การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านปฏิกิริยาไกลเคชัน และ ต้านการอักเสบของสมุนไพรไทยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
คำสำคัญ:
โรคเบาหวาน, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาไกลเคชัน, ฤทธิ์ต้านการอักเสบ, สมุนไพรไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาไกลเคชัน และฤทธิ์ต้านการอักเสบในสารสกัดจากพืชที่มีสรรพคุณรักษาโรคเบาหวาน ได้แก่ ใบกะเพรา ใบเตย ใบตำลึง วุ้นว่านหางจระเข้ ผลมะระขี้นก และใบชะพลู ที่เตรียม 2 วิธี คือ วิธีคั้นสดแล้วทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze-drying) และวิธีสกัดด้วยเอทานอลเข้มข้นร้อยละ 70 ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดเอทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าสารสกัดน้ำคั้นสด ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม สารสกัดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด คือ สารสกัดเอทานอลจากใบกะเพรา (IC50 = 7.39± 1.56 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ซึ่งออกฤทธิ์สูงกว่าสารมาตรฐาน butylatedhydroxytoluene (BHT) (IC50 = 78.56 ± 8.34 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ส่วนฤทธิ์ต้านไกลเคชันพบเฉพาะในสารสกัดเอทานอล เท่านั้น โดยสารสกัดเอทานอลจากใบตำลึง (0.1 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) มีร้อยละความสามารถต้าน ไกลเคชันสูงที่สุด คือ 36.86 ± 2.19 ซึ่งสูงกว่าของสารมาตรฐาน aminoguanidine (32.55 ± 1.56) สำหรับฤทธิ์ต้านการอักเสบ สารสกัดเอทานอลจากใบเตยหอมสามารถยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ไดถึงร้อยละ 88.6 ± 1.85 และมีฤทธต้านการอักเสบดีเทียบเท่าสารมาตรฐาน aminoguanidine (89 ± 4.36) นอกจากนี้ผลทดสอบความสามารถยับยั้งการผลิตพรอสตาแกลนดิน E2 พบว่าสารสกัดเอทานอลจาก ใบชะพลูมีฤทธิ์ยับยั้งได้ร้อยละ 81.7 เมื่อเทียบกับสารมาตรฐาน indomethacin ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งร้อยละ 85.1 ผลจากการศึกษานสามารถน ไปพัฒนาต่อยอดการศึกษาทางยาและอาหารเสริมซงจะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน