วารสารเทคนิคการแพทย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt <p><strong>วารสารเทคนิคการแพทย์</strong> เป็นวารสารทางวิชาการของสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทยในพระอุปถัมถ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ<br />วารสารเทคนิคการแพทย์ เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการ และเป็นสื่อกลางเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการ และผลงานวิจัยด้านเทคนิคการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาต่าง ๆ โดยรับพิจารณาบทความทั้งหมด 9 ประเภท คือ นิพนธ์ต้นฉบับ บทความปริทัศน์ บทความพิเศษ รายงานการประชุมวิชาการ รายงานกรณีศึกษา บทความวิจัยอย่างสั้น จดหมายถึงบรรณาธิการ ย่อวารสาร และ บทบรรณาธิการ </p> <p style="font-weight: 400;"><strong>วัตถุประสงค์และขอบเขตของวารสาร</strong></p> <ol> <li style="font-weight: 400;">เป็นสื่อกลางเผยแพร่ความก้าวหน้าทางวิชาการ และผลงานวิจัยด้านเทคนิคการแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์สาขาต่างๆ</li> <li style="font-weight: 400;">เพื่อกระตุ้นการวิจัยและการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญในสาขาเทคนิคการแพทย์</li> <li style="font-weight: 400;">เพื่อเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างนักเทคนิคการแพทย์และผู้ให้บริการทางการแพทย์อื่นๆ</li> </ol> <p>บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องมีการอ่านตรวจทานต้นฉบับ จากคณะบรรณาธิการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะสาขาจากภายนอก อย่างน้อย 3 ท่าน โดยปกปิดข้อมูลทั้งสองทาง (double-blinded, peer-review) </p> <p><strong><strong style="font-size: 0.875rem;"><span lang="TH">ค่าธรรมเนียมการเผยแพร่:</span></strong><strong style="font-size: 0.875rem;"> </strong><span lang="TH" style="font-size: 0.875rem;">ไม่เสียค่าใช้จ่าย</span></strong></p> <p><strong>กำหนดการตีพิมพ์</strong> ปีละ 3 ฉบับ<br />ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน <br />ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม<br />ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม</p> <p style="font-weight: 400;"><strong>Indexed and Abstracts</strong></p> <p style="font-weight: 400;">- Thailand Citation Index Center (TCI) Tier 1 (จนถึง 31 ธันวาคม 2567)</p> <p style="font-weight: 400;"><img src="https://he01.tci-thaijo.org/public/site/images/panek/tier1-tci-2021-2024.png" alt="" width="113" height="124" /></p> <p style="font-weight: 400;">- Asian Cita<span style="font-size: 0.875rem;">tion Index (ACI)</span></p> <p style="font-weight: 400;"><img style="font-size: 0.875rem;" src="https://he01.tci-thaijo.org/public/site/images/panek/aci-logo4.png" alt="" width="265" height="128" /></p> th-TH somchaivir@gmail.com (รศ.สมชาย วิริยะยุทธกร) ranaporn.pra@gmail.com (รณพร ประสงค์สุข) Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 อนุภาคเหมือนไวรัส (Pseudovirus): การสร้างและการประยุกต์ใช้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/258710 <p>อนุภาคเหมือนไวรัสเป็นโครงสร้างของโปรตีนเปลือกหุ้มของไวรัสที่ประกอบกันเป็นอนุภาคไวรัส โดยที่ขนาดและรูปร่างคล้ายคลึงกับไวรัสที่พบในธรรมชาติแต่ขาดสารพันธุกรรมของไวรัส ทำให้อนุภาค เหมือนไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนและไม่ทำให้เกิดโรคได้ ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงมีการศึกษาเกี่ยวกับ อนุภาคเหมือนไวรัสและการประยุกต์ใช้อนุภาคเหมือนไวรัสกันอย่างแพร่หลาย บทความปริทัศน์นี้ จะอธิบายถึงวิธีการสร้างอนุภาคเหมือนไวรัส รูปร่างของอนุภาคเหมือนไวรัส การแสดงออกของรีคอมบิแนนท์โปรตีนเปลือกหุ้มของไวรัสในการแสดงออกระบบต่างๆ การทำรีคอมบิแนนท์โปรตีนเปลือกหุ้ม ของไวรัสให้บริสุทธิ์ การตรวจสอบอนุภาคเหมือนไวรัสและการประยุกต์ใช้อนุภาคเหมือนไวรัสในด้านต่างๆ ซึ่งได้แก่ การนำามาใช้เป็นวัคซีน การนำมาใช้เป็นพาหะในการนำาส่งกรดนิวคลีอิก การนำมาใช้เป็นพาหะในการนำส่งยาและการใช้อนุภาคเหมือนไวรัสสำหรับติดตามหรือถ่ายภาพ</p> รพี สินเนืองนอง, นรารัตน์ เหล่าพิเชียรพงษ์, อภิญญา ลงยา, พรหมฉัตร เจริญพัฒน์, วันชัย อัศวลาภสกุล Copyright (c) 2023 วารสารเทคนิคการแพทย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/258710 Sat, 09 Sep 2023 00:00:00 +0700 L-amino acid oxidase จากพิษงูจงอางสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดการตายแบบ apoptosis ในเซลล์มะเร็งผิวหนังมนุษย์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/261092 <p>L-amino acid oxidase (LAAO) เป็นส่วนประกอบหนึ่งในพิษงูที่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ การศึกษาเกี่ยวกับสารต้านมะเร็งผิวหนังในประเทศไทยยังมีไม่มากนัก งูจงอางเป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำพิษมีมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ LAAO จากพิษงูจงอางต่อเซลล์ผิวหนังปกติและเซลล์มะเร็งผิวหนัง โดยแยก LAAO จากพิษงูจงอางด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีตามขนาดน้ำหนัก โมเลกุล การใช้ตัวแลกเปลี่ยนประจุ และการจับกันอย่างจำเพาะ ทำการทดสอบ LAAO ในเซลล์ทั้งสองชนิด และตรวจวัดความเป็นพิษต่อเซลล์ด้วยวิธี MTT assay พบว่า ที่เวลา 48 ชั่วโมง LAAO จากพิษงูจงอางไม่ทำให้เซลล์ผิวหนังปกติตาย แต่ทำให้เซลล์มะเร็งผิวหนังตายประมาณร้อยละ 27 และจากการตรวจสอบ phosphatidyl serine ด้วยเครื่อง flow cytometry พบการตายของเซลล์ทั้งสองชนิดเป็น แบบ apoptosis โดยการตายของเซลล์เกี่ยวข้องกับ H<sub>2</sub>O<sub>2</sub> ที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของ LAAO การใช้เอนไซม์ catalase ทดสอบสามารถป้องกันการตายของเซลล์ที่เกิดขึ้นจาก LAAO ได้ เมื่อตรวจสอบ โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการตายแบบ apoptosis พบการย้าย cytochrome c จากไมโทคอนเดรียไปสู่ไซโตซอล และมีการแสดงออกของโปรตีน Bcl-2 ลดลง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า LAAO จากพิษงูจงอางมีศักยภาพในการต้านมะเร็งผิวหนัง ซึ่งอาจพัฒนาต่อเพื่อใช้เป็นสารยับยั้งเซลล์มะเร็งผิวหนังได้</p> วิชิต ทวีกาญจน์, จุรีพร น้อยพรหม, อรวรรณ โค้ว, สุจิตรตรา ขุนทรัพย์, สุปราณี บูรณประดิษฐ์กุล Copyright (c) 2023 วารสารเทคนิคการแพทย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/261092 Sat, 09 Sep 2023 00:00:00 +0700 ผลของการสูบบุหรี่ต่อเซลล์เม็ดเลือด โปรตีนในพลาสมา ไซโตไคน์ และคีโมไคน์ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/262177 <p>ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารพิษ สารก่อมะเร็ง และสารเสพติดหลายชนิด ซึ่งการสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการสูบบุหรี่ต่อสารบ่งชี้ทางชีวภาพในเลือดของคนสุขภาพดี โดยคัดเลือกอาสาสมัคร 357 ราย แบ่งเป็นผู้สูบบุหรี่ 135 ราย และไม่สูบบุหรี่ 222 ราย และเก็บตัวอย่่างเลือดเพื่อวิเคราะห์สารบ่งชี้ทางชีวภาพ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูบบุหรี่มีค่าเกล็ดเลือด เม็ดเลือดขาว และ reticulocyte ผิดปกติ นอกจากนี้ ค่าโปรตีนในพลาสมา (CRP และ PDGF), ไซโตไคน์ (IL-2, IL-6, IFN-g, และ TNF-α) และคีโมไคน์ (MCP-1 MIP-1β และ RANTES) มีการเปลี่ย่นแปลงในผู้สูบบุหรี่ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้สูบบุหรี่เพศหญิงและเพศชาย และระหว่างกลุ่มผู้สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ที่อายุน้อยกว่า 50 ปี พบว่าไม่มีผลต่อสารบ่งชี้ทางชีวภาพ แต่กลุ่มผู้สูบบุหรี่ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี มีการเปลี่ยนแปลงของสารบ่งชี้ทางชีวภาพ เพศและอายุที่มากขึ้นมีผลเล็กน้อยต่อเซลล์เม็ดเลือดและค่าโปรตีนบางค่า ได้แก่ เกล็ดเลือด เม็ดเลือดขาว, IL-6, PDGF และ TNF-α การสูบบุหรี่ทำให้เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ และยิ่งส่งผลมากขึ้นในผู้สูบบุหรี่ที่อายุมากขึ้น ผลการวิจัยนี้เสนอว่าการวิเคราะห์สารบ่งชี้ทางชีวภาพซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็วอาจจะเหมาะสมในการใช้ตรวจติดตามระดับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในกลุ่มผู้สูบบุหรี่และตรวจติดตามการเกิดโรคที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความตระหนักถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่และเลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ได้</p> ฐิติยา ลือตระกูล Copyright (c) 2023 วารสารเทคนิคการแพทย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/262177 Sat, 09 Sep 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาและการประเมินวิธีอีไลซาสำหรับตรวจแอนติบอดี ต่อโปรตีน RBD ของเชื้อ SARS-CoV-2 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/258506 <p>โรคโควิด-19 เกิดจากไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นเชื้ออุบัติใหม่ที่จัดอยู่ในกลุ่มอันตรายร้ายแรง โดยมีการแพร่ระบาดไปทั่วโลก การติดเชื้อตามธรรมชาติหรือการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีน receptor binding domain (RBD) ของเชื้อ SARS-CoV-2 การศึกษานี้จึงพัฒนาวิธีอีไลซาสำหรับตรวจแอนติบอดีชนิด IgG ต่อโปรตีน RBD ของเชื้อ SARS-CoV-2 เพื่อใช้ในการตรวจเชิงคุณภาพ (qualitative) เชิงกึ่งปริมาณ (semi-quantitative) และเชิงปริมาณ (quantitative) ในตัวอย่างซีรัมหรือพลาสมาของผู้ติดเชื้อหรือผู้รับวัคซีน จากการวิเคราะห์ผลพบว่าในการตรวจเชิงคุณภาพของตัวอย่างที่เจือจาง 1:200 หาค่าจุดตัด (cut-off) จากตัวอย่างผลลบ โดยใช้ค่าเฉลี่ยบวกค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสองเท่าและสามเท่าได้ค่า 1.4447 และ 1.8232 หน่วยอีไลซา<br />ตามลำดับ โดยมีค่าความจำเพาะร้อยละ 93.94 และ 98.27 ตามลำดับ ส่วนการตรวจผลบวกมีค่าความไวที่ร้อยละ 100 ที่ค่า cut-off 1.4447 และ 1.8232 และพบการเกิดปฏิกิริยาข้ามร้อยละ 6 และ 0 ที่ค่า cut-off 1.4447 และ 1.8232 ตามลำดับ ส่วนสารรบกวนปฏิกิริยาไม่มีผลกระทบต่อผลการทดลองอย่างมีนัยสำค ัญ (p &gt; 0.05) ในการตรวจเชิงกึ่งปริมาณสามารถอ่านค่าได้จากกราฟมาตรฐานในช่วงความเข้มข้นระหว่าง 13.48-62.50 BAU ต่อมิลลิลิตร สำหรับตัวอย่างที่เจือจาง 1:200 และสามารถหาปริมาณแอนติบอดีของตัวอย่างที่มีความเข้มข้นสูงที่ต้องเจือจางมากกว่า 1:200 โดยเทียบจากกราฟมาตรฐาน วิธีอีไลซานี้สามารถตรวจหาปริมาณแอนติบอดีโดยมีค่าความสัมพันธ์กับการตรวจด้วยวิธี chemiluminescence microparticle immunoassay (CMIA) เท่ากับ 0.93 (p &lt; 0.001) แสดงให้เห็นว่าวิธีตรวจที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้ตรวจหาแอนติบอดีต่อโปรตีน RBD ของเชื้อ SARS-CoV-2 ได้ต่อไป</p> ณัฐธนัญ ภิญโญสุขี, ปนัดดา เทพอัคศร, อภิชัย ประชาสุภาพ, รัตนาวดี วิชาจารณ์, นุชนาฎ ชัชวาลการพาณิชย์, ไตรรงค์ โชควาสนาสกุลกิจ, ลภัสรดา ภัทรปรียากุล, กชรัตน์ จงปิติทรัพย์, กฤศมน โสภณดิลก, สกุลรัตน์ สุนทรฉัตราวัฒน์, ภาณุพันธ์ ปัญญาใจ, วิโรจน์ พวงทับทิม, วรางลักษณ์ พิมพาภัย, สุภาพร ภูมิอมร, สุรัคเมธ มหาศิริมงคล Copyright (c) 2023 วารสารเทคนิคการแพทย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/258506 Thu, 31 Aug 2023 00:00:00 +0700 การประเมินค่าตัวอ่อนของเรติคูโลไซต์ (IRF) และค่าตัวอ่อน ของเกล็ดเลือด (IPF) เพื่อจำแนกอาการไข้ในผู้ป่วยโรคไข้เดงกีออกจากโรคไข้หวัดใหญ่ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/262544 <p>โรคไข้เดงกีเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มียุงลายเพศเมียเป็นพาหะนำโรค หนึ่งในพยาธิสภาพของโรคคือการกดการทำงานของไขกระดูกที่ส่งผลต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด ค่าตัวอ่อนของเรติคูโลไซต์ (immature reticulocyte fraction; IRF) และค่าตัวอ่อนของเกล็ดเลือด (immature platelet fraction; IPF) เป็นพารามิเตอร์ที่บ่งชี้การทำงานของไขกระดูก โดยค่า IRF ใช้ในการประเมินและติดตามการรักษาผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายไขกระดูกและผู้ป่วยที่มีภาวะซีด ในขณะที่ค่า IPF ใช้ประเมินการให้เกล็ดเลือดแก่ผู้ป่วยที่ได้เปลี่ยนถ่ายเกล็ดเลือด งานวิจัยนี้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ 18-34 ปีจำนวน 122 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มโรคไข้หวัดใหญ่ และกลุ่มโรคไข้เดงกีที่แบ่งเป็นระยะไข้ ระยะวิกฤต และระยะฟื้นตัว มีการเก็บข้อมูลเพศ อายุ อุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต ชีพจร ร่วมกับผลตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood counts; CBC) พบว่ากลุ่มควบคุม กลุ่มโรคไข้หวัดใหญ่ และกลุ่มโรคไข้เดงกี มีค่า IRF เฉลี่ยร้อยละ 9.65, 8.33 และ 11.87 และค่า IPF เฉลี่ยร้อยละ 1.77, 2.46 และ 4.82 ตามลำดับ ค่า IPF มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p &lt; 0.001) ในขณะที่ค่า IRF ไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนผู้ป่วยโรคไข้เดงกีระยะไข้ ระยะวิกฤต และระยะฟื้นตัว มีค่า IRF ร้อยละ 10.96, 10.66 และ 13.99 และค่า IPF ร้อยละ 3.01, 7.95 และ 3.50 ตามลำดับค่า IPF มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.001) ในขณะที่ค่า IRF ไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบค่า IRF และ IPF ในผู้ป่วยที่มีไข้ (อุณหภูมิร่างกาย ≥ 37.5 องศาเซลเซียส) ระหว่างกลุ่มโรคไข้หวัดใหญ่และกลุ่มโรคไข้เดงกี พบว่าค่า IRF ไม่มีความแตกต่างกัน (p = 0.970) ในขณะที่ค่า IPF ในกลุ่มโรคไข้เดงกี (ร้อยละ 5.48) มีค่าสูงกว่าในกลุ่มโรคไข้หวัดใหญ่ (ร้อยละ 2.45) อย่างมีนัยสำคัญ (p &lt; 0.001) ผล ROC curve ของค่า IPF ที่จุดตัด (cut-off) ร้อยละ 2.15 พื้นที่ใต้กราฟ0.777 (0.668-0.886 ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95) มีความไวร้อยละ 85.7 ความจำเพาะร้อยละ 50.0 บ่งชี้ว่าค่า IPF น่าจะนำมาใช้ร่วมกับค่าพารามิเตอร์อื่น และอาการของผู้ป่วยในการคัดกรองผู้ป่วยที่มีไข้ จากโรคไข้เดงกีออกจากผู้ป่วยที่มีไข้จากโรคไข้หวัดใหญ่ได้ เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยและการรักษาโรคไข้เดงกีได้ทันท่วงที</p> <p> </p> จินาภัทดิ์ ภู่เจริญธรรม, พิไลวรรณ ศิริพฤกษ์พงษ์ Copyright (c) 2023 วารสารเทคนิคการแพทย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/262544 Sat, 09 Sep 2023 00:00:00 +0700 ความพึงพอใจของผู้รับบริการเจาะเลือด ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/261014 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการที่ห้องเจาะเลือด กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 305 ราย และบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีจำนวน 106 ราย ที่เข้ามารับบริการ ห้องเจาะเลือด ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกและเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 -31 สิงหาคม 2565 ผลการศึกษา พบว่าผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 78.35 และ 79.48 ตามลำดับ แต่มีความพึงพอใจต่อระยะเวลาในการเจาะเลือดเริ่มตั้งแต่การสแกนบัตรจนเจาะเลือดเสร็จและการเกิดรอยเขียวช้ำหลังเจาะเลือดน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 70.0 และ 52.40 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการ พบว่าผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกที่มีความแตกต่างกันด้านเพศ การศึกษา และประวัติการเจาะเลือดมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <em>p</em> &lt; 0.05 สำหรับผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกที่มีความแตกต่างกันด้านสถานภาพสมรส อายุ และรายได้ต่อเดือน มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการไม่แตกต่างกัน ในขณะที่บุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 68.9 และ 70.20 ตามลำดับ แต่มีความพึงพอใจต่อเก้าอี้นั่งรอเจาะเลือดเพียงพอและการเกิดรอยเขียวช้ำหลังเจาะเลือดน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.6 และ 58.20 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการ พบว่าบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตนราชธานีที่มีความแตกต่างกันด้านประวัติการเจาะเลือดมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <em>p</em> &lt; 0.05 สำหรับบุคลากรโรงพยาบาลนพรัตราชธานีที่มีความแตกต่างกันด้านเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา และรายได้ต่อเดือน มีความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการไม่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้แสดงว่าการเจาะเลือดมีหลายขั้นตอนทำให้ผู้รับบริการสับสนและรอเจาะเลือดนานเป็นเวลาหลายชั่วโมง รวมถึงเก้าอี้นั่งรอเจาะเลือดไม่เพียงพอ แนวทางพัฒนาความพึงพอใจต่อคุณภาพของห้องเจาะเลือดและคุณภาพการให้บริการคือการลดขั้นตอนเจาะเลือดลง และมีเจ้าหน้าที่คอยช่วยเหลือแนะนำ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการบริการที่สะดวกและรวดเร็ว</p> สุพิศ โพธิ์ขาว Copyright (c) 2023 วารสารเทคนิคการแพทย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/261014 Sat, 09 Sep 2023 00:00:00 +0700 ภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 3 และ 4 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/262237 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะหมดไฟในการเรียน และความแตกต่างของระดับภาวะหมดไฟ ในนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 241 คน ประกอบด้วยนักศึกษาที่เรียนตามแผน จำนวน 161 คน และไม่ได้เรียนตามแผนคือไม่ได้ลงทะเบียนตามแผนการศึกษา จำนวน 80 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ที่ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามระดับภาวะหมดไฟทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ความอ่อนล้าทางอารมณ์ ภาวะเมินเฉยในการเรียน และการลดประสิทธิภาพในการเรียน รวมถึงมีการสนทนากลุ่มเพื่อทำความเข้าใจในบางประเด็นให้มากขึ้น ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่ไม่ได้เรียนตามแผน มีภาวะหมดไฟสูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 ที่เรียนตามแผน ตามลำดับ โดยเฉพาะในด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ซึ่งมีระดับสูงที่สุดในทั้งสามกลุ่ม โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีภาวะหมดไฟน้อยกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 4 และนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนตามแผน ทั้งในด้านการลดประสิทธิภาพในการเรียนและภาวะเมินเฉยในการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ศราวุธ สุทธิรัตน์ Copyright (c) 2023 วารสารเทคนิคการแพทย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/262237 Sat, 09 Sep 2023 00:00:00 +0700 อนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์กระตุ้นการแสดงออกของโปรตีนยึดเกาะในเซลล์บุผนังหลอดเลือด https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/262000 <p>วัสดุนาโนเป็นวัสดุที่มีอนุภาคนาโนเป็นส่วนประกอบ มีความเสถียรสูง และทนต่อการกัดกร่อน ปัจจุบันมีการนำอนุภาคนาโนมาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าอุปโภคและบริโภคมากขึ้น ทำให้มีโอกาสสัมผัสและนำเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น โดยผ่านทางการหายใจ การกิน และทางผิวหนัง หลังจากนั้นอนุภาคนาโนจะเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตผ่านเซลล์บุผนังหลอดเลือดและอาจทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ได้ อนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์เป็นอนุภาคนาโนที่มีการนำมาใช้ผลิตสินค้าหลายชนิด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สีทาบ้าน ผลิตภัณฑ์ป้องกันการติดเชื้อ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด ยารักษาโรค เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์อาหาร และสารกำจัดแมลง ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษ และผลกระทบโดยตรงของอนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ต่อเซลล์บุผนังหลอดเลือด โดยใช้เซลล์เพาะเลี้ยงชนิด HMEC-1 วัดปริมาณการเข้าสู่เซลล์ของอนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ อัตราการมีชีวิตของเซลล์ การสร้างอนุมูลอิสระ และการแสดงออกของโมเลกุลยึดเกาะบนผิวเซลล์ ผลการศึกษาพบว่าที่ความเข้มข้น 50-1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร อนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์เข้าสู่เซลล์ได้เฉลี่ยร้อยละ 15.4 ของปริมาณที่สัมผัส มีผลเพิ่มอัตราการมีชีวิตของเซลล์ เพิ่มระดับสารอนุมูลอิสระในเซลล์ และกระตุ้นการแสดงออกของโปรตีน VCAM-1 อย่างมีนัยสำคัญ (p&lt;0.05) สรุปว่า อนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์มีผลกระตุ้นการแสดงออกของโปรตีนยึดเกาะ VCAM-1 ซึ่งอาจนำไปสู่กระบวนการอักเสบของเซลล์บุผนังหลอดเลือด และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งได้</p> สมศักดิ์ ฟองสุภา Copyright (c) 2023 วารสารเทคนิคการแพทย์ https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmt-amtt/article/view/262000 Sat, 09 Sep 2023 00:00:00 +0700