ้น
  2. บทความปริทัศน์(Review Article) เป็นบทความเพื่อฟื้นฟูวิชาการซึ่งรวบรวมผลงานเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ที่เคยลงตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาแล้วโดยนํา เรื่องมาวิเคราะห์ วิจารณ์และเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดความกระจ่างแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องนั้น
  3. นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) เป็นรายงานเกี่ยวกับผลการวิจัยทางด้านเทคนิคการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องโดยไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
  4. รายงานกรณีศึกษา (Case Report) เป็นรายงานเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคในผู้ป่วยรายที่น่าสนใจทั้งทางด้านประวัติผลการตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการคลินิกร่วมกัน
  5. บทความวิจัยอย่างสั้น (Short Communication) เป็นบทความวิจัยฉบับย่อ เป็นรูปแบบการรายงานการศึกษาแบบกระชับ อันเนื่องมาจากข้อจํากัดของการศึกษา แต่มีความสมบูรณ์ในเนื้อหาที่นํา เสนอ รูปแบบที่เขียนเป็นลักษณะคล้ายนิพนธ์ต้นฉบับ แต่จะสั้นและกระชับกว่า
  6. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to the Editor) เป็นบทความซึ่งเสนอข้อคิดเห็นและประสบการณ์ทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานในสาขาวิชาชีพเทคนิคการแพทย์อย่างสั้นๆ ในรูปของจดหมายถึงบรรณาธิการ

การเตรียมต้นฉบับ

เพื่อให้การตีพิมพ์บทความเป็นไปอย่างถูกต้องและ รวดเร็วผู้นิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามรายละเอียด ดังนี้

1. ภาษา ให้ใช้ได้ 2 ภาษาคือภาษาไทยและ/หรือภาษาอังกฤษ ถ้าต้นฉบับเป็นภาษาไทยควรพยายามใช้ถ้อยคํา และศัพท์ภาษาไทยมากที่สุด โดยใช้ตามพจนานุกรมศัพท์แพทย์อังกฤษ-ไทย และพจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน สําหรับคําศัพท์ภาษาอังกฤษที่บัญญัติเป็นภาษาไทยแล้วแต่ยังไม่เป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลาย หรือแปลแล้วเข้าใจยาก ให้กํากับภาษาเดิม (อังกฤษ) ในวงเล็บหรืออนุโลมให้ใช้ภาษาอังกฤษได้

2. ต้นฉบับ พิมพ์ด้วยโปรแกรม Word for Windows ด้วยอักษร Cordia New ขนาด 14 และพิมพ์เลขหน้าที่ตรงกลางขอบล่างของทุกหน้า พร้อมเลขบรรทัด โดยต้องไม่ปรากฏชื่อสกุลผู้นิพนธ์ในต้นฉบับ 

3. ชื่อเรื่อง ชื่อผู้นิพนธ์ ชื่อหน่วยงาน/สถาบัน และ email ของผู้แต่งทุกคนให้แยกไฟล์ต่างหาก (Title page)
3.1 ชื่อเรื่อง มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ซึ่งควรให้สั้นแต่ได้ใจความ ไม่ควรใช้คําย่อในเรื่อง ยกเว้นคํา ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เช่น NADH ความยาวของชื่อเรื่องควรมีความชัดเจน สามารถบ่งบอกผู้อ่านให้ทราบถึงสาระสําคัญของเนื้อหาและรายละเอียดในตัวบทความ
3.2 ชื่อผู้นิพนธ์ ให้เขียนชื่อต้นและนามสกุลตัวเต็มทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ต้องระบุปริญญา ตําแหน่งทางวิชาการ หรือ ตําแหน่งทางราชการ ในกรณีที่มีผู้แต่งหลายคน ระบุชื่อผู้รับผิดชอบบทความและ E-mail address ที่สามารถติดต่อได้ (Corresponding author)
3.3 ชื่อหน่วยงานและสถาบัน ระบุสถานที่ และ E-mail address ของผู้นิพนธ์ทุกคนที่สามารถติดต่อได้

4. รายละเอียดของนิพนธ์ต้นฉบับและบทความวิจัยอย่างสั้นให้เรียงหัวข้อ ตามลําดับต่อไปนี้
4.1 บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คํา
4.2 คําสําคัญ (keywords) มีทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จํานวน 3-5 คํา
4.3 บทนํา (introduction)ประกอบด้วยเหตุผลและวัตถุประสงค์ ในการวิจัย
4.4  วัสดุและวิธีการ (materials and methods) รายละเอียดของเครื่องมือและน้ํายา รวมทั้งขั้นตอนที่สําคัญควรระบุให้ชัดเจน
4.5 ผลการวิจัย (results) เขียนใจความสั้นและชัดเจน อาจใช้ตารางหรือภาพประกอบคําอธิบาย คําอธิบายภาพและตารางให้เป็นภาษาอังกฤษ (สำหรับ legend และเนื้อหาที่ปรากฏในรูปภาพและตารางผลการทดลองต้องเขียนด้วยภาษาอังกฤษเท่านั้น และให้วางไว้ที่ส่วนท้ายของบทความ ดังปรากฏในข้อ 5)
4.6 วิจารณ์ (discussion)
4.7 สรุป (conclusion)
4.8 กิตติกรรมประกาศ (acknowledgements)
4.9 เอกสารอ้างอิง (references) ให้เรียงลําดับเลขตามที่ปรากฏก่อนหลังในเนื้อเรื่อง โดยควรมีไม่เกิน 30 รายการสำหรับบทความวิจัย และ 50 รายการสำหรับบทความปริทัศน์

5. ตาราง แผนภูมิ รูป กราฟ ภาพประกอบ (ถ้ามี) ให้ผู้เขียนแทรกอยู่ในเนื้อเรื่อง โดยชื่อตารางอยู่ด้านบนของตาราง ส่วนชื่อแผนภูมิ รูป กราฟ ภาพประกอบให้อยู่ด้านล่าง ทั้งนี้ ชื่อตาราง/รูปภาพและข้อความที่ปรากฏทั้งหมดให้นําเสนอเป็นภาษาอังกฤษ สําหรับภาพเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้บันทึกภาพโดยใช้นามสกุล .jpg หรือ .tif 

6. การเขียนเอกสารอ้างอิงในบทความให้ใช้ตัวเลขตามลำดับการอ้างอิงใส่ในวงเล็บและยกกำลัง เช่น  (1-2) สำหรับรายการอ้างอิง (Referrence) ให้เขียนรายการเอกสารอ้างอิงตามระบบ Vancouver ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
6.1 ถ้ามาจากเอกสารภาษาอังกฤษ ให้ใช้ชื่อผู้นิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ เขียนชื่อสกุลตัวเต็มนํา หน้าตามด้วยอักษรย่อของชื่อต้น6.2 ถ้ามาจากเอกสารภาษาไทย ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษและต่อท้ายด้วย (in Thai)
6.3 ถ้ามาจากภาษาอื่นให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ และให้วงเล็บภาษาเดิมไว้ตอนท้าย เช่น (in Chinese)
6.4 ปีที่อ้างอิงเป็นแบบ ค.ศ.
6.5 การอ้างอิงเอกสารให้ใช้ชื่อย่อของวารสารที่นํามาอ้างอิงตามแบบของ Index Medicus ปีที่ตีพิมพ์ฉบับที่ (volume) หน้าต้นและหน้าสุดท้าย และ DOI (หากมี)
6.6 ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสาร
     6.6.1 ผู้นิพนธ์ตั้งแต่ 1 คนถึง 6 คน ใส่ชื่อผู้แต่งทุกคน ถ้ามีผู้นิพนธ์มากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งเพียง 3 คนแรกตามด้วยคําว่า et al.
     - Solter NA, Wasserman Sl, Austern KF, et al. Cold urticaria: release into the circulation of histamine and eosinophilic chemotactic factor of anaphylaxis during cold challenge. N Engl J Med 1976; 294: 687-90.
     - Manakul S, Inthachang N. Rapid haemocultures report. J Med Tech Assoc Thailand. 2012; 40: 4300-10. (in Thai)
     6.6.2 ผู้นิพนธ์เป็นคณะหรือกลุ่มบุคคล
     - The Committee on Enzymes of the Scandinavian Society for Clinical Chemistry and Clinical Physiology, Recommended method for the determination of gamma-glutamyltransferase in blood. Scand J Clin Lab Invest 1976; 36: 119-25.
     6.6.3 ไม่มีชื่อผู้นิพนธ์Anonymous.
     - Coffee drinking and cancer of the pancreas (Editorial). Br Med J 1981; 283: 628.
     6.6.4 วารสารประเภท supplement
     - Frumin AM, Nussbaum J, Esposito M. Functional asplenia: demonstration of splenic activity by bone marrow scan (abstract). Blood 1979; 54 (suppl 1): 26a.
     6.7 ตัวอย่างการอ้างอิงหนังสือ
     6.7.1 ผู้นิพนธ์คนเดียว
     - Eisen HN. Immunology: an Introduction to molecular and cellular principle of the immune vesponse, 5th ed. New York: Harper and Row; 1974: 406
     - Wijarm B. The Management of Knowledge toward Performance. Bangkok: Expernet Company; 2004. (in Thai)
     - Chomeya R. Organizational effcetiveness on health care criteria for performance excellence framework in government hospitals in Public Health Region 6. [Ph.D. Thesis in Applied Behavioral Science Research]. Bangkok: Faculty of Graduate School, Srinakharinwirot University; 2003. (in Thai)
     6.7.2 ผู้นิพนธ์เป็นคณะหรือกลุ่มบุคคล
     - American Medical Association Department of Drugs. AMA drug evaluations. 3rd ed. Littleton: Publishing Sciences Group, 1977.
     6.7.3 บรรณาธิการ ผู้รวบรวม ประธานเป็นผู้แต่ง
     - Finegold SM, Martin WJ. Diagnostic Microbiology. 6th ed. St.Louis: C.V. Mosby Company, 1982.
     6.7.4 บทในหนังสือ
     - Weinstein L, Swartz MN. Pathogenic properties of invading Microorganisms. In: Sodenman Wa Jr., Sidenman Wa, editors. Pathologic physiology: mechanisms of disease. Philadelphia: WB Saunders; 1974. p.457-72.
     - Tienboon P. Anthropometric nutrional assessment. In: Chardapisak W, Gosarat C, editors. Ambulatory Pediatrics. Chiang Mai: Sangsilp Publishing; 2007. p. 363-9. (in Thai)
     6.7.5 สิ่งตีพิมพ์ขององค์การต่างๆ
     - National Center for Health Statistics. Acute condition: incidence and associated disability, United State July 1968- June 1969. Rockville, MD: National Center for Health Statistics, 1972 (Vital and health statistics, Series 10: Data from the National Health Survey, no 69) (DHEW publication no. (HSM) 72-1036).
     6.7.6 หนังสือรายเดือนและรายปักษ์
     - Roueche B. Annals of medicine: the Santa Claus culture. The New York 1971 Sep. 4: 66-81.
     6.7.7 หนังสือพิมพ์รายวัน
     - Shaffer RA. Advances in chemistry are starting to unlock mysteries of the brain: discoveries should help cure alcoholism and insomnia, explain mental illness. How the messangers work. Wall Street Journal 1977 Aug. 12:1 (col 1), 10 (col 1).
6.8 ตัวอย่างการอ้างอิงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
     6.8.1 CD-ROM
     - Anderson SC, Poulsen KB, Anderson’s electronic atlas of hematology [CD-ROM]. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2002.
     6.8.2 บทความวารสารทางอินเทอร์เน็ต (Journal article on the Internet)
     - Sanders GD, Bayourni AM, Holodnity M, et al. Cost-effectiveness of HIV screening in patients older than 55 year of age. Ann Intern Med [serial on the Internet]. 2008 Jun [cited 2008 Oct 7]; 148 (12). Available from: http://www.annals.org/cqi/reprint/148/12/889.pdf
     6.8.3 หนังสือทางอินเทอร์เน็ต(Monograph on the Internet)
     - Foley KM, Gelband H, editors. Improving palliative care for cancer [monograph on the Internet]. Washington: National Academy Press; 2001 [cited 2002 Jul 9]. Available form: http://www.nep.edu/books/0309074029/html/
     6.8.4 โฮมเพจ/เว็บไซต์ (Homepage/Website)
     - Cancer–Pain. org [homepage on the Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c 2000-01 [cited 2008 Oct 3]. Available from: http:// www.cancer-pain.org/