การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพยาธิ Strongyloides stercoralis เพื่อใช้ยืนยันแหล่งที่มาของเชื้อและความสัมพันธ์ของข้อมูลผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • ดุจดาว ทรงธรรมวัฒน์

คำสำคัญ:

S. stercoralis, Phylogenetic tree, ITS1 gene, Neighbor-joining (NJ), Cluster

บทคัดย่อ

โรค Strongyloidiasis เกิดจากพยาธิ Strongyloides stercoralis ทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลก 100-300 ล้านคน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง phylogenetic tree ของ S. stercoralis กับข้อมูลของผู้ป่วย ถิ่นที่อยู่อาศัย การวินิจฉัยของแพทย์ รวมทั้งข้อมูลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นประโยชน์อย่างมากในทางระบาดวิทยา แต่ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลของผู้ป่วยกับ phylogenetic tree ของ S. stercoralis ในประเทศไทย  ดังนั้นงานวิจัยนี้ ได้เก็บตัวอย่างอุจจาระที่พบการติดพยาธิ S. stercoralis จากโรงพยาบาลวชิรพยาบาลและโรงพยาบาลราชบุรีรวม 16 ตัวอย่างเพื่อนำไปศึกษาทางชีวโมเลกุลด้วยเทคนิค polymerase chain reaction (PCR) โดยมี internal transcribed spacer 1 (ITS1) เป็นยีนเป้าหมาย แล้วสร้าง phylogenetic treeเพื่อใช้ในการแบ่งกลุ่มพยาธิ และวิเคราะห์ประวัติผู้ป่วย ร่วมกับผลตรวจ CBC เพื่อหาความสัมพันธ์กับกลุ่มของพยาธิ จากผลการศึกษา phylogenetic tree ที่สร้างขึ้นสามารถแบ่งกลุ่มพยาธิ S. stercoralis ได้เป็น 12 คลัสเตอร์ (clusters) (คลัสเตอร์ I-XII) จากตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครฯ ร้อยละ 43.7 กลุ่มที่อยู่ต่างจังหวัดแล้วย้ายมาทำงานที่กรุงเทพมหานครฯ ร้อยละ 25.0 และกลุ่มที่มาจากรพ.ราชบุรี ร้อยละ 31.3 คลัสเตอร์ ที่พบมากกว่าหนึ่งแหล่งคือ คลัสเตอร์ X ในผู้ป่วยส่วนมากซึ่งอยู่ในช่วงอายุ  < 60 ปี (ร้อยละ 75.0) และพบร่วมกับภาวะ unstable angina, gastrointestinal symptoms, pulmonary symptoms และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง คลัสเตอร์ V, IX, X และ XI พบในผู้ป่วยที่มีอายุ > 60 ปี เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอายุ < 60 ปีและกลุ่มอายุ > 60 ปี กับอาการที่แสดงในกลุ่มของโรค พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยมีค่า p-value เท่ากับ 0.59 (p >0.05) คลัสเตอร์ X และ XI ทำให้เกิดภาวะ leukocytosis 2 ราย คลัสเตอร์ IV, VI, IX, X และ XI ทำให้เกิดภาวะ neutrophilia 5 ราย  คลัสเตอร์ III, V, VII และ XII ทำให้เกิดภาวะ eosinophilia 4 ราย และ คลัสเตอร์ VII พบในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) ซึ่งทำให้มีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียร่วม  โดยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆสอดคล้องกับโรคที่พบร่วมกับการติดพยาธิ S. stercoralis ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ สรุปผลการศึกษา phylogenetic tree สามารถจำแนกกลุ่มพยาธิได้ 12 คลัสเตอร์  งานวิจัยนี้มีประโยชน์ทางด้านระบาดวิทยาในการจัดแบ่งกลุ่มของพยาธิ S. stercoralis  ใช้ยืนยันแหล่งที่มาของพยาธิและความสัมพันธ์ของข้อมูลผู้ป่วยกับกลุ่มของพยาธิ S. Stercoralis

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-02-24

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ