สิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานและพฤติกรรมการป้องกันตนเองของบุคลากรใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
คำสำคัญ:
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล , สิ่งคุกคามสุขภาพ , พฤติกรรมการป้องกัน, โควิด-19บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานและพฤติกรรมการป้องกันตนเองของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น กรณีศึกษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 163 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-ค่าสูงสุด และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้ Chi-square และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่มีโอกาสในการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพ คือเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.28 ( = 2.14, S.D. = 0.40) มีพฤติกรรมการป้องกันตนเองส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ร้อยละ 92.64 ( = 2.73, S.D. = 0.20) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า เพศ อายุ ระยะเวลาทำงาน และการอบรมการเก็บตัวอย่างระบบทางเดินหายใจ มีความสัมพันธ์กับโอกาสในการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.05) แต่ในส่วนของพฤติกรรมการป้องกันตนเองไม่มีความสัมพันธ์กับโอกาสในการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (r = 0.050 p = 0.5246) ดังนั้นบุคลากรควรตระหนักต่อการเฝ้าระวังความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้เป็นแนวทางพิจารณาการจัดสรรระยะเวลาทำงานและการหยุดพักในระหว่างเวลางานให้เหมาะสม อีกทั้งยังควรให้ความสำคัญกับการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร โดยเฉพาะในเรื่องของการอบรมการเก็บตัวอย่างระบบทางเดินหายใจ (Nasopharyngeal swab)
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. หมวดความรู้ทั่วไป ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
Worldometer. Coronavirus [Internet]. [cited 21 April 2022]. Available from: https://www.Worldometers.info/coronavirus/
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวโน้มผู้ติดเชื้อตามมิติต่าง ๆ ด้านประชากร [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/covid19-daily-dashboard/?dashboard=select-trend-line
กลุ่มงานสื่อสารความเสี่ยงและสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. สถานการณ์ COVID ประจำวัน [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.khonkaen.go.th/khonkaen6/COVID19/
ชุติมา ดีสวัสดิ์, พรทิพย์ กีระพงษ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรในโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564; 15(38):399-413.
วชิระ สุริยะวงค์, พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ, มธุรส
ทิพยมงคลกุล. วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรและพฤติกรรมการทำงานด้วยความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2560; 5(1):103-18.
Febriani LS, Budiono B, Ain H. Coronavirus disease (Covid-19) compliance level of hospital health personnel. Jurnal Pendidikan Kesehatan 2021; 10(2):183-91.
รพีภัทร ชำนาญเพาะ, ศุภกาญจน์ โอภาสรัตนากร. ความต่างกันของเพศกับความเสี่ยงการเกิดโรคเป็นซํ้าในระยะเวลา 1 ปี: การเปรียบเทียบคะแนนความเสี่ยง ระดับความเสี่ยง และชนิดปัจจัยเสี่ยงในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด กลุ่มผู้ใหญ่อายุน้อยเพศหญิงและชาย. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2564; 32(1):59-75.
อโณทัย จัตุพร. การประเมินความเสี่ยงและการจัดการบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสเชื้อไวรัสโควิด-19. บูรพาเวชสาร 2563; 7(1):127-133.
อนุชา ภู่กลาง, นลธวัช ทองตื้อ, จงเจตน์ จงสมจิตร, ฌาน ปัทมะ พลยง. ปัจจัยที่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจจากการทำงานชุบทองแบบครัวเรือนของผู้ประกอบอาชีพในชุมชนเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา 2562; 5(2):108-120.
แนวพระจันทร์ ศรีหาวงศ์, กล้าเผชิญ โชคบำรุง. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้การรับรู้ปัจจัยเสี่ยงและคุณลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบของประชาชนวัยผู้ใหญ่ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ 2559; 15มกราคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น; 2559. 866-877.
กวินลดา ธีระพันธ์พงศ์, จุฑาทิพย์ นามม่อง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของพนักงานในโรงงานขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2564; 22(23):10-20.
เฉลิมรัฐ มีอยู่เต็ม, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล. สิ่งคุกคามในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560; 7(2):236-43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม