ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความปลอดภัยเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร ภายใต้การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
เกษตรกร, การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ , ความปลอดภัย , เอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสบทคัดย่อ
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในอาหารเป็นหนึ่งในเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งและปัญหาสุขภาพที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความปลอดภัยเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร ภายใต้การดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ในกลุ่มเกษตรกร จำนวน 270 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเป็นระบบ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกฉบับย่อ (WHOQOL – BREF – THAI) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 และทำการตรวจระดับความปลอดภัยเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดด้วยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase reactive paper) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Fisher’s exact testผลการศึกษา พบว่า ความชุกของระดับความปลอดภัยเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือด อยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 22.22 ระดับปลอดภัย ร้อยละ 38.52 ระดับมีความเสี่ยง ร้อยละ 29.63 และ ระดับไม่ปลอดภัย ร้อยละ 9.63 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความปลอดภัยเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกร คือ สิทธิ์การรักษาพยาบาล (p-value=0.033) การสูบบุหรี่ (p-value=0.012) การดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลัง (p-value=0.010) และประวัติโรคประจำตัว (p-value=0.034) จึงควรส่งเสริมความรอบรู้เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของเกษตรกรที่มีระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดอยู่ในระดับมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย นำไปสู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระดับพื้นที่ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอฆ้องชัยต่อไป
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย, และ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: คู่มือแนวทางการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561; 2561.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. การสาธารณสุขไทย 2559-2560. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
มยุรี สุวรรณโคตร. ข้อมูลประเด็น พชอ. ดีเด่นผลลัพธ์เชิงประจักษ์. พชอ. ฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์; 2565.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการเฝ้าระวังจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมโรคและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประจำปี 2563 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2566]. แหล่งข้อมูล: https://apps-doe.moph.go.th/boeeng/download/AW_AESR_NCD_2563.pdf.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center: HDC). รายงานการตรวจคัดกรองเพื่อหาความเสี่ยงจากสารกำจัดศัตรูพืช ในประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป 2563 - 2565 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ15 กรกฎาคม 2566]. แหล่งข้อมูล: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68&id=dd45886fb33ececf637145b7561ec244
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมปี 2560 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2566]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/doed/pagecontent.php?page=888&dept=doed.
Wayne, W. D. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences 6th ed. New York: John Wiley & Sons; 1995.
ปรียะพร ระมัยวงศ์ และ เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอ เรสในเลือดของเกษตรกรในเขตพื้นที่ตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2563;13(4):1-13.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒน์สกุล, และ วนิดา พุ้มไพศาลชัย: เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่; 2540.
เปียวิภา งอมสงัด, ปกกมล เหล่ารักษาวงศ์ และ อารยา ประเสริฐชัย. ปัจจัยที่มีความสมัพันธ์กับระดับความปลอดภัยเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดเกษตรกรอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2552;15(1): 98-109.
ยุวยงค์ จันทรวิจิตร, ชัชวาลย์ จันทรวิจิตร, อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, ประภาดา รักมีศรี, และ นุชยงค์ เยาวพานนท์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับโคลินเอสเตอเรสในเกษตรกร. เชียงใหม่เวชสาร 2564;60(4):629-41.
ลักษณีย์ บุญขาว และ วาริศิลป์ บัวเขียว. ความชุกของซีรั่มโคลีนเอสเตอเรสผิดปกติในกลุ่มเกษตรกรปลูกผักในพื้นที่แห่งหนึ่งจังหวัดอุบลราชธานี. Naresuan Phayao Journal 2563;13(3):59-65.
สิริภัฑณ์กัญญา เรืองไชย และ ยรรยงค์ อินทร์ม่วง. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบในตำบลห้วยหลัว อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554;18(1):48-60.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แนวทางการดำเนินงานเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2553.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การศึกษาผลกระทบจากการใช้สารเคมีอันตรายที่ใช้ในภาคเกษตรกร (ไกลโฟเสต) และค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาฟื้นฟูสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร; 2565.
วฤณนา วิเศษไพฑูรย์, อารีรัตน์ มูลสาร, และ วรรณา วรรณศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลกระทบจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในเขตอำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา 2563; 7(2): 289-300.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม