วารสารเทคนิคการแพทย์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt
<p style="font-weight: 400;"><strong>วารสารเทคนิคการแพทย์</strong> เป็นวารสารทางวิชาการของสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมถ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ</p> <p style="font-weight: 400;">วารสารเทคนิคการแพทย์ เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการ และเป็นสื่อกลางเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการ และผลงานวิจัยด้านเทคนิคการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาต่าง ๆ โดยรับพิจารณาบทความทั้งหมด 6 ประเภท คือ นิพนธ์ต้นฉบับ บทความปริทัศน์ รายงานกรณีศึกษา บทความวิจัยอย่างสั้น จดหมายถึงบรรณาธิการ และ บทบรรณาธิการ </p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong></p> <ol style="font-weight: 400;"> <li>เป็นสื่อกลางเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการ และผลงานวิจัยด้านเทคนิคการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาต่างๆ</li> <li>เพื่อกระตุ้นการวิจัยและการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญในสาขาเทคนิคการแพทย์</li> <li>เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างนักเทคนิคการแพทย์และผู้ให้บริการทางการแพทย์อื่นๆ</li> </ol> <p style="font-weight: 400;">บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องมีการอ่านตรวจทานต้นฉบับ จากคณะบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขาจากภายนอก อย่างน้อย 3 ท่าน โดยปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง (double-blinded, peer-review) </p> <p style="font-weight: 400;"><strong>ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่:</strong><strong> ไม่เสียค่าใช้จ่าย</strong></p> <p style="font-weight: 400;"><strong>กำหนดการตีพิมพ์</strong> ปีละ 3 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน <br />ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>Indexed and Abstracts</strong></p> <p style="font-weight: 400;">- Thailand Citation Index Center (TCI) Tier 1 (จนถึง 31 ธันวาคม 2572)</p>
สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทยฯ
th-TH
วารสารเทคนิคการแพทย์
2985-0924
-
Comparison of Urine and Genital Samples for Detecting Human Papillomavirus (HPV) in Clinical Patients
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/273736
<p>-</p>
ณัฐนัย อติรุจสิทธางกูร
Copyright (c) 2025 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-28
2025-04-28
9441
9444
-
การเปรียบเทียบการตรวจหา Treponema pallidum Antibodies ด้วยวิธี Electrochemiluminescence Immunoassay และวิธี Treponema pallidum Particle Agglutination Assay
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/269959
<p>การตรวจวิเคราะห์ <em data-start="132" data-end="152">Treponema pallidum</em> antibodies (treponemal antibodies) ในซีรัม เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยโรคซิฟิลิส (syphilis) และยืนยันผลการทดสอบของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ณ ปัจจุบัน หรือเคยติดเชื้อมาก่อน วิธีดั้งเดิมของการตรวจ treponemal antibodies คือวิธี Treponema pallidum particle agglutination (TPPA) ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องอาศัยความชำนาญของผู้ทำการทดสอบ เนื่องจากต้องอ่านผลด้วยสายตามนุษย์ และใช้ระยะเวลาทำการทดสอบค่อนข้างนาน อาจไม่เหมาะสมกับห้องปฏิบัติการที่มีตัวอย่างจำนวนมาก ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวิธีการทดสอบด้วยเครื่องอัตโนมัติ โดยใช้หลักการ electrochemiluminescence immunoassay (ECLIA) ซึ่งอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการตรวจหา treponemal antibodies การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสอดคล้องของการตรวจวิเคราะห์ treponemal antibodies ด้วยวิธี ECLIA โดยใช้น้ำยา Elecsys Syphilis กับวิธี TPPA จากกลุ่มตัวอย่าง 299 ราย ผลการทดสอบความแม่นยำของเครื่องอัตโนมัติวิธี ECLIA พบว่ามีค่าความแม่นยำที่ดีและอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ การศึกษาความสอดคล้องพบว่าทั้งสองวิธีมีผลรวมความสอดคล้องอยู่ที่ร้อยละ 99.33 และมีค่าความสอดคล้องในระดับดีมาก (Cohen’s kappa เท่ากับ 0.985) แสดงให้เห็นว่าผลการทดสอบของทั้งสองวิธีมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อศึกษาต่อเพิ่มเติมพบว่าหลักการ ECLIA สามารถนำมาใช้จำแนกกลุ่ม nonreactive ออกจากกลุ่ม reactive titer 1:160 และ reactive titer ≥ 1:320 (<em>p</em> < 0.001) ได้ แต่ไม่สามารถแยกกลุ่ม reactive titer 1:160 และกลุ่ม reactive titer ≥ 1:320 ออกจากกันได้ (<em>p</em> = 0.172) สรุปได้ว่าวิธี ECLIA สามารถใช้คัดกรองเบื้องต้นในการจำแนกผู้ป่วยกลุ่ม nonreactive ออกจากกลุ่ม reactive เพื่อลดจำนวนตัวอย่างที่ต้องทดสอบด้วยวิธี TPPA การย่นระยะเวลาการทดสอบจะช่วยเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยได้</p>
นันทิศา เขมะวิชานุรัตน์
อริสรา สมุทรผ่อง
ชวชล เศรษฐอุดม
ศิราภรณ์ พิทักษ์
Copyright (c) 2025 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-28
2025-04-28
9324
9336
-
การเปรียบเทียบผลของ LDL-cholesterol ด้วยวิธีตรวจ จากเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติและการคำ�นวณค่าด้วยสูตร ของ Friedewald, Hata, Puavilai และ Martin ในโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/269329
<p>การตรวจวัดระดับไลโปโปรตีนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (low-density lipoprotein cholesterol: LDL-C) เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจวัดระดับไขมันในเลือด (lipid profile) ที่ใช้ในการตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด การวิเคราะห์ LDL-C จากเครื่องอัตโนมัติโดยตรงมีต้นทุนสูง การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบค่า LDL-C ที่ได้จากการคำนวณโดย 4 สูตร คือสูตรของ Friedewald, Hata, Puavilai และ Martin กับค่าที่ได้จากการตรวจวัดโดยตรงจากเครื่องวิเคราะห์ เพื่อนำสูตรที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี โดยศึกษาจากข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประจำปี พ.ศ. 2562–2566 ของผู้รับบริการและบุคลากรของโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี จำนวน 2,432 ราย พบว่าวิธีการตรวจวัดโดยตรงและค่าที่ได้จากการคำนวณจากสูตรของ Martin, Puavilai, Friedewald และ Hata มีความสัมพันธ์กันดีมากที่ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 400 mg/dL โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.962, 0.952, 0.942 และ 0.920 ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์เป็น 5 กลุ่ม คือ 0–99, 100–149, 150–199, 200–399 และมากกว่าหรือเท่ากับ 400 mg/dL ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ย LDL-C จากวิธีวัดโดยตรงมีค่าสูงกว่าวิธีคำนวณทั้ง 4 สูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> < 0.05) ที่ทุกระดับความเข้มข้นของไตรกลีเซอร์ไรด์ โดยสูตรการคำนวณของ Martin มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุด (<em>r</em> = 0.953–0.969) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าสามารถประยุกต์ใช้สูตรการคำนวณของ Martin มาทดแทนการตรวจวิเคราะห์ LDL-C ได้ แต่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดในการใช้สูตรคำนวณ เนื่องจากปริมาณไตรกลีเซอร์ไรด์ที่สูงอาจทำให้ผลที่ได้จากการคำนวณไม่สอดคล้องกับผลที่แท้จริงได้</p>
สุริยะ เครือจันต๊ะ
ปวินา มุสิกพันธ์
วัชรี ศิริปิ่น
สุภาพรรณ เจริญสุข
Copyright (c) 2025 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-28
2025-04-28
9337
9353
-
ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสารบ่งชี้ทางชีวภาพของระบบทางเดินอาหารในผู้บริโภคพืชกระท่อมเพศชายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย: การศึกษาด้านระยะเวลาและปริมาณในการบริโภค
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/272735
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของระยะเวลาและปริมาณการบริโภคพืชกระท่อมที่มีต่อสารบ่งชี้ทางชีวภาพของระบบทางเดินอาหารในกลุ่มตัวอย่างเพศชาย จำนวน 87 รายที่อาศัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์และเจาะเก็บเลือดเพื่อตรวจวิเคราะห์สารบ่งชี้ carcinoembryonic antigen (CEA), alpha-fetoprotein (AFP), carbohydrate antigen 19-9 (CA19-9), aspartate transaminase (AST), alanine transaminase (ALT), alkaline phosphatase (ALP), amylase และอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคพืชกระท่อมมีอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงเฉลี่ยสูงกว่าค่าอ้างอิง ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของสารบ่งชี้ทางชีวภาพรายการอื่นอยู่ภายในค่าอ้างอิง ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างไม่พบความแตกต่างของสารบ่งชี้เมื่อพิจารณาด้านปริมาณ (< 40 กับ ≥ 40 ใบต่อวัน) ความถี่ (< 10 กับ ≥ 10 ครั้งต่อวัน) และจำนวนแก้ว (< 8 กับ ≥ 8 แก้วต่อวัน) ในการบริโภคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาด้านความสัมพันธ์ของระยะเวลาการบริโภคกับสารบ่งชี้ทางชีวภาพของทางเดินอาหาร พบว่าระยะเวลามีความสัมพันธ์แบบผกผันกับระดับ AST อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> = 0.02) แต่ไม่มีผลในทางคลินิก ในขณะที่รายการตรวจอื่น ๆ ไม่พบความสัมพันธ์กับระยะเวลา ทั้งนี้ ผู้บริโภคยังคงต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมและใช้ในรูปแบบของการเป็นพืชสมุนไพรตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัดต่อไป</p>
พศิน ธวัชเกียรติศักดิ์
อนัญญา ประดิษฐปรีชา
ธัญญรัศมิ์ อุทัยพันธ์
Copyright (c) 2025 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-28
2025-04-28
9354
9374
-
การทวนสอบระบบการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดพกพาตามเกณฑ์มาตรฐาน: การประเมินคุณลักษณะเฉพาะ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/272791
<p>ระบบการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดชนิดพกพา Health Impact Blood Glucose Monitoring System Model No. BG-709 และ Health Impact Blood Glucose Test Strip ได้ถูกทำการทวนสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการใช้งานในด้านการทดสอบความแม่นยำ การทดสอบความเป็นเส้นตรง สารรบกวนปฏิกิริยา และการประเมินความถูกต้องของระบบตามเกณฑ์ของ Clinical and Laboratory Standards Institute ได้แก่ เอกสารมาตรฐาน EP15-A3, EP06-Ed2 และ POCT12-A3 และเกณฑ์ ISO 15197:2013 ความแม่นยำประเมินโดยคำนวณค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน (%CV) ในแต่ละช่วงค่าความเข้มข้นของกลูโคส ผลการทดสอบความแม่นยำ repeatability และ within-laboratory precision อยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ในระดับกลูโคส (< 100 mg/dL และ ≥ 100 mg/dL) โดยมีค่า SDs อยู่ในช่วง 0.95–1.29 และในช่วง 1.69–2.18 ตามลำดับ และค่า CVs อยู่ในช่วงร้อยละ 0.60–1.63 และในช่วงร้อยละ 1.29–2.68 ตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการเปรียบเทียบความแม่นยำในแต่ละเครื่องตรวจวัด พบว่าให้ผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ค่า<em> p</em>-value = 0.160, 0.486 และ 0.941) การประเมินความเป็นเส้นตรง กำหนดค่า allowable deviation from linearity (ADL) เท่ากับร้อยละ 5 โดยพบว่าผลการประเมินผ่านเกณฑ์ดังกล่าว และค่า correlation coefficient (<em>r</em>) ในสมการถดถอยเชิงเส้นตรง อยู่ในช่วง 0.9984–0.9998 และมีค่า %recovery ที่ยอมรับได้ในช่วง 96.67–108.33 โดยมีความเป็นเส้นตรงอยู่ในช่วง 30–550 mg/dL ทั้งนี้ สารรบกวน ได้แก่ galactose (15 mg/dL), maltose (1,250 mg/dL), icodextrin (1,094.4 mg/dL), triglyceride (1,850 mg/dL) และ packed cell volume (0–70%) ไม่ส่งผลรบกวนการตรวจวัด กล่าวโดยสรุป การประเมินความถูกต้องของระบบของเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ยอมรับตามข้อกำหนด CLSI POCT12-A3 และ ISO 15197:2013 สำหรับการประเมินระดับกลูโคสในเลือด</p>
ยุวดี บุญญสิทธิ์
อรุณศรี ชูดวง
ธรรมรักษ์ สุขศรีชวลิต
ธารารัตน์ ขาวเขียว
Copyright (c) 2025 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-28
2025-04-28
9375
9396
-
การรักษาด้วย Atorvastatin ช่วยปรับปรุงค่า Triglyceride/HDL-Cholesterol Ratio และค่า Lipid Profile ในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/272802
<p>ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบ (atherosclerosis) และโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) ยากลุ่มสแตติน (statin) ถูกนำมาใช้เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว งานวิจัยที่ผ่านมา พบว่าค่า triglyceride/HDL-cholesterol ratio (TG/HDL-C ratio) สามารถนำมาใช้ประมาณค่า small dense LDL (sdLDL) ซึ่งเป็นไลโพโปรตีนที่ก่อให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตีบและโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้ จุดประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้คือการประเมินประสิทธิภาพของยา atorvastatin ในผู้ป่วยภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ จำนวน 104 ราย ที่มีช่วงอายุระหว่าง 28 ถึง 80 ปี จากโรงพยาบาลนครปฐม โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังและเปรียบเทียบค่า TG/HDL-C ratio และค่าลิพิดพารามิเตอร์อื่น ๆ ก่อนและหลังการรักษาด้วยยา atorvastatin (40 มิลลิกรัม) เป็นระยะเวลา 3 และ 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่าค่าระดับ TG/HDL-C ratio ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังการรักษาทั้งในระยะเวลา 3 และ 6 เดือนเทียบกับค่าก่อนการรักษา (<em>p</em> < 0.05) รวมทั้งค่าลิพิดพารามิเตอร์อื่น ๆ ได้แก่ total cholesterol, triglyceride, LDL-cholesterol, และ non-HDL-cholesterol พบว่ามีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> < 0.05) หลังการรักษาเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าค่า TG/HDL-C ratio มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่า triglyceride (<em>r</em> = 0.920) และ non-HDL-cholesterol (<em>r</em> = 0.253) (<em>p</em> < 0.05) และพบความสัมพันธ์เชิงลบกับค่า HDL-cholesterol (<em>r</em> = -0.485) (<em>p</em> < 0.05) สรุปผลการศึกษา ยา atorvastatin 40 มิลลิกรัม มีประสิทธิผลในการลดค่า TG/HDL-C ratio ตั้งแต่ระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งบ่งชี้ว่ามีการลดลงของ sdLDL-cholesterol และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ</p>
สุภณัฏฐ จำเล
พิไลวรรณ ศิริพฤกษ์พงษ์
ปฐมรัตน์ ทองเรือง
Copyright (c) 2025 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-28
2025-04-28
9397
9411
-
การศึกษาองค์ประกอบของร่างกายในเด็กออทิสติกไทยที่มีโรคอ้วนและไม่มีโรคอ้วน: โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/272957
<p>โรคอ้วนเป็นสาเหตุการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง และพบอุบัติการณ์ของโรคอ้วนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในบุคคลที่ถูกวินิจฉัยเป็นโรคออทิสติก ปัจจุบันการประเมินภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนสำหรับเด็กไทยอายุ 6–19 ปี ซึ่งจำแนกตามเพศ จะใช้น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง อย่างไรก็ตาม การตรวจดังกล่าวไม่สามารถบ่งชี้ถึงระดับองค์ประกอบของร่างกายได้ เช่น มวลไขมันในร่างกาย (body fat mass; BFM) ร้อยละของไขมันในร่างกาย (percentage of body fat; PBF) มวลกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle mass; SMM) มวลไร้ไขมัน (fat-free mass; FFM) และพื้นที่ไขมันในช่องท้อง (visceral fat area) ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของร่างกายในเด็กออทิสติก โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากโรงเรียนพิบูลย์ประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโรงเรียนที่รับเด็กพิเศษเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติ ผลการวิจัยพบว่ามีเด็กออทิสติก 41 คน (อายุ 7–17 ปี) แบ่งเป็นเด็กที่มีภาวะอ้วน 29 คน และไม่มีภาวะอ้วน 12 คน ผลการตรวจพบว่าค่าองค์ประกอบของร่างกาย ได้แก่ BFM, PBF และ visceral fat area มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em> < 0.05) ระหว่างกลุ่มภาวะอ้วนและกลุ่มภาวะปกติ ข้อมูลที่ได้รับจากการวิจัยนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาแนวทางใหม่สำหรับการตรวจติดตามภาวะอ้วนในกลุ่มเด็กออทิสติกในประเทศไทย นอกจากนี้ ความรู้ที่ได้จากการวิจัยยังเป็นประโยชน์ต่อเด็กออทิสติก ครู ผู้ปกครอง แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับเด็กออทิสติกในอนาคต อีกทั้งการวิจัยนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กลยุทธ์ที่ 3 การสร้างหลักประกันสุขภาวะที่ดี และกลยุทธ์ที่ 5 การบรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศ</p>
ฉัตรทิพย์ ศิลารังษี
กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา
อภิลักษณ์ วรชาติชีวัน
ศรัล ขุนวิทยา
Copyright (c) 2025 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-28
2025-04-28
9412
9429
-
การประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ โลหิตวิทยาโดยใช้ซิกมาเมทริกซ์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/271753
<p>การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องตรวจวิเคราะห์เป็นประจำในห้องปฏิบัติการทางคลินิกจัดเป็นกระบวนการสร้างความมั่นใจในความถูกต้องและน่าเชื่อถือของผลการตรวจวิเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการวิเคราะห์และประสิทธิภาพเครื่องตรวจวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติ Mindray รุ่น BC6200 ของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนด้วยซิกมาเมทริกซ์ โดยทำการเก็บข้อมูลจาก internal quality control (IQC) และเก็บรวบรวมผลการประเมิน external quality assessment (EQA) ย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 ผลการศึกษาความเที่ยงตรงและความแม่นยำของรายการตรวจ 5 รายการ ได้แก่ white blood cell count (WBC), red blood cell count (RBC), hemoglobin (Hb), hematocrit (Hct) และ platelet count (PLT) พบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ และผลการประเมินการเบี่ยงเบนไปจากค่าเป้าหมายโดยใช้ซิกมาเมทริกซ์ พบค่าซิกมาของการทดสอบ WBC, RBC, Hb, Hct และ PLT ได้ค่า 6.5, 7.8, 6.7, 5.4 และ 7.9 ตามลำดับ แสดงว่าห้องปฏิบัติมีความสามารถอยู่ในระดับดีเลิศและดีเยี่ยม ซึ่งทำให้การควบคุมคุณภาพภายในนั้นทำได้ง่ายและประหยัด โดยสามารถลดจำนวนรอบที่ทำการทดสอบขั้นต่ำได้เหลือ 1 รอบต่อวัน และควบคุมคุณภาพโดยใช้กฎ Westgard multirules เพียงข้อเดียวแต่สามารถตรวจจับความผิดพลาดได้สูงและมีผลเตือนลวงต่ำ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ซิกมาเมทริกซ์ซึ่งเป็นเครื่องมือควบคุมคุณภาพที่ดีในการประเมินประสิทธิภาพการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยา นำไปสู่การวางแผนปรับปรุงและพัฒนากระบวนการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่อง และยังลดอัตราการทดสอบซ้ำและลดงบประมาณในการควบคุมคุณภาพ</p>
พุทรา ชลสวัสดิ์
อัสรินดา อับดุลกานาน
วิมล ยานพานิชย์
เบญจมาภรณ์ วงษ์พันธุ์
Copyright (c) 2025 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-28
2025-04-28
9430
9440
-
การวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคแฝง: การประเมินบทบาทของ QuantiFERON-TB ในยุคของเทคโนโลยีใหม่
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/269239
<p>วัณโรคมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย <em data-start="163" data-end="191">Mycobacterium tuberculosis</em> (Mtb) ยังคงเป็นปัญหาท้าทายด้านสุขภาพทั่วโลก วัณโรคมีความชุกสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกา และแปซิฟิกฝั่งตะวันตก การระบุผู้ติดเชื้อวัณโรคแฝงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการแพร่เชื้อ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี QuantiFERON-TB (QFT) ได้ถูกพัฒนาเป็นชุดทดสอบเลือดสำหรับวินิจฉัยวัณโรคแฝงที่มีข้อได้เปรียบอย่างมีนัยสำคัญ มีข้อดีกว่าการทดสอบผิวหนังแบบดั้งเดิม บทความนี้มุ่งบรรยายความสำคัญของการทดสอบ QFT ในการวินิจฉัยวัณโรค โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสำรวจความก้าวหน้าล่าสุดและอภิปรายถึงโอกาสในอนาคตของการทดสอบ QFT เนื้อหาในบทความได้ทบทวนวรรณกรรมโดยมุ่งเน้นที่ประโยชน์และความท้าทายของการทดสอบ QFT สำหรับการวินิจฉัยวัณโรค แสดงให้เห็นและเน้นย้ำถึงศักยภาพของแอนติเจนใหม่ การบูรณาการตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ และการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในสภาพแวดล้อมที่มีทรัพยากรจำกัดและประชากรมีความเสี่ยงสูง เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ชุดการทดสอบ QFT เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าสำหรับการควบคุมและกำจัดวัณโรค การพัฒนาในอนาคตควรมุ่งเน้นไปที่การค้นหาแอนติเจนและตัวบ่งชี้ทางชีวภาพใหม่ การบูรณาการ QFT กับเครื่องมือวินิจฉัยอื่น และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีทรัพยากรจำกัดและกลุ่มเสี่ยง จะเห็นได้ว่าการทดสอบ QFT มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงการวินิจฉัยวัณโรคแฝงได้อย่างมาก ซึ่งในท้ายที่สุดจะเป็นส่วนช่วยควบคุมและกำจัดการติดเชื้อวัณโรคในระยะยาว</p>
ฐิติรัตน์ จิรัญญนันท์
Copyright (c) 2025 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-28
2025-04-28
9277
9296
-
การเปรียบเทียบข้อกำหนด ISO 15189: 2022 และ ISO/IEC 17025: 2017 สำหรับการพัฒนาระบบบริหารห้องปฏิบัติการ
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/274608
<p>คุณภาพของผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า สามารถยืนยันได้ด้วยกระบวนการตรวจสอบและรับรอง เพื่อแสดงถึงคุณภาพหรือความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยมีมาตรฐาน ISO 15189:2022 เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณภาพและความสามารถสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ และมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 เป็นข้อกำหนดทั่วไปเกี่ยวกับความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ดังนั้นเพื่อให้หน่วยงานที่ต้องใช้มาตรฐานการบริหารคุณภาพทั้งสองระบบในหน่วยงานเดียวกันสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ จึงได้ศึกษาการเปรียบเทียบข้อกำหนดระหว่างมาตรฐานทั้งสองฉบับ พบว่า ISO 15189:2022 มีโครงสร้างเอกสารที่สอดคล้องกับ ISO/IEC 17025:2017 ประกอบด้วยข้อกำหนดหลัก 5 ข้อ ได้แก่ (1) ข้อกำหนดทั่วไป (2) ข้อกำหนดด้านโครงสร้าง (3) ข้อกำหนดด้านทรัพยากร (4) ข้อกำหนดด้านกระบวนการ และ (5) ข้อกำหนดด้านระบบบริหารจัดการ โดยต้องดำเนินการด้วยความเป็นกลาง พร้อมทั้งระบุความเสี่ยงและเลือกโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพ ขอบข่ายกิจกรรมแตกต่างกันตามบริบทของห้องปฏิบัติการ โดย ISO 15189 จะครอบคลุมถึงกระบวนการก่อนการตรวจวิเคราะห์ และการทดสอบ ณ จุดดูแลผู้ป่วย และเน้นผลกระทบต่อผู้ป่วย ขณะที่ ISO/IEC 17025:2017 จะเน้นกิจกรรมการสุ่มตัวอย่าง การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการทดสอบ การรายงานผลพร้อมค่าความไม่แน่นอนของการวัด การกำหนดเกณฑ์การตัดสินใจ และเน้นการทวนสอบกลับได้ทางมาตรวิทยา ซึ่งระบุในภาคผนวก A การเปรียบเทียบข้อกำหนดทั้งสองมาตรฐานนี้ จะช่วยส่งเสริมให้ห้องปฏิบัติการสามารถนำข้อมูลไปปรับปรุงคุณภาพบริการและบูรณาการระบบบริหารคุณภาพให้เป็นหนึ่งเดียวภายในองค์กร</p>
สีตไพสิฐ เอกะจัมปกะ
สุภาวัลย์ ปิยรัตนวรสกุล
Copyright (c) 2025 วารสารเทคนิคการแพทย์
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-04-28
2025-04-28
9297
9323