ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายนิวคลีโอไทด์เดี่ยวชนิด G-201A/C-1596T ในยีน CXCL10 กับการติดเชื้อไวรัสตับ อักเสบบีและซีในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีชาวไทย

ผู้แต่ง

  • จรีภรณ์ เอกวัฒน์ชัย ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญ:

ไวรัสเอชไอวี, ไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี C-X-C motif chemokine 10 (CXCL10), สนิปส์ G-201A, สนิปส์ C-1596T

บทคัดย่อ

การวิจัยที่ผ่านมาได้มีการแสดงว่า มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีใน อัตราที่สูง และข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงทางพันธุกรรมก็ยังไม่ชัดเจน สารหลั่งคีโมคายน์ ชนิด C-X-C motif chemokine 10 (CXCL10) จัดเป็นสารหลั่งที่มีบทบาทสำาคัญในโรคไวรัสตับอักเสบ และพบว่าความ หลากหลายนิวคลีโอไทด์เดี่ยวหรือสนิปส์ในยีน CXCL10 ชนิด G-201A และ C-1596T มีผลกระทบต่อ ระดับการสร้างสารหลั่ง CXCL10 การวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถี่จีโนไทป์และอัลลีลของ สนิปส์ G-201A และ C-1596T และผลกระทบของสนิปส์ทั้งสองต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ใน กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีชาวไทย โดยเป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางในกลุ่มผู้ติดเชื้อจำานวน 200 ราย ที่พบว่า มีการติดเชื้อร่วมกับไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และติดเชื้อร่วมกันสามชนิด ในอัตราร้อยละ 9.0, 9.0 และ 0.6 ตามลำาดับ และมีผู้ที่มีค่าเอนไซม์ตับสูงอยู่ถึงร้อยละ 29 การศึกษาครั้งนี้ นำาตัวอย่างดีเอ็นเอ มาตรวจจีโนไทป์โดยวิธี polymerase chain reaction restriction fragment length polymorphism (PCR- RFLP) และตรวจยืนยันโดยวิธี DNA sequencing จากผลการตรวจพบว่าสนิปส์ G-201A และ C-1596Tมีลักษณะทถี่ายทอดไปด้วยกันอย่างสมบูรณ์ โดยความถของจีโนไทป์ AA/TT, GA/CT และ GG/CC เท่ากับ0.010, 0.225 และ 0.765 และความถี่อัลลีล A/T และ G/C เท่ากับ 0.122 และ 0.878 ตามลำาดับ การ วิเคราะห์ด้วยสถิติไคสแควร์พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างสนิปส์ทั้งสองกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี และระดับเซลล์ CD4+  ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มนี้ ผลการศึกษาครั้งนี้ช่วยเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับ กลไกระดับโมเลกุลทางพันธุกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคตับในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-04

How to Cite

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ