ความชุกและแบบแผนความไวต่อสารต้านจุลชีพของเชื้อ Streptococcus suis ที่พบในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • นิตยา สิงห์พลทัน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

Streptococcus suis, แบบแผนความไวต่อสารต้านจุลชีพ

บทคัดย่อ

 การติดเชื้อ Streptococcus suis เป็นสาเหตุของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสโลหิต และทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยิน ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่รวดเร็วเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต โดยมีรายงานความชุกสูงในภาคเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันพบมีรายงานเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค การศึกษานี้ได้ทำการศึกษาความชุกและแบบแผนความไวต่อสารต้านจุลชีพของเชื้อ S.suis ที่พบในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาใช้ข้อมูลย้อนหลัง รวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา เดือนมกราคม พ.ศ.2555 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2559 รวมระยะเวลา 5 ปี โดยในปี พ.ศ.2555 พบ 36 สายพันธุ์ (ร้อยละ 0.10) ปี พ.ศ.2556 พบ 26 สายพันธุ์ (ร้อยละ 0.06)ปี พ.ศ.2557 พบ 45 สายพันธุ์ (ร้อยละ 0.11 ) ปี พ.ศ.2558 พบ 60 สายพันธุ์ (ร้อยละ 0.14) และปี พ.ศ.2559 พบ 73 สายพันธุ์ (ร้อยละ 0.16) โดยส่วนใหญ่แยกเชื้อได้จากเลือด (ร้อยละ 75) รองลงมาเป็นน้ำไขสันหลัง และมีเพียง 4 สายพันธุ์ที่แยกได้จากสารคัดหลั่งอื่นๆ  พบผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 78) โดยอายุเฉลี่ยในเพศชายคือ 58 ปี และ 65 ปี ในเพศหญิง ผลการทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพพบว่าให้ผลความไวดีต่อยาที่ทดสอบทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ Penicillin, Ceftriaxone และ Vancomycin แม้จะพบว่ายา Penicillin มีความไวลดลง อย่างไรก็ตาม ยา Penicillin ก็เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อนี้ได้ผลดีในปัจจุบัน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28

How to Cite

ฉบับ

บท

บทความวิจัยอย่างสั้น