https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/issue/feed
วารสารเทคนิคการแพทย์
2024-08-13T00:00:00+07:00
ผศ. ดร. ทนพ.เอนก ภู่ทอง (Asst. Prof. Dr. Anek Pootong)
tae0047@gmail.com
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารเทคนิคการแพทย์</strong> เป็นวารสารทางวิชาการของสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมถ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ<br />วารสารเทคนิคการแพทย์ เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการ และเป็นสื่อกลางเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการ และผลงานวิจัยด้านเทคนิคการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาต่าง ๆ โดยรับพิจารณาบทความทั้งหมด 6 ประเภท คือ นิพนธ์ต้นฉบับ บทความปริทัศน์ รายงานกรณีศึกษา บทความวิจัยอย่างสั้น จดหมายถึงบรรณาธิการ และ บทบรรณาธิการ </p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong></p> <ol> <li style="font-weight: 400;">เป็นสื่อกลางเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการ และผลงานวิจัยด้านเทคนิคการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาต่างๆ</li> <li style="font-weight: 400;">เพื่อกระตุ้นการวิจัยและการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญในสาขาเทคนิคการแพทย์</li> <li style="font-weight: 400;">เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างนักเทคนิคการแพทย์และผู้ให้บริการทางการแพทย์อื่นๆ</li> </ol> <p>บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องมีการอ่านตรวจทานต้นฉบับ จากคณะบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขาจากภายนอก อย่างน้อย 3 ท่าน โดยปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง (double-blinded, peer-review) </p> <p><strong><strong style="font-size: 0.875rem;"><span lang="TH">ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่:</span></strong><strong style="font-size: 0.875rem;"> </strong><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">ไม่เสียค่าใช้จ่าย</span></strong></p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์</strong> ปีละ 3 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน <br />ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>Indexed and Abstracts</strong></p> <p style="font-weight: 400;">- Thailand Citation Index Center (TCI) Tier 1 (จนถึง 31 ธันวาคม 2567)</p> <p style="font-weight: 400;"><img src="https://he01.tci-thaijo.org/public/site/images/panek/tier1-tci-2021-2024.png" alt="" width="113" height="124" /></p>
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/265215
ความชุกของภาวะแอนนูพลอยด์ที่พบบ่อยและความผิดปกติของโครโมโซมเพศของทารกในครรภ์จากการเจาะตรวจน้ำคร่ำ
2024-01-02T23:06:32+07:00
อรนภา สุทธิพงศ์ไพศาล
mickey11941@gmail.com
ประสพโชค เนียมรอด
manownamnoy@gmail.com
เบญจวรรณ รังสิมาภรณ์
sima.bencha@gmail.com
สินจัย ดอกดวง
Je-eun@hotmail.com
เพียงใจ สอิ้งรัมย์
zeroso2ng@gmail.com
ณัฐณิชา กาญจนจิตติ
noowww3330@gmail.com
วีธาวี ดำรักษ์
Angelairy.92@gmail.com
วรินยุพา พันธุศาสตร์
varinyupa@ku.th
สุธิตา อยู่อ่อน
suthitay957@hotmail.com
ถกล เจริญศิริสุทธิกุล
takol.cha@mahidol.ac.th
รัชนี ปริณายก
rachanee.par@mahidol.ac.th
บุษบา ฤกษ์อำนวยโชค
budsaba.rer@mahidol.ac.th
<p>ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมเป็นความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุดในห้องปฏิบัติการมนุษย์พันธุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความชุกของความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม ชนิดไทรโซมี 13, 18 และ 21 และความผิดปกติของโครโมโซมเพศของทารกในครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี การวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำคร่ำของหญิงตั้งครรภ์ที่ส่งตรวจวิเคราะห์โครโมโซมในโรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 จำนวน 6,804 ตัวอย่าง เพื่อตรวจหาความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมคู่ที่ 13, 18, 21, X และ Y ซึ่งทำโดยการย้อมด้วยเทคนิค GTG banding ผลการวิจัยพบว่าหญิงตั้งครรภ์ 280 ราย (ร้อยละ 4.12) มีความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมที่พบบ่อยและความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมเพศ โดยพบความผิดปกติของจำนวนโครโมโซม เท่ากับ ร้อยละ 2.96 และมีความผิดปกติชนิดไทรโซมี 21 บ่อยที่สุด คือ 92 ราย (ร้อยละ 1.35) ความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมอื่น ได้แก่ ไทรโซมี 18 (50 ราย, ร้อยละ 0.73), ไทรโซมี 13 (16 ราย, ร้อยละ 0.24), กลุ่มอาการเทิร์นเนอร์ (13 ราย, ร้อยละ 0.19), กลุ่มอาการไคลน์เฟลเทอร์ (18 ราย, ร้อยละ 0.26), กลุ่มอาการไทรโซมีเอกซ์วายวาย (4 ราย, ร้อยละ 0.06) และกลุ่มอาการทริปเพิลเอกซ์ (8 ราย, ร้อยละ 0.12) พบความผิดปกติของโครงสร้างโครโมโซมในผู้ป่วย 79 ราย (ร้อยละ 1.16) และหญิงตั้งครรภ์ช่วงอายุ 35-39 ปี มีอุบัติการณ์ของความผิดปกติของโครโมโซมสูงที่สุด ผลการวิจัยนี้แสดงว่าหญิงตั้งครรภ์ช่วงอายุ 35-39 ปี มีความเสี่ยงของความผิดปกติของโครโมโซมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะความผิดปกติชนิดไทรโซมี 21 และความผิดปกติของโครงสร้างโครโมโซมพบในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป</p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/264059
การศึกษาความหนาของจอประสาทตาผู้ป่วยเบาหวานในประชากรไทย ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
2023-07-06T19:00:51+07:00
ภูชิษา คำบูรณ์โชติกร
phushisa.kam@dome.tu.ac.th
ดวงเนตร พิพัฒน์สถิตพงศ์
duangante_pipat@yahoo.com
กัญญาณัฐ เปี่ยมงาม
mim9_p@yahoo.com
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหนาของจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี (ค่า HbA1c < ร้อยละ 7) จำนวน 122 ราย และควบคุมได้ไม่ดี (ค่า HbA1c <u>> </u>ร้อยละ 7) จำนวน 122 ราย เปรียบเทียบกับคนปกติ (ค่า HbA1c < ร้อยละ 5.7)จำนวน 122 ราย ในประชากรไทย ช่วงอายุ 41-80 ปี ทั้งเพศชายและหญิง จำนวนรวม 366 คน ในผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกจักษุวิทยา โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการศึกษาย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน (ตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ. 2561 – กันยายน พ.ศ. 2563) โดยเก็บข้อมูลการวัดความหนาของจอประสาทตาด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์ภาพตัดขวางจอประสาทตาด้วยเลเซอร์ จากค่าการตรวจวัด 9 พารามิเตอร์ ได้แก่ Fovea, T Inner, S Inner, N Inner, Inf Inner, T Outer, S Outer, N Outer และ Inf Outer ผลการวิจัยพบว่า ความหนาของจอประสาทตาจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น และมีความแตกต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิง โดยในกลุ่มคนปกติ และกลุ่มที่ควบคุมเบาหวานได้ดีในช่วงอายุ 41-50 ปีและ 51-60 ปี เพศชายมีความหนาของจอประสาทตามากกว่าเพศหญิงร้อยละ 3.34 กลุ่มคนปกติเพศชายมีความหนาจอประสาทตาเฉลี่ย 274.66±23.89 ไมโครเมตร เพศหญิงเฉลี่ย 263.17±21.59 ไมโครเมตร เมื่อเปรียบเทียบความหนาของจอประสาทตาระหว่างกลุ่มคนปกติ กลุ่มเบาหวานควบคุมดี และกลุ่มเบาหวานควบคุมไม่ดีของกลุ่มตัวอย่าง ในช่วงอายุตั้งแต่ 41 – 80 ปี มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าความหนาจอประสาทตาใน 5 OCTพารามิเตอร์ ได้แก่ Fovea, T Outer, S Outer, N Outer และ Inf Outer มีแนวโน้มสูงขึ้นตามระดับของ HbA1c แต่เมื่อวิเคราะห์แยกตามช่วงอายุ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเพียงบางช่วงอายุ โดยที่ตำแหน่ง Fovea ในช่วงอายุ 61-70 ปี พบความหนาของจอประสาทตาในกลุ่มคนที่เป็นเบาหวาน มีความหนาเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่เป็นเบาหวาน ในขณะที่ช่วงอายุ 71-80 ปี พบว่ามีความหนาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value < 0.05) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้พัฒนาฐานข้อมูลในงานนิติวิทยาศาสตร์ด้านการประเมินความหนาของชั้นจอประสาทตากับช่วงอายุในกลุ่มประชากรไทยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนที่เป็นเบาหวานกับคนปกติ</p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/264622
การเพิ่มประสิทธิผลของการรายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกด้วยการรายงานผลอัตโนมัติ: กรณีศึกษาของโรงพยาบาลอุดรธานี
2023-11-06T09:31:08+07:00
เยาวรักษ์ จูตระกูล
yaowa_ju@yahoo.co.th
<p>ปัจจุบันงานทางห้องปฏิบัติการมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนางานในกระบวนการหลังการตรวจวิเคราะห์ โดยใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศและมาตรฐานการควบคุมคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีความสำคัญในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความถูกต้อง ครบถ้วน รวดเร็ว รวมถึงช่วยลดภาระงานทางห้องปฏิบัติการ การวิจัยย้อนหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการรายงานผลอัตโนมัติ ในการรายงานผลตรวจ 35 รายการทดสอบทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก โรงพยาบาลอุดรธานี โดยใช้ข้อมูลก่อนการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2563 จำนวน 52,132 การทดสอบ และข้อมูลหลังการใช้การรายงานผลอัตโนมัติ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 กรกฎาคม 2564 จำนวน 32,880 การทดสอบ ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลารอคอยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ หลังใช้การรายงานผลอัตโนมัติใช้เวลารวมเฉลี่ยลดลง 9.05 นาทีและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em><0.05) ในแต่ละรายการทดสอบ ยกเว้น CA15-3 และ AFP ส่วนการศึกษาภาระงานของเจ้าหน้าที่ในช่วงเวลาที่ใช้การรายงานผลอัตโนมัติ พบว่าในแต่ละรายการทดสอบ เมื่อใช้การรายงานผลอัตโนมัติสามารถช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ได้มากกว่าร้อยละ 60 ยกเว้น AST, ALP, LDH และ B-HCG ที่ลดภาระงานลงได้ร้อยละ 59.85, 58.13, 28.50 และ 23.81 ตามลำดับ และในภาพรวมพบว่าช่วยลดภาระงานลงได้ร้อยละ 84.53 นอกจากนี้การศึกษาผลสำเร็จของการประกันเวลาได้รับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการในการสั่งตรวจแบบทั่วไปและการสั่งตรวจที่มีรายการตรวจพิเศษร่วมด้วย ที่เวลาเฉลี่ย 90 และ 120 นาที พบว่าช่วงก่อนการศึกษาได้คะแนนความสำเร็จของการประกันเวลา คิดเป็นร้อยละ 87.60 และ 95.80 ตามลำดับ แต่หลังจากใช้การรายงานผลอัตโนมัติ พบว่ามีคะแนนความสำเร็จเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 94.20 และ 98.60 ตามลำดับ และค่าคะแนนผลสำเร็จก่อนและหลังการศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em><0.05) จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า การพัฒนางานให้บริการทางห้องปฏิบัติการด้วยระบบตรวจสอบและรายงานผลอัตโนมัติ สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิผลการทำงานทั้งด้านช่วยลดระยะเวลารอคอยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบและรายงานผล เพิ่มความพึงพอใจและความสำเร็จของการประกันเวลาได้รับผลตรวจตามเวลาที่กำหนดมากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนี้การใช้ระบบรายงานผลอัตโนมัติสามารถขยายงานและเพิ่มรายการทดสอบให้มากขึ้นได้ ทั้งในงานเคมีคลินิกและงานห้องปฏิบัติการอื่น ๆ ที่มีการใช้เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ</p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/266305
ความชุกของการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อ Cutibacterium acnes จากสิ่งส่งตรวจชนิดไมโครคอมิโดน
2023-12-23T19:05:48+07:00
ดรณ์ นุ่มนาค
ponder.dorn@gmail.com
ธัชพล บุญถูก
thatchapon.bon@outlook.com
<div><em><span lang="EN-US">Cutibacterium acnes </span></em>เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดแกรมบวกรูปแท่งที่เจริญได้ดีในสภาวะไร้ออกซิเจน (anaerobic condition) ซึ่งสามารถพบเป็นเชื้อประจำถิ่นได้ตามผิวหนังของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าเชื้อดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดความผิดปกติที่ผิวหนัง โดยเฉพาะสิว ปัจจุบัน พบ<em> C. acnes</em> ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการดื้อยาปฏิชีวนะหลายขนาน (multi-drug resistance, MDR) ของเชื้อ <em>C. acnes</em> (MDR <em>C. acnes</em>) และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความชุกของเชื้อ MDR <em>C. acnes</em> จากตัวอย่างไมโครคอมิโดน โดยการแยกเชื้อ<em> C. acnes</em> จากตัวอย่างไมโครคอมิโดนที่ได้จากอาสาสมัครที่มีสิวที่มีอาการรุนแรงในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง จำนวน 46 ราย นำมาเพาะเลี้ยงบน blood agar ในสภาวะไร้ออกซิเจน จำแนกชนิดของเชื้อโดยการทดสอบทางชีวเคมี และทดสอบความไวต่อยาปฏิชีวนะด้วยวิธี antimicrobial gradient strip (E-test) ต่อยาปฏิชีวนะ 5 กลุ่ม ได้แก่ erythromycin, clindamycin, tetracycline, gentamicin และ amoxicillin แล้ววิเคราะห์ด้วย chi-square test ผลการศึกษาพบเชื้อ <em>C. acne</em> กลุ่ม MDR (multidrug-resistant bacteria) 9 ราย (ร้อยละ 2) แบ่งเป็น 4 ราย (ร้อยละ 9) ดื้อต่อ clindamycin, erythromycin และ gentamicin และ 5 ราย (ร้อยละ 11) ดื้อต่อ clindamycin, erythromycin และ tetracycline โดย MDR <em>C. acne</em> พบในผู้เป็นสิวที่มีอาการรุนแรงระดับปานกลางได้มากกว่าในผู้ที่มีอาการรุนแรงระดับเล็กน้อย อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p <0.05) โดยผู้ที่มีผิวหน้ามันสามารถพบเชื้อ MDR <em>C. acne</em> ได้มากกว่าผู้ที่มีผิวประเภทอื่น (<em>p</em> <0.05) และยังพบว่า ผู้ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะแบบทาและมีการใช้ยาปฏิชีวนะแบบไม่ต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ พบเชื้อ MDR <em>C. acne</em>ได้บ่อยกว่ากลุ่มอื่นๆ (<em>p</em> <0.05) ดังนั้นในการรักษาสิวด้วยยาปฏิชีวนะ ควรวางการรักษาและให้ความรู้แก่คนไข้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะให้ครบตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา เพื่อลดการเกิดเชื้อดื้อยาและลดความรุนแรงของสิว</div>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/266975
รูปแบบผลตรวจไวรัสตับอักเสบบีทางภูมิคุ้มกันวิทยาในคนไทยที่เกิดก่อนและหลังนโยบายฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
2023-11-15T13:29:19+07:00
ปิยะ วงศ์จำปา
hat_anya@hotmail.com
อาคม ไชยวงศ์คต
arkomchaiwongkot@gmail.com
รังสิมา เหรียญตระกูล
rangsima.reantragoon@gmail.com
<p>การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B virus, HBV) เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเรื้อรัง ตับแข็ง และมะเร็งตับ ทั้งนี้การตรวจหา HBsAg, anti-HBs และ anti-HBc ในเลือดร่วมกันจะช่วยให้สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อได้อย่างถูกต้อง โดยลักษณะที่พบจะแตกต่างกันไปตามการดำเนินโรคและมีความสำคัญทางคลินิก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังหาอัตราการตรวจพบและรูปแบบของ HBsAg, anti-HBs และ anti-HBc ในคนไทยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 จำนวน 5,054 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้เกิดก่อนและหลังนโยบาย Expanded Programme on Immunization (EPI) ของประเทศไทยที่เริ่มฉีดวัคซีนป้องกัน HBV แก่ทารกแรกคลอดทุกรายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 ผลการศึกษามีอัตราการพบเชื้อร้อยละ 5.35 เป็นผู้เกิดก่อนและหลัง EPI ร้อยละ 6.37 และ 0.56 ตามลำดับ (<em>p</em> <0.001) สำหรับรูปแบบที่ตรวจพบมีดังนี้ ผู้เคยสัมผัสเชื้อร้อยละ 35.92 ผู้หายจากการติดเชื้อร้อยละ 24.47 ผู้มีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนร้อยละ 26.86 และผู้ตรวจไม่พบทั้ง 3 markers ร้อยละ 37.22 โดยเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผู้เกิดก่อนและหลัง EPI อัตราพบผู้เคยสัมผัสเชื้อและหายจากการติดเชื้อในผู้เกิดหลัง EPI มีค่าต่ำกว่าผู้เกิดก่อนอย่างมีนัยสำคัญ (<em>p</em><0.001) แต่อัตราพบผู้มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและผู้ตรวจไม่พบทั้ง 3 markers ในผู้เกิดหลัง EPI มีค่าสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (<em>p</em><0.001) นอกจากนี้ยังพบผลตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาที่ไม่เป็นไปตามปกติ ได้แก่ ตรวจพบเฉพาะ HBsAg จำนวน 1 ราย ตรวจพบเฉพาะ anti-HBc จำนวน 309 ราย และตรวจพบ HBsAg และ anti-HBs พร้อมกันจำนวน 22 ราย ผลการศึกษานี้ทำให้ทราบว่าความชุกของการติดเชื้อในคนไทยลดลงอย่างมากหลังนโยบาย EPI ขณะเดียวกันก็ยังพบผลตรวจที่ไม่เป็นไปตามปกติได้ ซึ่งแพทย์และบุคลากรทางห้องปฏิบัติการควรให้ความระมัดระวังในการแปลผล</p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/267847
ความชุกและปัจจัยสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมาของสตรีในพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
2024-03-01T11:02:46+07:00
ทวีศักดิ์ สายอ๋อง
thaveesaksaiongmt@gmail.com
ลักขณากร ดุจวรรณ
lakkanakorn@icloud.com
กาญจนา แถลงดี
thalangdeekanjana@gmail.com
ดลรวี แวเยง
donrawee.wae@gmail.com
<div><span lang="TH">มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากอันดับสองในสตรีไทย การติดเชื้อ </span><span lang="EN-US">human papillomavirus (HPV) </span><span lang="TH">สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงโดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก </span><span style="font-size: 0.875rem;">ด้วยเหตุนี้ทางหน่วยงานอณูชีววิทยาทางการแพทย์ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยาคลินิก โรงพยาบาลท่าศาลาจึงได้เปิดให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีด้วยวิธี HPV DNA test โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อ HPV ของสตรีในพื้นที่อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 3,284 คน มีอายุเฉลี่ย 46.4 ± 8.0 ปี ช่วงอายุที่เข้า รับการตรวจคัดกรองมากที่สุดคือ 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 39.1 และผลการตรวจ HPV DNA test พบ การติดเชื้อ HPV คิดเป็นร้อยละ 9.5 เมื่อจำแนกตามกลุ่มสายพันธุ์ พบว่า HPV ที่ไม่ใช่สายพันธุ์ 16 และ 18 มีความชุกสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 8.3 รองลงมาคือ HPV สายพันธุ์ 16 และสายพันธุ์ 18 คิดเป็น ร้อยละ 0.9 และ 0.3 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความชุกของการติดเชื้อในพื้นที่ทำการศึกษาพบว่า ผู้เข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) บ้านหัวคู มีความชุกของการติดเชื้อ HPV มาก ที่สุดคิดเป็นร้อยละ 15.7 รองลงมาคือ รพ.สต.บ้านคูใหม่ คิดเป็นร้อยละ 12.3 และจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อ HPV กับคุณลักษณะทางชีวภาพของกลุ่มตัวอย่างพบว่า อายุมีความสัมพันธ์ต่อการติดเชื้อ HPV อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><span style="font-size: 0.875rem;"><.05) ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เพื่อเพิ่มโอกาสในการตรวจพบความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูก และเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานระดับพื้นที่ทางด้านสาธารณสุขในการประเมินโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ</span></div>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/267605
การประเมินประสิทธิภาพของวัสดุทดสอบความชำนาญชนิดเลือดครบส่วนและปัสสาวะเทียม ในห้องปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี
2024-03-11T09:33:17+07:00
เอษณีย์ คำเวียงสา
asanee_yms@hotmail.com
สมศักดิ์ ฟองสุภา
fongsupa.mu@gmail.com
ปราโมทย์ ศรีวาณิชรักษ์
sriwanitchrak@yahoo.com
<p>วัสดุทดสอบความชำนาญมีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ แต่วัสดุทดสอบความชำนาญที่ใช้ใน รพ.สต. มักนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพงทำให้ใช้งบประมาณสูง และในการเตรียมสารนั้น ต้องมีการประเมินประสิทธิภาพก่อนนำไปใช้ วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือประเมินประสิทธิภาพวัสดุทดสอบความชำนาญชนิดเลือดครบส่วนและปัสสาวะเทียม ในห้องปฏิบัติการจังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้ทดสอบความเป็นเนื้อเดียวกันและความเสถียรจากหน่วยวิจัยด้านการพัฒนาวัสดุทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัสดุทดสอบความชำนาญถูกส่งไปประเมินโดย รพ.สต. 76 แห่งในจังหวัดนนทบุรี จัดส่ง 2 รอบ 7 ตัวอย่างต่อรอบ รวมทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง ประกอบด้วยตัวอย่างสำหรับการตรวจวิเคราะห์น้ำตาลจากเลือดปลายนิ้ว (3 ตัวอย่าง) การตรวจหาปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (2 ตัวอย่าง) การตรวจวิเคราะห์น้ำตาล โปรตีน และภาวะการตั้งครรภ์ ในปัสสาวะ (2 ตัวอย่าง) นำผลที่ได้มาคำนวณ หา Z-score และค่าร้อยละของความสอดคล้องกับค่าเป้าหมาย ผลการศึกษาค่า IZI ≤ 2 ของการตรวจวิเคราะห์น้ำตาลจากเลือดปลายนิ้ว มีค่าเฉลี่ยทั้ง 2 รอบร้อยละ 95.95 (94.85 และ 97.05 ในรอบที่ 1 และ 2) การประเมินการตรวจหาปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น มีค่า IZI ≤ 2 เฉลี่ยทั้ง 2 รอบร้อยละ 90.57 (90.57 และ 90.57 ในรอบที่ 1 และ 2) การประเมินการตรวจภาวะการตั้งครรภ์ในปัสสาวะ พบว่ามีความสอดคล้องกับค่าเป้าหมายเฉลี่ยทั้ง 2 รอบร้อยละ 95.72 (95.72 และ 95.72 ในรอบที่ 1 และ 2) การตรวจวิเคราะห์โปรตีนในปัสสาวะพบว่ามีความสอดคล้องกับค่าเป้าหมายเฉลี่ยทั้ง 2 รอบร้อยละ 96.05 (96.05 และ 96.05 ในรอบที่ 1 และ 2) และการตรวจวิเคราะห์น้ำตาลในปัสสาวะ พบว่ามีความสอดคล้องกับค่าเป้าหมายเฉลี่ยทั้ง 2 รอบร้อยละ 94.40 (94.40 และ 94.40 ในรอบที่ 1 และ 2) จากผลการสำรวจข้อมูลทั่วไปพบว่า รพ.สต. มีการใช้เครื่องกลูโคมิเตอร์และชุดทดสอบปัสสาวะด้วยแถบทดสอบหลากหลายยี่ห้อ ซึ่งไม่ส่งผลต่อผลประเมินวัสดุทดสอบความชำนาญ สรุปวัสดุทดสอบความชำนาญมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการควบคุมคุณภาพในห้องปฏิบัติการ รพ.สต.</p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/267773
การพัฒนาการตรวจเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium vivax โดยการใช้ค่า iRBC QFlag ร่วมกับจำนวนเกล็ดเลือดจากเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ Sysmex XN-1000
2024-02-26T19:18:24+07:00
ศศิศ บุญมี
sasissasisboonmee@hotmail.com
<p>โรคมาลาเรียที่เกิดจากเชื้อ <em>Plasmodium vivax </em>เป็นโรคมาลาเรียที่มีความชุกมากที่สุดในประเทศไทย การตรวจพบการติดเชื้ออย่างรวดเร็วและแม่นยำเป็นปัจจัยสำคัญต่อการรักษาและการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการวินิจฉัยการติดเชื้อมาลาเรียชนิด <em>P. vivax </em>โดยใช้ค่า iRBC QFlag ซึ่งเป็นพารามิเตอร์ใหม่ที่พัฒนาและรายงานด้วยเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ Sysmex XN-1000 ควบคู่กับจำนวนเกล็ดเลือด การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองเปรียบเทียบในช่วงระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 โดยใช้ตัวอย่าง 3,818 ราย แบ่งเป็น 1,279 รายที่แพทย์ขอตรวจ CBC และ Thick film และ 2,539 รายที่แพทย์ขอตรวจเฉพาะ CBC โดยไม่ขอตรวจ thick film แต่มีการตรวจพบเชื้อโดยการพิจารณาจากค่า iRBC QFlag แล้วนำไปวิเคราะห์ค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก และค่าทำนายผลลบ ผลการศึกษาพบว่าเมื่อใช้ค่า iRBCQFlag ≥ 10 AU และจำนวนเกล็ดเลือด < 140 x10<sup>9</sup>/L พบว่า ค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก และค่าทำนายผลลบ เท่ากับร้อยละ 97, 100, 100 และ 99.8 ตามลำดับ โดยมีค่าพื้นที่ใต้กราฟ ROC ในการใช้ค่า iRBC QFlag และค่าเกล็ดเลือด 0.991 และ 0.981 ตามลำดับ โดยสรุป ค่า iRBC QFlag มีความไวสูงขึ้นถึงร้อยละ 97 เมื่อปรับเกณฑ์ผลบวกให้มีค่าต่ำลงโดยใช้ร่วมกับจำนวนเกล็ดเลือด ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษานี้ คือ ถ้าตัวอย่างมีค่า iRBC QFlag ≥ 10 AU ร่วมกับมีจำนวนเกล็ดเลือด < 140 x10<sup>9</sup>/L หรือมีค่า iRBC QFlag20-300 AU ร่วมกับมีจำนวนเกล็ดเลือด ≥ 140 x10<sup>9</sup>/L ให้สงสัยว่าน่าจะมีเชื้อมาลาเรียชนิด <em>P. vivax</em> ควรตรวจยืนยันด้วยการทำฟิล์มเลือดหนา ผลการศึกษาพบว่าเมื่อใช้ค่า iRBC QFlag ≥ 10 AU และจำนวนเกล็ดเลือด < 140 x10<sup>9</sup> /L พบว่ามีค่าพื้นที่ใต้กราฟ ROC เท่ากับ 0.991 และ 0.981 ตามลำดับ และการใช้ค่า iRBC QFlag ≥ 10 AU ร่วมกับจำนวนเกล็ดเลือด < 140 x10<sup>9</sup> /L มีค่าความไว ความจำเพาะ ค่าทำนายผลบวก และค่าทำนายผลลบ เท่ากับร้อยละ 97, 100, 100 และ 99.8 ตามลำดับ</p>
2024-08-13T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารเทคนิคการแพทย์