การรับรู้ปัจจัยเสี่ยงหกล้มและพฤติกรรมป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ 60 -69 ปี ในบริบทชุมชนเมือง จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ณีรนุช วรไธสง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • จิราภรณ์ จำปาจันทร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การรับรู้ , ปัจจัยเสี่ยงหกล้ม, พฤติกรรมป้องกันการหกล้ม , ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อประเมินสัดส่วนการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงหกล้ม พฤติกรรมป้องกันการหกล้ม และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงหกล้ม พฤติกรรมป้องกันการหกล้ม กับการหกล้มในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 60 -69 ปี จำนวน 140 คน ที่อยู่ในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลธาตุเชิงชุม เขตเทศบาลนครสกลนคร จังหวัดสกลนคร สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงหกล้ม และพฤติกรรมป้องกันการหกล้ม พัฒนาโดยผู้วิจัย มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.79 และ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงหกล้ม พฤติกรรมป้องกันการหกล้มกับการหกล้มในผู้สูงอายุด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกส์ (Binary logistic regression) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.43 มีอายุเฉลี่ย 65.30 ปี (S.D.= 2.88) มีโรคประจำตัวร้อยละ 61.42 กลุ่มตัวอย่างมีประวัติหกล้มร้อยละ 17.14 สัดส่วนการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงหกล้มมีระดับไม่เพียงพอร้อยละ 50.70 (95%CI 41.72 to 58.28) มีพฤติกรรมป้องกันการหกล้มต่ำร้อยละ 74.30 (95%CI 66.22 to 81.29) และพบว่าการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงหกล้มไม่เพียงพอเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการหกล้ม (OR = 3.56, 95%CI 1.32 to 9.63, p=0.012) บุคลากรสุขภาพควรจัดโปรแกรมเพิ่มการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงหกล้มสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน แนวทางการจัดการปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการหกล้ม เพื่อลดความเสี่ยงและความรุนแรงจากการหกล้ม

References

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สินทวีการพิมพ์ จำกัด; 2562.

World Health Organization. WHO global report on falls prevention in older age. Geneva: World Health Organization (WHO); 2007.

Jitapunkul S, Songkhla MN, Chayovan N, Chirawatkul A, Choprapawon C, Kachondham Y, et al. Falls and their associated factors: a national survey of the Thai elderly. J Med Assoc Thai 1998; 81(4): 233 - 42.

Assantachai P, Praditsuwan R, Chatthanawaree W, Pisalsarakij D, Thamlikitkul V. Risk factors for falls in the thai elderly in an urban community. J Med Assoc Thai 2003; 86(2): 124 - 30.

นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้ม ของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 - 2564 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2565]. แหล่งข้อมูล http://thaincd.com/document/file/violence.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการสูงอายุ (Geriatric syndromes). กรุงเทพฯ: อิส ออกัส จำกัด; 2559.

ณภัทรธร กานต์ธนาภัทร, พรรณวรดา สุวัน, จุฑารัตน์ เสาวพันธ, กชนิภา ขวาวงษ, ญาธิดา วุฒิศาสตร์กุล, และวิยะดา ทิพม่อม. การรับรู้เกี่ยวกับการหกล้ม พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม และจำนวนครั้งของการหกล้มของผู้สูงอายุภายหลังการใช้ แนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตามหลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2564; 29(1): 111- 26.

ณัฐชยา พวงทอง และอรวรรณ กีรติสิโรจน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2565; 38(1): 73-85.

เทศบาลนครสกลนคร. สถิติประชากรผู้สูงอายุ เทศบาลนครสกลนคร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561. สกลนคร: เทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร; 2561.

ขวัญฤทัย ศรีบุญเรือง และธัญลักษณ์ วรรณกุล. ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ชุมชนหนองสนม ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์]. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร; 2559.

Abramson JH. WINPEPI updated: computer programs for epidemiologists, and their teaching potential. Epidemiol Perspect Innov 2011; 8: 1-9.

กนกวรรณ เมืองศิริ, นิภา มหารัชพงศ์, และยุวดี รอดจากภัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุจังหวัดชลบุรี. Naresuan University Journal: Science and Technology 2017; 4(25): 23-33.

อัจฉรา สาระพันธ์, ณัฐกฤตา ศิริโสภณ์, ประเสริฐศักดิ์ กายนาคา, สมบัติ อ่อนศิริ, บุญเลิศ อุทยานิก, สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญ, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; ปีที่ 18 ฉบับพิเศษ มกราคม-เมษายน: 215 - 22.

Braun BL. Knowledge and Perception of Fall-Related Risk Factors and Fall-Reduction Techniques among Community-Dwelling Elderly Individuals. Physical Therapy 1998; 78(12): 1262-76.

Li F, Zhou D, Chen Y, Yu Y, Gao N, Peng J, et al. The Association between Health Beliefs and Fall-Related Behaviors and Its Implication for Fall Intervention among Chinese Elderly. Int. J. Environ. Res. Public Health 2019; 16(23): 1-15.

Bilik O, Damar HT, Karayurt O. Fall behaviors and risk factors among elderly patients with hip fractures. Acta Paul Enferm 2017; 30(4): 420- 27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-09

How to Cite

วรไธสง ณ., จำปาจันทร์ จ., ภูลวรรณ ภ., & ทัศนเอี่ยม ศ. (2023). การรับรู้ปัจจัยเสี่ยงหกล้มและพฤติกรรมป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ 60 -69 ปี ในบริบทชุมชนเมือง จังหวัดสกลนคร . วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(2), 93–102. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/260690