ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป เขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา เสนาใหญ่ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • มนฤดี แสงวงษ์ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี
  • สิริรัมภา การะนนท์ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ประชาชนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป, เขตสุขภาพที่ 10

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป เขตสุขภาพที่ 10 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป พ.ศ. 2562 จำนวน 1,867 คน สุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Three-stage Sampling การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา อธิบายสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และใช้ Multiple logistic regression บอกความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ไม่เพียงพอ ผลการศึกษา พบว่า มีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอร้อยละ 35.2  มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพ 83.94 (SD.=22.17) คะแนน พบมากในผู้ไม่มีบทบาทในชุมชน ร้อยละ 84.60 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 77.59 เขียนไม่คล่อง ร้อยละ 54.73 อายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 53.35 มีรายได้พอใช้บางเดือน ร้อยละ 52.29 และอ่านไม่คล่อง ร้อยละ 48.6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพออย่างมีนัยสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ORadj.=4.4, 95%CI=1.64-12.01,p=0.003) เขียนไม่ได้ (ORadj.=4.1, 95%CI=1.55-11.05,p=0.005) เขียนไม่คล่อง (ORadj.=2.2, 95%CI=1.17-4.21,p=0.014) การศึกษาระดับประถมศึกษา (ORadj.=8.4, 95%CI=1.85-38.40, p=0.006) ผู้ที่ไม่มีบทบาทในชุมชน (ORadj.=1.9, 95%CI=1.39-2.65,p<0.001) ไม่ได้รับข้อมูลจากโทรทัศน์ (ORadj.=1.8, 95%CI=1.39-2.44 ,p<0.001) จากอินเตอร์เนต (ORadj.=2.6, 95%CI=1.38-4.95 ,p=0.003) จาก อสม./อสค.(ORadj.=1.9, 95%CI=1.43-2.60, p<0.001) จากเสียงตามสาย (ORadj.=1.6, 95%CI=1.22-2.19, p=0.001) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์กับผลลัพธ์ทางสุขภาพ ผู้มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำจะส่งผลต่อการเข้าถึงข้อมูล การเข้ารับบริการสุขภาพ การจัดการสุขภาพด้วยตนเอง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ

References

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12, กระทรวงสาธารณสุข. (ร่าง) แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 17 กรกฏาคม2563]. แหล่งข้อมูล: http://doh.hpc.go.th/data/HL/nationalHealthDevelopment12.pdf

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2565]. แหล่งข้อมูล: http://elibrary.Constitutionalcourt.or.th/research/download.php?ID=261

Liu YB, Liu L, Li YF, Chen YL. Relationship between Health Literacy, Health-Related Behaviors and Health Status: A Survey of Elderly Chinese. International Journal of Environmental Research and Public Health 2015; 12(8): 9714–25.

สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ. การปฏิรูปความรู้การสื่อสารด้านสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 3 กรกฏาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nrsa2558/d111459-3.pdf

วิมล โรมา และสายชล คล้อยเอี่ยม. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.hsri.or.th/research/detail/12679

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med 2008; 67(12):2072–2078.

National Center for Health Statistic Healthy People 2030 [Internet]. [cited 18 February 2022]. Available from: https://www.cdc.gov/nchs/healthy_people/hp2030/hp2030.htm

วรรณสิริ นิลเนตร. ความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร(ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม,คณะแพทยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

Orem DE. Nursing: Concepts of Practice. 3rd ed. New York: McGraw-Hill; 1985. 303.

ธัญชนก ขุมทอง, วิราภรณ์ โพธิศิริ และขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและอ่างทอง. Veridian E-Journal Silpakorn University 2559; 3(6) :67-85.

Ellis J, Mulland J, Worsley A, Pai N. The Role of Health Literacy and Social Networks in Artritis Patients’Health Information-Seeking Behavior: A Qualitative Study. International Journal of Family Medicine 2012; 2012:397039.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31

How to Cite

เสนาใหญ่ ส., ธนธรรมสถิต ศ., แสงวงษ์ ม., & การะนนท์ ส. (2022). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป เขตสุขภาพที่ 10. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 5(1), 62–72. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/254105