ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรด้านสนับสนุนบริการในโรงพยาบาลยโสธร

ผู้แต่ง

  • วราพร ใยบัว นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พาณี สีตกะลิน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

บุคลากรด้านสนับสนุนบริการ , บรรยากาศองค์การ , คุณภาพชีวิตในการทำงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรด้านสนับสนุนบริการในโรงพยาบาลยโสธร จำนวน 154 คน โดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ ไบซีเรียล ค่าสหสัมพันธ์อีต้า และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี มีระดับการศึกษามัธยมปลาย/ปวช. ทำงานตำแหน่งผู้ช่วยเหลือคนไข้และพนักงานบริการทั่วไป มีอายุงานมากกว่า 5 ปี และมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 15,000 บาท บุคลากรด้านสนับสนุนบริการมีคะแนนความพึงพอใจต่อบรรยากาศองค์การเฉลี่ย เท่ากับ 48.82 ซึ่งมีระดับความพึงพอใจต่อบรรยากาศองค์การอยู่ในระดับมาก บุคลากรด้านสนับสนุนบริการมีคะแนนคุณภาพชีวิตการทำงานเฉลี่ย เท่ากับ 153.69 ซึ่งมีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับมาก และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรด้านสนับสนุนบริการ ได้แก่ ระดับการศึกษา อายุ ชั่วโมงทำงาน รายได้ต่อเดือน ความชัดเจนของเป้าหมายนโยบาย ความรับผิดชอบในงาน การทำงานล่วงเวลา และโครงสร้างองค์การ ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ตัวแปรดังกล่าวสามารถร่วมกันทำนายต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรด้านสนับสนุนบริการได้ร้อยละ 62.10

References

สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (องค์การมหาชน). คุณภาพชีวิตการทำงาน [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/475-quality-of-working-life.

Schultz PD, Schultz SE. Psychology and work today: An introduction to industrial and organizational psychology. 7th ed. New Jersey: Prentice; Hall; 2001. 426.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout syndrome) [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2564]. แหล่งข้อมูล : https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2270.

ปรัชญา ปิยะมโนธรรม. จิตวิทยาการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพนักงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2549. 380.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาล และบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. นนทบุรี: หนังสือดีวัน; 2561. 244.

นันทา โสรัตน์. การศึกษาด้านแรงจูงใจในการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความขัดแย้ง ระหว่างบุคคลส่งผลต่อประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). ภาควิชาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2558.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. รายงานประจำปี 2562 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.yasothon.moph.go.th/yasopho/FrontEnd/read_pdf-reportyearly.php?id=17.

วงเดือน เลาหวัฒนภิญโญ, พัทธมน สุริโย, เกล็ดดาว ลิมปิศิลป์, และพัชรา ยิ้มศรวล. คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี (งานวิจัยงานห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม). เพชรบุรี: โรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี; 2552. 107-8.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. วิถีแห่งการสร้างสุข และปัจจัยพัฒนาองค์การสร้างสุข. วารสารสุขศึกษา 2557; 2: 1-15.

Wayne WD. Biostatistics: A foundation of analysis in the health sciences. 6th ed. New York: John Wiley&Sons Inc.; 1995. 180.

อุษณีย์ เอกสุวีรพงษ์, บุรินทร์ ต.ศรีวงษ์. คุณภาพชีวิตการทำงานของเภสัชกรโรงพยาบาล. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 2556; 2: 31-45.

Walton RE. Quality of work life: What is it? Slone Management Review, 1973; (1): 12-8.

วาริณี โพธิราช. คุณภาพชีวิตการทำงานของลูกจ้างในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, สังคมสงเคราะห์ศาสตร์. ปทุมธานี :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.

Likert R. The human organization: its management and values. New York: McGraw-Hill; 1967. 258.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall Inc.; 1977. 403.

Hinkle DE, Wierma W And Jurs SG. Applied Statistics for the Behavioral Sciences. 2nd ed. Boston: Houghton Mifflin Company; 1988. 504.

ณิศาภัทร ม่วงคำ. คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร : กรณีศึกษา เจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี. (สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). ศิลปะศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกริก; 2559.

ธิดาทิพย์ ชื่นตา. การศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลธัญบุรีจังหวัดปทุมธานี [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.advanced-mba.ru.ac.th/advanced-mba-2559/homeweb/7096-IS/Publish/2_2562/prachinburi1/no-6124100234-PCB1.pdf

กัลยา กังสนันท์ และ วิภาวรรณ กลิ่นหอม. คุณภาพชีวิตของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนเขตพื้นที่ 1 จังหวัดนครศรีธรรมราช. WMS Journal of Management Walailak University 2560; 2: 72-82.

กมลรัตน์ จิรวิเศษกุล. คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรส่วนกลาง กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2561; 1: 35-52.

ปณิชา ดีสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในการทำงานและคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลทหารผ่านศึก (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาจิตวิทยา, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-03

How to Cite

ใยบัว ว., เหล่ารักษาวงษ์ ป., & สีตกะลิน พ. (2022). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรด้านสนับสนุนบริการในโรงพยาบาลยโสธร. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 5(2), 73–83. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/254163