รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 360 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม รวมรวมข้อมูลในระหว่าง 1 พฤศจิกายน 2564 ถึง 31 ธันวาคม 2564 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 209.55, df = 113, χ2/df = 1.85, GFI = .95, RMSEA = .05) ซึ่งคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ (.44) รองลงมาคือปัจจัยส่วนบุคคล (.24) โดยปัจจัยส่วนบุคคลและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ สามารถอธิบายความแปรปรวนคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ได้ร้อยละ 25.1 นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตัวแปรอิสระที่เป็นองค์ประกอบของตัวแปรแฝงแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ พบว่า สิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ เป็นตัวแปรอิสระที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของตัวแปรแฝงแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ดังนั้นจึงควรดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้สูงอายุโดยมุ่งเน้นกิจกรรมที่เป็นการชักสิ่งชักนำสู่การปฏิบัติ ในกลุ่มผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 70 ปี ขึ้นไป มีรายได้น้อย และมีสถานภาพโสดหรือหม้าย/หย่า/แยก
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2561 [online]. แหล่งข้อมูล: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1573033396-261_0.pdf. [เข้าถึงเมื่อ 13 มกราคม 2564].
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 [online]. แหล่งข้อมูล: https://datastudio.google.com/u/0/reporting/18d9ad84-2802-4fc9-a464-9ff63ae44788/page/sYi0B [เข้าถึงเมื่อ 13 มกราคม 2564].
ศูนย์อนามัยที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข. ปิรามิดประชากร พระนครศรีอยุธยา ปี 2563 [online]. แหล่งข้อมูล: http://203.157.71.115/hdc/dashboard/populationpyramid/changwat?year=2020&cw=14 [เข้าถึงเมื่อ 13 มกราคม 2564].
สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บรรยายสรุปจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจำปี 2563. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา; 2564. 4-45.
Kim GM, Hong MS, Noh W. Factors affecting the health‐related quality of life in community‐dwelling elderly people. Public Health Nursing 2018; 35(6), 482-489.
อัญรัช สาริกัลยะ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา 2563; 10(4): 87-99.
ปณิชา แดงอุบล, สุจิตรา จันทวงษ์, ประยงค์ นะเขิน. ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม. วารสารบัณฑิตศึกษา 2556; 10(5): 95-112.
บรรลุ ศิริพานิชและคณะ. 8 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ [online]. แหล่งข้อมูล: https://thaitgri.org/?p=39092 [เข้าถึงเมื่อ 13 มกราคม 2564].
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ปัญหาของผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง [online]. แหล่งข้อมูล: https://www.dop.go.th/th/know/15/461 [เข้าถึงเมื่อ 13 มกราคม 2564].
เทศบาลตำบลคลองจิก อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. สถิติประชากรตำบลคลองจิก อายุ 60 ปีขึ้นไป. เทศบาลตำบลคลองจิก; 15 ตุลาคม 2564.
Lindeman RH, Merenda PF, Gold RZ. Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Scott, Foresman, Glenview; 1980.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ปิรามิดประชากร พระนครศรีอยุธยา ปี 2563 [online]. แหล่งข้อมูล: http://203.157.71.115/hdc/dashboard/populationpyramid/changwat?year=2020&cw=14 [เข้าถึงเมื่อ 13 มกราคม 2564].
Rathachatranon W. Analysis on Structural Equation Models for Public Administration Research. Asian Political Science Review 2018; 2(2): 33-42.
วรรณกร พลพิชัย, จันทรา อุ้ยเอ้ง. คุณภาพชีวิต แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของชาวประมงในจังหวัดตรัง. ตรัง: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย; 2561.
Jang KS, Song R, A Structural Equation Model of Fall Prevention Behavior among Community-dwelling Older Adults with Osteoarthritis. Korean Journal of Adult Nursing 2015; 27(6), 684-694.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม