การบำบัดน้ำเสียจากการซักฟอกโดยใช้ผักตบชวาสายพันธุ์ Eichhornia crassipes

ผู้แต่ง

  • กรานติยา ศิริชัยวัฒนกุล หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • วัชรธร คูตระกูล หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ศิริธร จันทวี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุภาณี จันทร์ศิริ กลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สิทธิชัย ใจขาน กลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การบำบัดน้ำเสีย, ผักตบชวา, การซักรีด, ผงซักฟอก

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียทางกายภาพจากสถานประกอบการซักรีดแห่งหนึ่งโดยใช้ผักตบชวาสายพันธุ์ Eichhornia crassipes โดยทำการทดลองบำบัดน้ำเสียในถังขนาด 42 x 59 x 33.5 เซนติเมตร โดยเติมน้ำเสียจากการซักรีด 45 ลิตร/ถัง การทดลองประกอบด้วยชุดควบคุม (ไม่มีการเติมผักตบชวา) และชุดทดลองผักตบชวาที่มีค่าความหนาแน่นของพืช 8 กิโลกรัมน้ำหนักเปียกต่อตารางเมตร ได้แก่ ชุดทดลองผักตบชวาขนาดเล็ก (ความยาว 30-50 เซนติเมตร) และชุดทดลองผักตบชวาขนาดใหญ่ (ความยาว 51-80 เซนติเมตร) ใช้ระยะเวลาในการบำบัดภายใต้สภาวะธรรมชาติ 28 วัน เก็บข้อมูลคุณภาพน้ำ 6 พารามิเตอร์ ได้แก่ ความเป็นกรดและด่าง สี ความขุ่น ของแข็งทั้งหมด ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด และของแข็งละลายน้ำทั้งหมด ทุก 7 วัน และเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตของผักตบชวาโดยการชั่งน้ำหนักทุก 5 วัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ชุดทดลองผักตบชวาขนาดใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโต 0.012-0.028 กิโลกรัม/วัน มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการบำบัดน้ำเสียในพารามิเตอร์ ความเป็นกรด-ด่าง (19.37±0.14%) ความขุ่น (94.65±0.25%) ของแข็งแขวนลอย (22.65±10.75%) และของแข็งละลายน้ำ (53.84±1.34%) ดีกว่าชุดทดลองผักตบชวาขนาดเล็กและชุดควบคุม โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) จากผลการทดลองนี้สรุปได้ว่า การใช้ผักตบชวาสามารถใช้ในการบำบัดน้ำเสียจากการซักฟอกได้ แต่ต้องอาศัยการควบคุมการหมุนเวียนของน้ำเสียและการกำจัดผักตบชวาที่ตายออกไป

References

วรชัย รวบรวมเลิศ, พิมพ์ทอง ทองนพคุณ. เทคนิคการทำพาติน่าด้วยสารเคมีในชีวิตประจำวันประเภทสารทำความสะอาดสู่การออกแบบเครื่องประดับ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 2560; 24(1):102-10.

Slamet A, Tangahu BV, Yuniarto A. The effectiveness of cement lime to reduce detergents content in domestic wastewater. IJET. 2018; 7(4):6327-31.

United States Environmental Protection Agency. Laundry Wastewater n.d. [internet]. [cited 2 Feb 2023]. Available form: https://www.epa.gov/laws-regulations/summary-clean-water-act

จิตติมา จารุเดชา [อินเตอร์เน็ต]. การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยถังสำเร็จรูป; 2565 [สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2565] แหล่งข้อมูล:https://datacenter.deqp.go.th/media/images/5/65/QR_การบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยถังสำเร็จรูป_ok.pdf

Tangahu BV, Ningsih DA, Kurniawan SB, Imron MF. Study of BOD and COD removal in batik wastewater using scirpus grossus and iris pseudacorus with Intermittent Exposure System. JEE. 2019; 20(5):130-34.

Jardak K, Drogui P, Daghrir R. Surfactants in aquatic and terrestrial environment: occurrence, behavior, and treatment process. ESPR. 2016; 23(4):3195-216.

Sheth KN, Patel M, Desai MD. A study on characterization & treatment of laundry effluent. IJIRST. 2017; 4(1):50-5.

Badmus SO, Amusa HK, Oyehan TA, Saleh TA. Environmental risks and toxicity of surfactants: overview of analysis, assessment, and remediation techniques. ESPR. 2021; 28(44):62085-104.

Daniel EGS, editor. Effect of waste laundry detergent industry against mortality and physiology index of Nile tilapia (Oreochromis niloticus). Proceedings of the 25th Biennial Asian Association for Biology Education Conference; 2014. Aug 13-16; Malaya, Malaysia University of Malaya; 2015. P. 822-28.

วรายุส วรรณวิไล. การบำบัดน้ำทิ้งจากกิจกรรมซักรีด. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2542.

Lynch WO, Sawyer CN. Physical Behavior of Synthetic Detergents. Preliminary Studies on Frothing and Oxygen Transfer. New York (NY): John Wiley & Sons, Inc; 1954. 1193-200.

ธัญวรัตน์ ตู้ทอง. รายงานฉบับสมบูรณ์ประสิทธิภาพระบบบึงประดิษฐ์แบบพืชลอยน้ำ โดยใช้ผักตบชวาและจอก เพื่อบำบัดน้ำเสียจากการซักผ้า. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2562.

Crites R, Tchobanoglous G, Small and Decentralized Wastewater Management Systems: Mechanical Engineering Series. New York: Mc Graw-Hill; 1998.

Kanabkaew, T, Puetpaiboon, U. Aquatic plants for domestic wastewater treatment: Lotus (Nelumbo Nucifera) and Hydrilly (Hydrilla verticillata) systems. Songklanakarin J.Sci.Technol. 2004; 26(5):749-56.

Marschner H. Mineral nutrition of higher plants (Vol. 2). Amsterdam: Academic Press; 2012.

Taiz L, Zeiger E. Plant physiology. 5th ed. Sunderland: Sinauer Associates; 2010.

Ram R. Water hyacinth as a wastewater treatment option: A review. JECE. 2019; 7(3):103899.

อภิชัย เชียร์ศิริกุล. การบำบัดน้ำเสียจากที่พักอาศัยด้วยบ่อผักตบชวา. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2533.

ส่วนน้ำเสียชุมชน สำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ. คำแนะนำในการจัดการน้ำเสียสำหรับสถานบริการซักอบรีด. กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมมลพิษ; 2565.

สุทธิดา พุทไธสง, ปวีณา แอบเพชร, รวินิภา ศรีมูล. ประสิทธิภาพของผักตบชวาและจอกในการบำบัดน้ำเสียชุมชนด้วยระบบการปลูกแบบไร้ดินจำลอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2564; 40(6):415-21.

Environmental Protection Agency. pH in Drinking Water 2021 [Internet]. [cited 2 Feb 2023]. Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/wash-documents/wash-chemicals/ph.pdf?sfvrsn=16b10656_4

สําอาง หอมชื่น, กิตติ เอกอําพน. การบําบัดน้ำเสียจากโรงงานเยื่อกระดาษโดยใช้กกกลมและผักตบชวา.เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 24 สาขาวิศวกรรมศาสตร์; 27-29 มกราคม 2529 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2529. 1-18.

วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์, ถิรพงษ์ ถิรมนัส, ธวัชชัย เนียมวิฑูรย์. การปรับปรุงคุณน้ำเสียจากที่พักอาศัยโดยระบบสระพักน้ำผันสภาพร่วมกับการใช้ผักตบชวา. วารสารวิจัย มข. 2540; 2(2):72-85.

ธนิยา เกาศล. การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้พืชน้ำร่วมกับระบบบ่อบำบัดน้ำเสียในการบำบัดน้ำเสียชุมชน : กรณีศึกษาน้ำเสียชุมชนจากเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2545.

ลำใย ณีรัตนพันธุ์, วิยะดา มงคลธนารักษ์, สมศักดิ์ อินทมาต. การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและกลุ่มสิ่งมีชีวิตบริเวณรากพืชในการบำบัดน้ำทิ้งด้วยผักตบชวา. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น 2557; 36(1):83-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-09

How to Cite

ศิริชัยวัฒนกุล ก., คูตระกูล ว., จันทวี ศ., จันทร์ศิริ ส., & ใจขาน ส. . (2023). การบำบัดน้ำเสียจากการซักฟอกโดยใช้ผักตบชวาสายพันธุ์ Eichhornia crassipes. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(2), 114–125. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/260964