ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ตำบลวังสะพุง จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร , ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ทัศนคติต่อการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร ทัศนคติต่อการบริโภคอาหาร กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุตำบลวังสะพุง จังหวัดเลย จำนวน 254 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 หาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัยได้ค่า KR-20 ส่วนของความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเท่ากับ 0.84 ค่า Cronbach Alpha Coefficient ของทัศนคติต่อการบริโภคอาหารเท่ากับ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารเท่ากับ 0.82 และ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 63.0) มีทัศนคติต่อการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 93.3) และพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 99.2) ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์เชิงลบกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ (r = -.158, p = 0.012) ทัศนคติต่อการบริโภคอาหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ (r = .506, p < 0.001) จากการศึกษาในครั้งนี้ควรมีนโยบายหรือกิจกรรมการส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการบริโภคอาหาร เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสม นำไปสู่การมีสุขภาพและภาวะโภชนาการที่ดีต่อไป
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน); 2566. 14-21.
ชวิศา แก้วอนันต์. โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 12(2): 112-9.
เหมือนแพร รัตนศิริ. โภชนาการเพื่อผู้สูงอายุ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2561; 11(2): 221-8.
เกณิกา จันชะนะกิจ. อาหารและโภชนาการสาหรับผู้สูงอาย. วารสาร Mahidol R2R e-Journal 2559; 3(2): 1-11.
วันเพ็ญ นาโสก, ณิตชาธร ภาโนมัย. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2562; 14(49): 94-105.
กามีละห์ ยะโกะ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในเขตตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 2561; 11(2): 135-43.
ณฐกร นิลเนตร, สุขศิริ ประสมสุข, เพ็ญวิภา นิลเนตร. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวานเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2567; 18(1): 1-12.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. รายงานผลการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ปี 2566 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2567]. แหล่งข้อมูล: https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_screen
ฐิตินันท์ ดวงจินา, ศิริรัตน์ ปานอุทัย. การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ. พยาบาลสาร 2563; 47(3): 469-80.
กฤติน ชุมแก้ว, ชีพสุมน รังสยาธร. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ในจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ 2557; 35(1): 16-29.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2556; 16(2): 9-18.
Bloom BS. Handbook on formation and Summative Evaluation of Student Learning. New York. McGraw-Hill Book Company; 1971.
Best JW, & Kahn JV. Research in Education. Pearson India; 2006.
ภาพร คล่องกิจเจริญ, วศินา จันทรศิริ, ศริศักดิ์ สุนทรไชย, ภารดี เต็มเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของผู้สูงอายุที่มาใช้บริการในคลินิกเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2562; 15(1): 33-53.
สุดาพร ราชาวงศ์, จารุณี จันทร์เปล่ง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ ในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบ้านนา จังหวัดนครนายก. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ 2566; 16(1): 138-50.
ฐนิต วินิจจะกูล, จินต์จุฑา ประสพธรรม, ญาณิศา พุ่มสุทัศน์, ภาสกร สุระผัด. การทบทวนความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับโภชนาการและการกาหนดอาหารในผู้สูงอายุ. วารสารโภชนาการ 2563; 55(1): 41-52.
มาลี คำคง, มาริสา สุวรรณราช, สกุนตลา แซ่เตียว. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุโดยใช้ “แนวทางอาหารของแม่” ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา : กรณีศึกษาชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561; 5(3): 53-68.
สุพรรณี พฤกษา, สุวรีย์ ศรีปูณะ. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีในหมู่บ้านวัฒนธรรมนาอ้อ ตำบลนาอ้อ จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2560; 12(42): 57-67.
Pruksa S. Food consumption behaviours and associated personal and socio-economic factors in elderly adults, Northeastern Thailand. Malaysian Journal of Nutrition 2020; 26(2): 203-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม