การประเมินประสิทธิผลแนวทางการตรวจหาสารพันธุกรรม Human Papillomavirus 14 High Risk Types ด้วยวิธี Real Time PCR ร่วมกับการตรวจความผิดปกติทางเซลล์วิทยาและ Colposcopy

ผู้แต่ง

  • ศิริญญา เพชรพิชัย -
  • ณัฐพร คล้ายคลึง
  • อนุกูล บุญคง

คำสำคัญ:

โรคมะเร็งปากมดลูก, HPV DNA test, Colposcopy, Liquid-based cytology

บทคัดย่อ

การนำ HPV DNA test มาใช้ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทย เพื่อเพิ่มโอกาสในการตรวจพบโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาประสิทธิผลของวิธีการตรวจดังกล่าวในเขตสุขภาพที่ 3 การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการตรวจหาสารพันธุกรรม HPV genotype กับความผิดปกติทางเซลล์วิทยา ในกลุ่มหญิงไทยช่วงอายุ 30-60 ปี ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกในพื้นที่จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี ชัยนาท และกำแพงเพชร โดยใช้ข้อมูลปีงบประมาณ 2564 และแนวทางการตรวจ primary HPV test โดย HPV non 16/18 ทั้งหมด และตรวจคัดกรองความผิดปกติทางเซลล์วิทยา โดยวิธี liquid-based cytology (LBC) ร่วมด้วย ผลการศึกษาพบความผิดปกติทางเซลล์วิทยาร้อยละ 20.07 โดย 5 อันดับแรกที่พบคือ HPV 52, multiple HPV non 16/18, HPV  58, HPV 66 และ HPV 51 ที่ร้อยละ 5.18, 3.97, 2.42, 1.84 และ 1.38 ตามลำดับ และผลตรวจยืนยันด้วยวิธี colposcopy พบ positive predictive value (PPV) ของ HPV 16, HPV 18 และnon 16/18  ที่ร้อยละ 48.28, 61.54 และ 55.88 ตามลำดับ และพบว่า HPV 45, HPV 68 และHPV18 มีอัตราเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกชนิด adenocarcinoma ที่ร้อยละ 100, 33.33 และ 6.90 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการติดเชื้อ HPV 51 มีอัตราเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกชนิด squamous cell carcinoma (SCC) ที่ร้อยละ 11.11 แสดงว่าวิธีการดำเนินการดังกล่าวมีประสิทธิผลเพียงพอสำหรับการตรวจคัดกรอง และหากมีการติดตามผู้ป่วยที่ตรวจพบความผิดปกติให้เข้ารับการตรวจยืนยันอย่างครอบคลุมเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้มีโอกาสตรวจพบโรคมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ได้สูงขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-22

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ