การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของ ภาคใต้ฝั่งอันดามันตอนล่าง: กรณีศึกษาเกาะกลางและเกาะสุกร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การจัดการขยะมูลฝอย, แหล่งท่องเที่ยวชุมชน, ภาคใต้ฝั่งอันดามันตอนล่างบทคัดย่อ
เกาะกลาง จังหวัดกระบี่ และเกาะสุกร จังหวัดตรัง เป็นเกาะภายใต้การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม และอยู่ในแผนปฏิบัติการ "เกาะสะอาด" ของทะเลอันดามัน การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของภาคใต้ฝั่งอันดามันตอนล่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ครัวเรือนของเกาะกลาง จำนวน 334 ครัวเรือน และเกาะสุกร จำนวน 310 ครัวเรือน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามที่พัฒนาตามกรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมของโคเฮนและอัฟฮอฟ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนของเกาะกลางภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเกาะสุกรอยู่ในระดับปานกลางและต่ำ เมื่อพิจารณารายละเอียดรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในลำดับแรกของเกาะกลางและเกาะสุกร คือด้านการปฏิบัติ ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.77 (SD = 0.54) และค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.65 (SD = 0.23) ตามลำดับ รองลงมาคือด้านการรับผลประโยชน์ ค่าคะแนนเฉลี่ยของเกาะกลางเท่ากับ 2.83 (SD = 0.64) และค่าคะแนนเฉลี่ยของเกาะสุกร เท่ากับ 2.56 (SD = 0.38) ส่วนด้านที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในลำดับสุดท้าย คือด้านการประเมินผล (Evaluation) คะแนนเฉลี่ยของเกาะกลางเท่ากับ 2.24 (SD = 0.50) และเกาะสุกกรเท่ากับ 1.86 (SD = 0.54) ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของพื้นที่เกาะด้วยการเสริมสร้างความรู้และความตระหนักและสนับสนุนปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอย
References
กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม;2566.
วิลาวรรณ น้อยภา, ประดิษฐ์ บุญปลอด. ขยะและขยะพลาสติกเกาะลันตา: ปัญหาที่รอการมีส่วนร่วมกันแก้ไข. Thai SCP Network Newsletter. 2565; 2(5): 7-8.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. สถานภาพขยะทะเล (2564) [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565] แหล่งข้อมูล : https://km.dmcr.go.th/c_260/d_19695
Hengstmann E, Gräwe D, Tamminga M, Fischeret EK. Marine litter abundance and distribution on beaches on the Isle of Rügen considering the influence of exposition, morphology and recreational activities. Marine Pollution Bulletin. 2016; 115(1–2): 297–306.
Zhang Y, Leu Y-R, Aitken RJ, Riedike M. Inventory of engineered nanoparticle-containing consumer products available in the Singapore retail market and likelihood of release into the aquatic environment. Int. J. Environ. Res. Public Health. 2015; 12: 8717–8743.
Jambeck JR, Geyer R, Wilcox C, Siegler TR, Perryman M, Andrady A, Narayan R, Law KL. Marine pollution. Plastic waste inputs from land into the ocean. Science. 2015; 347(6223):768-71.
Veiga JM, Fleet D, Kinsey S, Nilsson P, Vlachogianni T, Werner S, et al. Identifying sources of marine litter. MSFD GES TG Marine Litter Thematic Report. 2016.
เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์, นิติวงศ์ เทพวาณิชย์, วิภาดา ลลิตภัทรกิจ. วิกฤตขยะทะเลไทย…ใครว่าเรื่องเล็ก. จดหมายข่าวประชาคมวิจัย. 2560; 136(23).
Mamun AA, Prasetya TAE, Dewi ID, Ahmad M. Microplastics in human food chains: Food becoming a threat to health safety. 2023; 858.
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. การบริหารจัดการขยะทะเล [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566] แหล่งข้อมูลhttps://projects.dmcr.go.th/miniprojects/198/news/367/detail/49679.
องค์การบริหารส่วนตำบลคลองประสงค์. ข้อมูลทั่วไปของเกาะกลาง ตำบลคลองประสงค์ [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2565] แหล่งข้อมูล:https://klongprasong.go.th/default.asp
องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร. ข้อมูลทั่วไปของเกาะสุกร [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้น 12 มกราคม 2565] แหล่งข้อมูล:http://www.kohsukorn.go.th/index.php
กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, อัญชลี พงศ์เกษตร, ธนปนันท์ อัครวีรวัฒน์, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ, เสาวลักษณ์ คงสนิท, วิทยา หลูโป. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการศึกษาและวิเคราะห์ปริมาณ องค์ประกอบทางกายภาพ และการจัดการขยะมูลฝอยในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนของภาคใต้ฝั่งอันดามันตอนล่าง. ตรัง. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก; 2566.
Cohen JM, Uphoff, N.T. Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University; 1981.
Yamane, T. Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row; 1973.
บุญเรียง ขจรศิลป์. วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาการศึกษา; 2534.
Best JW. Research in Education. 3 rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice. Hall Inc; 1981.
Clinch JJ, Keselman HJ. Parametric alternatives to the analysis of variance. Journal of educational statistics. 1982; 7(3): 207-14.
จงภร มหาดเล็ก, ปิยะวดีกิ่งมาลา. การจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะนกแบบมีส่วนร่วมของชุมชนท่าข้ามในเขตเทศบาลตําบลท่าข้าม อําเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 2563; 12(2): 297-311.
นฤนาท ยืนยง, พิชชานาถ เงินดีเจริญ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2565; 12(2): 279-97.
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย. 12 เกาะ 12 แนวปฏิบัติในการจัดการขยะ. กรุงเทพฯ: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย; 2566.
เขตสุขภาพเพื่อประชาชนภาคใต้. กติการ่วมของชุมชนเพื่อการจัดการขยะบนเกาะสุกร [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566] แหล่งข้อมูล:https://www.ahsouth.com/paper/785.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม