สภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงแรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน โรคโควิด-19 ของพนักงานโรงแรม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • สินจัย ขุนทอง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุทิน ชนะบุญ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

สภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงแรม , พนักงานผู้ปฏิบัติงานในโรงแรม , การป้องกันโรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงแรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 (โควิด-19) ของพนักงานผู้ปฏิบัติงานในโรงแรม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เก็บข้อมูลด้วยแบบสำรวจสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงแรมจำนวน 20 แห่ง และแบบสัมภาษณ์ในพนักงานผู้ปฏิบัติงานในโรงแรมจำนวน 80 คน ระหว่างเดือนเมษายน–พฤษภาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการศึกษา พบว่า โรงแรมเกือบทุกแห่งมีสภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมถูกสุขลักษณะ แต่ยังมีบางแห่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะในด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำดื่มน้ำใช้ โดยร้อยละ 40.00 ให้บริการอาหารสําเร็จรูปที่พร้อมรับประทานไม่แยกเฉพาะบุคคล ไม่ใช้ภาชนะและอุปกรณ์สัมผัสอาหารแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ห้องครัวไม่แยกเป็นสัดส่วน ที่พักมูลฝอยไม่ป้องกันสัตว์พาหะนำโรค สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 พบว่า ความรู้ในการป้องกันโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับเจตคติการป้องกันโรคโควิด-19 (r=0.45, p-value=0.001) และมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูงกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 (r = 0.75, p-value=0.001) แต่เจตคติการป้องกันโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 (r=0.35, p-value=0.001) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินโครงการที่เน้นให้พนักงานผู้ปฏิบัติงานโรงแรมมีความตระหนักต่อมาตรการด้านสุขาภิบาลอาหารให้สามารถป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 และโรคติดต่ออื่นได้

References

World Health Organization [Internet]. (2021). WHO-convened global study of origins of SARS-CoV-2: China Part. [cited 2021 August 18] Available From: https://www.who.int/publications/i/item/who-convened-global-study-of-origins-of-sars-cov-2-china-part.

กรมอนามัย. คำแนะนำการระบายอากาศเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: https://covid19.anamai.moph.go.th/web-upload/2xdccaaf3d7f6ae30ba6ae1459eaf3dd66/m_document/6736/35234/file_download/73e5e3a500c252afc224d0b6085c59dd.pdf.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สถิติด้านการท่องเที่ยวปี 2564 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2564].แหล่งข้อมูล: https://mots.go.th/more_news_new.php?cid=628.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. อพท. เร่งยกระดับแหล่งท่องเที่ยวสู่มาตรฐานสากล [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.dasta.or.th/th/article/724

พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2547. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 121, ตอนพิเศษ 70ก หน้า 12/12 (ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2547).

Amazing Thailand Safety and Health Administration (SHA). รายการเกณฑ์ตรวจสอบเพื่อประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยในสถาประกอบการประเภทประเภท โรงแรมและที่พัก สถานที่จัดการประชุม [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.thailandsha.com/example/th/2.pdf.

ชูใจ คูหารัตนไชย. สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร; 2542.

Wiersma W & Jurs SG. Research methods in education. Boston: Pearson; 2009.

ณัฏฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564; 1(4):33-48.

ดรัญชนก พันธ์สุมา และพงษ์สิทธิ์ บุญรักษา. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร 2564;36(5):579-604.

Zhong BL, Luo W, Li HM, Zhang QQ, Liu XG, Li WT, Li Y. Knowledge, attitudes, and practices towards COVID-19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID-19 outbreak: a quick online cross-sectional survey. Int J Biol Sci 2020;16(10):1745-52.

นารีมะห์ แวปูเตะ คันธมาทน์ กาญจนภูมิ และกัลยา ตันสกุล. พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2021; 3(2):31-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-24

How to Cite

ขุนทอง ส., สังสิทธิสวัสดิ์ ว. ., & ชนะบุญ ส. . . (2023). สภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงแรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน โรคโควิด-19 ของพนักงานโรงแรม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(1), 25–34. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/257918