การสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน ตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ วิจักษณกุล หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อารี บุตรสอน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การสร้างเครือข่าย, การบริบาลผู้ป่วย , ผู้ป่วยติดบ้าน, ผู้ป่วยติดเตียง

บทคัดย่อ

            การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน ตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ครอบครัวผู้สูงอายุ คหบดีในและนอกชุมชน ประชาชนในเขตตำบลโนนโหนน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวม 50 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจัดหมวดหมู่และวิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจ คุณภาพชีวิต และการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายก่อนและหลังโดยใช้สถิติ paired t-test ทำการศึกษาระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือน กรกฎาคม 2564 การวิจัยใช้กระบวนการของ เคมมิส และ แมกทากาต (PAOR) จำนวน 3 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล ผลการวิจัยพบว่า การสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน ตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี คือ การใช้รูปแบบ ICSKVT Model ประกอบด้วย 1) Inspiration: แรงบันดาลใจ 2) Contribution: การมีส่วนร่วม 3) Social Responsibility: ความรับผิดชอบต่อสังคม 4) Kindness: ความเมตตา 5) Value: การให้คุณค่า และ 6) Trust: ความไว้เนื้อเชื่อใจ หลังการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความพึงพอใจ คุณภาพชีวิต และการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจเพิ่มขึ้น 2.65 คะแนน (95%CI=1.56-3.74) คุณภาพชีวิตผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเพิ่มขึ้น 1.77 คะแนน (95%CI=0.67-2.87) และการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายเพิ่มขึ้น 1.97 คะแนน (95%CI=0.52-3.41) ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

References

Edwards RG. The history of assisted human conception with special reference to endocrinology. Exp Clin Endocrinol Diabetes.1996;104(3):183-204.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. รายงานสถานการณผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2552.

ชนิตา สุ่มมาตย์. การพัฒนารูปแบบในการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยองค์กรชุมชนในภาคอีสาน. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2551.

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, วิชช์ เกษมทรัพย์, วิชัย เอกพลากร, บวรศม ลีระพันธ์. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ดีเซมเบอรี่ จำกัด; 2561.

พวงเพ็ญ ชั้นประเสริฐ. การดูแลและการพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ปีที่ 16 มกราคม 2550, กระทรวงสาธารณสุข, 2550.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 บทบาทภารกิจ. [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565]. แหล่งข้อมูล: https://thaitgri.org/?p=39772

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. อาหารทั่วไปและอาหารเฉพาะโรคผู้สูงอายุ.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข, 2551.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโนนโหน. รายงานผลการดำเนินงานประจำปี, 2564.

Kemmis, S & McTaggart, R. The Action Research Planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.

อรวรรณ ศรีเกิน, มิ่งขวัญ ภูหงส์ทอง, พรรณิภา ไชยรัตน์. การพัฒนาแนวทางอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (Care giver) ในการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2562;1(2):39-54.

ณิสาชล นาคกุล. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2561; 28(3):36-50.

ฐากร ชัยสถาพร. แนวทางการสร้างเครือข่ายทางสังคม กรณีศึกษา ระบบทวิภาคีเพื่อยกระดับคุณภาพแรงงานไทย [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8388s/รวม.pdf

สุมิตรา วิชา, ณัชพันธ์ มานพ. สุภา ศรีรุ่งเรือง, เบญจพร เสาวภา, ศิริรัตน์ ศรีภัทรางกูร, ณัฐกานต์ ตาบุตรวงศ์, ธนกฤษ หมื่นก้อนแก้ว, ธนัชพร มณีวรรณ. รายงานผลการวิจัยการพัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง ในพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลฮ่องห้า หรือชุมชนฮ่องห้า อ.แม่ทะ จ.ลำปาง; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-24

How to Cite

วิจักษณกุล เ., & บุตรสอน อ. (2023). การสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนงานบริบาลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในชุมชน ตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 6(1), 1–10. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/256841