อุบัติการณ์ของการสร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมสใน Pseudomonas aeruginosa ที่แยกได้จากผู้ป่วยของสถาบันบำราศนราดูร

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ คำมะสอน บัณฑิตศึกษา สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • วรดา สโมสรสุข ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • ชลนันท์ ขัตติยเวช ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • เสกสรรค์ สโมสรสุข ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

Pseudomonas aeruginosa, Carba NP, ยีนคาร์บาพีนีเมส

บทคัดย่อ

เชื้อ Pseudomonas aeruginosa ที่สร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมส (CPPA) และดื้อต่อยากลุ่มคาร์บาพีเนม เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อในโรงพยาบาล  การดื้อต่อยากลุ่มคาร์บาพีเนมมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่นานขึ้น ดังนั้นเทคนิคการตรวจหาเชื้อที่ดื้อต่อยากลุ่มคาร์บาพีเนมที่รวดเร็วจึงมีความสำคัญต่อการรักษาที่เหมาะสม จุดมุ่งหมายของการศึกษานี้คือเพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการสร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมสใน P.seudomonas aeruginosa ที่แยกได้จากผู้ป่วยของสถาบันบำราศนราดูร ระหว่างปี พ.ศ. 2558–2563 ตัวอย่างเชื้อ P. aeruginosa ที่เก็บได้มีจำนวน 157 ไอโซเลตที่ไม่ซ้ำราย ประกอบด้วยเชื้อที่ดื้อต่อยากลุ่มคาร์บาพีเนม(CRPA) จำนวน 82 ไอโซเลต และเชื้อที่ไวต่อยากลุ่มคาร์บาพีเนม (CSPA) จำนวน 75 ไอโซเลต เชื้อทุกไอโซเลตผ่านการตรวจการดื้อต่อยากลุ่มคาร์บาพีเนมชนิด imipenem และ meropenem ด้วยวิธี disk diffusion method และการตรวจการสร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมสของเชื้อด้วยการทดสอบ Carba NP และเชื้อ CRPA จำนวน 82 ไอโซเลต ได้รับการตรวจสอบยีนคาร์บาพีนีเมส blaIMP, blaVIM และ blaNDM โดยเทคนิค PCR ผลการวิจัยพบว่าเชื้อ CSPA จำนวน 75 ไอโซเลต ไวต่อ imipenem และ meropenem ร้อยละ 100 ขณะที่เชื้อ CRPA ดื้อต่อ imipenem และ meropenem ร้อยละ 95.1 และ 97.6 ตามลำดับ เชื้อ CRPA 82 ไอโซเลต ตรวจพบยีนคาร์บาพีนีเมสยีน 42 ไอโซเลต (ร้อยละ 51.2) และการทดสอบ Carba NP ตรวจพบเชื้อสร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมสในเชื้อ 39 ไอโซเลต (ร้อยละ 47.6) และเชื้อ CPPA ที่แยกได้เกือบทั้งหมดสามารถตรวจจับได้ภายใน 5 นาที โดยการทดสอบ Carba NP มีความไวและความจำเพาะร้อยละ 88.1 และ 95.0 และค่าทำนายผลบวกลวงและค่าทำนายผลลบลวงเท่ากับร้อยละ 94.9 และ 88.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม มีเชื้อตรวจพบยีน blaNDMแต่ให้ผล CarbaNP เป็นลบ ภายใน 2 ชั่วโมง จำนวน 1 ไอโซเลต การวิจัยนี้พบว่า เชื้อ CRPA 44 ไอโซเลต (ร้อยละ 53.6) เป็นเชื้อที่สร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมส  ทั้งนี้ การทดสอบ Carba NP เป็นวิธีที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ในการแยกเชื้อดื้อต่อยากลุ่มคาร์บาพีแนมที่สร้างเอนไซม์ CPPA ออกจากเชื้อ P. aeruginosa ที่ดื้อต่อยากลุ่มคาร์บาพีแนมโดยไม่ใช้กลไกการสร้างเอนไซม์คาร์บาพีนีเมส

References

Phumart P, Phodha P, Thamlikitkul V, Riewpaiboon A, Prakongsai P, Limwat- tananon S. Health and economic impacts of antimicrobial resistant infections in Thailand: a preliminary study. J Health Syst Res 2012; 6: 352-60.

Bocharova Y, Savinova T, Lazareva A, et al. Genotypes, carbapenemase carriage, integron diversity and oprD alterations among carbapenem-resistant Pseudomonas aeruginosa from Russia. Int J Antimicrob Agents 2020; 55: 105899. doi:10.1016/j. ijantimicag.2020.105899

Feucherolles M, Cauchie HM, Penny C. MALDI-TOF mass spectrometry and specific biomarkers: potential new key for swift identification of antimicrobial resistance in foodborne pathogens. Microorganisms. 2019; 7: 593. doi:10.3390/microorganisms7120593

Wayne PA, Clinical and Laboratory Standards Institute. Performance Standards for Antimicrobial Disk Susceptibility Tests. CLSI M02, 13th ed. Clinical and Laboratory Standards Institute 2018.

Wayne PA, Clinical and Laboratory Standards Institute. Performance Standards for Antimicrobial Susceptibility Testing. CLSI M100, 32th ed. Clinical and Laboratory Standards Institute 2022.

Ellington MJ, Kistler J, Livermore DM, Woodford N. Multiplex PCR for rapid detection of genes encoding acquired metallo-beta-lactamases. J Antimicrob Chemother 2007; 59: 321-2.

Wang TH, Leu YS, Wang NY, Liu CP, Yan TR. Prevalence of different carbapen- emase genes among carbapenem- resistant Acinetobacter baumannii blood isolates in Taiwan. Antimicrob Resist Infect Control 2018; 7: 123. doi:10.1186/ s13756-018-0410-5

Bassetti M, Vena A, Croxatto A, Righi E, Guery B. How to manage Pseudomonas aeruginosa infections. Drugs Context 2018; 7: 1-18.

Biondo C. Bacterial antibiotic resistance: the most critical pathogens. Pathogens 2023; 12: 116. doi:10.3390/pathogens 12010116

El-Far A, Samir S, El-Gebaly E, et al. High rates of aminoglycoside methyltrans- ferases associated with metallo-beta- lactamases in multidrug-resistant and extensively drug-resistant Pseudomonas aeruginosa clinical isolates from a tertiary Care hospital in Egypt. Infect Drug Resist 2021; 14: 4849-58.

Tran HA, Vu TNB, Trinh ST, et al. Resistance mechanisms and genetic relatedness among carbapenem-resistant Pseudomonas aeruginosa isolates from three major hospitals in Hanoi, Vietnam (2011-15). JAC Antimicrob Resist 2021; 3: dlab103. doi:10.1093/jacamr/dlab103

Saengsuwan P, Kositpantawong N, Kawila S, Patugkaro W, Romyasamit C. Prevalence of carbapenemase genes among multidrug-resistant Pseudomonas aeruginosa isolates from tertiary care centers in Southern Thailand. Saudi Med J 2022 Sep; 43: 991-9.

Chong PM, McCorrister SJ, Unger MS, Boyd DA, Mulvey MR, Westmacott GR. MALDI-TOF MS detection of carbapenemase activity in clinical isolates of Enterobacteriaceae spp., Pseudomonas aeruginosa, and Acinetobacter baumannii compared against the Carba-NP assay. J Microbiol Methods 2015; 111: 21-3.

Bouslah Z. Carba NP test for the detection of carbapenemase-producing Pseudomonas aeruginosa. Med Mal Infect 2020; 50: 466-79.

Bernabeu S, Dortet L, Naas Thierry. Evaluation of the β-CARBATM test, a colorimetric test for the rapid detection of carbapenemase activity in Gram-negative bacilli, J Antimicrobial Chemotherapy 2017; 72: 1646-58.

Ahmad N, Ali SM, Khan AU. Detection of New Delhi Metallo-β-Lactamase Variants NDM-4, NDM-5, and NDM-7 in Enterobacter aerogenes Isolated from a Neonatal Intensive Care Unit of a North India Hospital: A First Report. Microb Drug Resist 2018; 24: 161-5.

Lee LY, Korman TM, Graham M. Rapid time to results and high sensitivity of the CarbaNP test on early cultures. J Clin Microbiol 2014; 52: 4023-6.

Osei Sekyere J, Govinden U, Essack S. Comparison of existing phenotypic and genotypic tests for the detection of NDM and GES carbapenemase-producing Enterobacteriaceae. J Pure Appl Microbiol 2016; 10: 2585-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-11

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ