การศึกษาความหนาของจอประสาทตาผู้ป่วยเบาหวานในประชากรไทย ณ โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
ความหนาของจอประสาทตา, เบาหวาน, ระดับฮีโมโกลบินเอวันซี, เครื่องตรวจความหนาจอประสาทตาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหนาของจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี (ค่า HbA1c < ร้อยละ 7) จำนวน 122 ราย และควบคุมได้ไม่ดี (ค่า HbA1c > ร้อยละ 7) จำนวน 122 ราย เปรียบเทียบกับคนปกติ (ค่า HbA1c < ร้อยละ 5.7)จำนวน 122 ราย ในประชากรไทย ช่วงอายุ 41-80 ปี ทั้งเพศชายและหญิง จำนวนรวม 366 คน ในผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกจักษุวิทยา โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นการศึกษาย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลจากเวชระเบียน (ตั้งแต่เดือน กันยายน พ.ศ. 2561 – กันยายน พ.ศ. 2563) โดยเก็บข้อมูลการวัดความหนาของจอประสาทตาด้วยเครื่องตรวจวิเคราะห์ภาพตัดขวางจอประสาทตาด้วยเลเซอร์ จากค่าการตรวจวัด 9 พารามิเตอร์ ได้แก่ Fovea, T Inner, S Inner, N Inner, Inf Inner, T Outer, S Outer, N Outer และ Inf Outer ผลการวิจัยพบว่า ความหนาของจอประสาทตาจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น และมีความแตกต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิง โดยในกลุ่มคนปกติ และกลุ่มที่ควบคุมเบาหวานได้ดีในช่วงอายุ 41-50 ปีและ 51-60 ปี เพศชายมีความหนาของจอประสาทตามากกว่าเพศหญิงร้อยละ 3.34 กลุ่มคนปกติเพศชายมีความหนาจอประสาทตาเฉลี่ย 274.66±23.89 ไมโครเมตร เพศหญิงเฉลี่ย 263.17±21.59 ไมโครเมตร เมื่อเปรียบเทียบความหนาของจอประสาทตาระหว่างกลุ่มคนปกติ กลุ่มเบาหวานควบคุมดี และกลุ่มเบาหวานควบคุมไม่ดีของกลุ่มตัวอย่าง ในช่วงอายุตั้งแต่ 41 – 80 ปี มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าความหนาจอประสาทตาใน 5 OCTพารามิเตอร์ ได้แก่ Fovea, T Outer, S Outer, N Outer และ Inf Outer มีแนวโน้มสูงขึ้นตามระดับของ HbA1c แต่เมื่อวิเคราะห์แยกตามช่วงอายุ พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเพียงบางช่วงอายุ โดยที่ตำแหน่ง Fovea ในช่วงอายุ 61-70 ปี พบความหนาของจอประสาทตาในกลุ่มคนที่เป็นเบาหวาน มีความหนาเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่เป็นเบาหวาน ในขณะที่ช่วงอายุ 71-80 ปี พบว่ามีความหนาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้พัฒนาฐานข้อมูลในงานนิติวิทยาศาสตร์ด้านการประเมินความหนาของชั้นจอประสาทตากับช่วงอายุในกลุ่มประชากรไทยเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มคนที่เป็นเบาหวานกับคนปกติ
References
Roberts DK, Lukic AS, Yang Y, Moroi SE, Wilensky JT, Wernick MN. Novel observations and potential applications using digital infrared iris imaging. Ophthalmic Surg Lasers Imaging 2009; 40: 207-16.
Benalcazar DP, Bastias D, Perez CA, Bowyer KW. A 3D iris scanner from multiple 2D visible light images. IEEE Access 2019; 7: 61461-72.
Hill RB. Retina identification. Biometrics: Personal identification in networked society. 1996: 123-41.
Davis NL, Wetli CV, Shakin JL. The retina in forensic medicine: Applications of ophthalmic endoscopy: The first 100 cases. Am J Forensic Med Pathol 2006; 27: 1-10.
Myers CE, Klein BE, Meuer SM, et al. Retinal thickness measured by spectral - domain optical coherence tomography in eyes without retinal abnormalities: the Beaver Dam Eye Study. Am J Ophthalmol 2015; 159: 445-56. e1.
Nieves-Moreno M, Martínez-de-la-Casa JM, Morales-Fernández L, Sánchez-Jean R, Sáenz-Francés F, García-Feijoó J. Impacts of age and sex on retinal layer thicknesses measured by spectral domain optical coherence tomography with Spectralis. PloS one 2018; 13: e0194169.
Song WK, Lee SC, Lee ES, Kim CY, Kim SS. Macular thickness variations with sex, age, and axial length in healthy subjects: a spectral domain - optical coherence tomography study. Investig Ophthalmol Vis Sci 2010; 5: 3913-8.
Guariguata L, Whiting DR, Hambleton I, Beagley J, Linnenkamp U, Shaw JE. Global estimates of diabetes prevalence for 2013 and projections for 2035. Diabetes Res Clin Pract 2014; 103: 137-49.
Kashani AH, Zimmer - Galler IE, Shah SM, et al. Retinal thickness analysis by race, gender, and age using Stratus OCT. Am J Ophthalmol 2010; 149: 496-502. e1.
Dumitrescu AG, Istrate SL, Iancu RC, Guta OM, Ciuluvica R, Voinea L. Retinal changes in diabetic patients without diabetic retinopathy. Rom J Ophthalmology 2017; 61: 249.
Jiang J, Liu Y, Chen Y, et al. Analysis of changes in retinal thickness in type 2 diabetes without diabetic retinopathy. J Diabetes Res 2018; 2018: 3082893.
Yamane T. Statistics: an introductory analysis by Taro Yamane. New York: Harper and Row; 1967.
Mintz HR, Waisbourd M, Kessner R, Stolovitch C, Dotan G, Neudorfer M. Macular thickness following strabismus surgery as determined by optical coherence tomography. J Pediatr Ophthalmol Strabismus 2016; 53: 11-5.
Sharma A, Agarwal P, Sathyan P, Saini V. Macular thickness variability in primary open angle glaucoma patients using Optical Coherence Tomography. J Curr Glaucoma Pract 2014; 8: 10.
Park HY, Kim IT, Park CK. Early diabetic changes in the nerve fibre layer at the macula detected by spectral domain optical coherence tomography. Br J Ophthalmol 2011; 95: 1223-8.
Pires I, Santos AR, Nunes S, Lobo C. Macular thickness measured by stratus optical coherence tomography in patients with diabetes type 2 and mild nonproliferative retinopathy without clinical evidence of macular edema. Ophthalmologica 2013; 229: 181-6.
Chanlalit W. Ocular complications from diabetes mellitus. J Med Health Sci 2016; 23: 36-45.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเทคนิคการแพทย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.