อุบัติการณ์การติดเชื้อและซีโรทัยป์ไวรัสเดงกีในจังหวัดราชบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2555–2563

ผู้แต่ง

  • อริสรา โปษณเจริญ บัณฑิตศึกษา สาขาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • สุมาลี ชะนะมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • ภัทร วงษ์เจริญ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • สาริณี ชำนาญรักษา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • ลัดดาวัลย์ มีแผนดี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • วรารัตน์ แจ่มฟ้า สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • พรศิริ โสมาสา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • ฮุสนียะห์ วาเต๊ะ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • ศิริรัตน์ แนมขุนทด สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • นฤพงศ์ ภูนิคม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • พงศ์ศิริ ตาลทอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
  • วรดา สโมสรสุข ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี
  • เสกสรรค์ สโมสรสุข ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

เชื้อไวรัสเดงกี, ไข้เดงก, ไข้เลือดออกเดงกี, ซีโรทัยป์

บทคัดย่อ

โรคไข้เดงกี, ไข้เลือดออกเดงกี และไข้เลือดออกช็อก เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ที่มียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ไวรัสเดงกีประกอบด้วย 4 ซีโรทัยป์ คือ เดงกี-1,เดงกี-2, เดงกี-3 และเดงกี-4 จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งในพื้นที่ของประเทศไทยที่พบอุบัติการณ์ของไวรัสเดงกีสูงในทุกปี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงซีโรทัยป์ของไวรัสเดงกีจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ในจังหวัดราชบุรี ระหว่างปี พ.ศ.2555-2563 โดยศึกษาสารพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี real time RT-PCR จำนวน 1,027 ราย  พบผลบวกของเชื้อร้อยละ 37.6 – 74.7  สายพันธุ์ที่พบเรียงตามความชุกคือเชื้อเดงกี- 1 เชื้อเดงกี- 2  เชื้อเดงกี- 4 และเชื้อเดงกี-3 โดยพบร้อยละ 36.5, 26.3, 20.6 และ16.4 ตามลำดับ รวมทั้งมีการติดเชื้อร่วมกันของเชื้อเดงกี -2 และเดงกี-3 ร้อยละ 0.2  จึงเห็นได้ว่าไวรัสเดงกีที่ตรวจพบในจังหวัดราชบุรีมีการหมุนเวียนครบทั้ง 4 ซีโรทัยป์  โดยที่เชื้อเดงกี-1 พบได้ทุก ๆ ปี ในขณะที่เดงกี-3 และเดงกี- 4 เริ่มลดลงในช่วง 5 ปีหลัง (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559) ส่วนเชื้อเดงกี-2 มีจำนวนลดต่ำลง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป พบจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังศึกษาการติดเชื้อเดงกีจาก Antibody ด้วยวิธี Ab capture ELISA จำนวน 2,106 ราย พบผลบวกร้อยละ 48.6 – 95.9 ซึ่งเป็นการติดเชื้อครั้งแรกร้อยละ 0-20 และติดเชื้อเดงกีซ้ำร้อยละ 80-100 ข้อมูลที่ได้จากการศึกษานี้ทำให้ทราบสถานการณ์ รูปแบบการระบาด และข้อมูลซีโรทัยป์ของไวรัสเดงกีซึ่งจะช่วยให้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการควบคุมโรคไข้เลือดออกเด็งกี รวมไปถึงการวิจัยพัฒนาวัคซีนให้ครอบคลุมสายพันธุ์ของไวรัสเดงกีต่อไป

References

Thongcharoen P. Hemorrhagic fever. Bangkok: Aksorn Samai; 1977: p.188-226. (in Thai)

Henchal EA, Putnak JR. The dengue viruses. Clin Microbiol Rev 1990; 3: 376- 96.

Innis BL. Dengue and dengue hemor- rhagic fever. In: Porterfield JS editor. Kass Handbook of Infectious Diseases: Exotic Virus Infections. London: Chapman & Hall Medical; 1995: p.103-46.

Calisher CH, Karabatsos N, Dalrymple JM, et al. Antigenic relationships between flaviviruses as determined by cross- neutralization test with polyclonal antisera. J Gen Virol 1989; 70: 37-43.

Nimmannitya S. Dengue hemorrhagic fever: current issues and future research. Asian Oceanian J Paediatr Child Health 2002; 1: 1-21.

World Health Organization. Dengue Hemorrhagic Fever: diagnosis, treatment, prevention and control. 2nd ed. Geneva: World Health Organization; 1997.

World Health Organization. Prevention and control of dengue and dengue hemorrhagic fever. New Delhi: WHO Regional Office for South-East Asia; 1999.

Nguyen TKT, Do QH, Tran KT, Loung CQ. Predictive indicators for forecasting epidemic of dengue/dengue hemorrhagic fever through epidemiological, virological and entomological surveillance. Dengue Bull 1999; 23: 44-50.

Nimmannitya S, Kalayanaroojj S, Witthayasup A, editors. Guidelines for diagnosis and treatment of dengue hemorrhagic fever. 1st ed. Bangkok: Ministry of Public Health; 2542.

Yenchitsomanus PT, Sricharoen P, Jaruthasana I, et al. Rapid detection and identification of dengue viruses by polymerase chain reaction (PCR). Southeast Asian J Trop Med Public Health 1996; 27: 228-36.

Product Insert abTESTMDENV/CHIKU 5 qPCR II kit (V2.1), AITbiotech Pte Ltd, 2017.

Innis BL, Nisalak A, Nimmanitya S, et al. An enzyme-linked immunosorbent assay to characterize dengue infections where dengue and Japanese encephalitis co- circulate. Am J Trop Med Hyg 1989; 40: 418 -27.

Arbovirus section, Standard Operating Procedure 13-02-497 “Anti-dengue antibody detection by ELISA using tissue cultured antigen. Nonthaburi: National Institute of Health, Department of Medical Sciences; 1-11.

Parkash O, Shueb RH. Diagnosis of dengue infection using conventional and biosensor based techniques. Viruses 2015; 7: 5410-27.

Limkittikul K, Chanthavanich P, Lee KS., et al. Dengue virus seroprevalence study in Bangphae district, Ratchaburi, Thailand: A cohort study in 2012-2015. PLoS Negl Trop Dis 2022; 16: e0010021. doi:10.1371/ journal.pntd.0010021

Kerdpanich P, Kongkiatngam S, Buddhari D., et al. Comparative analyses of historical trends in confirmed dengue illnesses detected at public hospitals in Bangkok and northern Thailand, 2002- 2018. Am J Med Hyg 2021; 104: 1058-66.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Report of Dengue Hemorrhagic Fever Prophecy, 2021. (in Thai)

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Report of Dengue Hemorrhagic Fever Prophecy, 2017. (in Thai)

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Report of Dengue Hemorrhagic Fever Prophecy, 2019. (in Thai)

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Report of Dengue Hemorrhagic Fever Prophecy, 2015. (in Thai)

Liulak W, Saichaer P, Waidab W, et al. Prospective study of dengue in Bangkok during 2015-2016. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2017; 48: 33-8

Uttayamakul S, Nitiyanontakij R, Dedsatit S, Reawrang S, Suttha P, Moolasart V. Molecular laboratory testing for dengue serotypes at Bamrasnaradura Infectious Disease Institute. Bull Dept Med Sci 2019; 61: 31-9.

Poltep K, Phadungsombat J, Nakayama EE., et al. Genetic diversity of dengue virus in clinical specimens from Bangkok, Thailand, during 2018-2020: co-circula- tion of all four serotypes with multiple genotypes and/or clades. Trop Med Infect Dis 2021; 6: 162-72.

Chanama S, Anantapreecha S, Thongthai P, A-nuegoonpipat A, Panthuyosri N. Surveillance of dengue virus in four provinces of Thailand, 1999-2000. J Health Sci 2011; 10: 688-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-11

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ