การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในการดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยหลัก 4 อ. ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ปาริชาต รุจาคม หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ , ผู้สูงอายุ, โรคความดันโลหิตสูง , การดูแลสุขภาพตนเองด้วยหลัก 4 อ.

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยหลัก 4 อ. ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ (1) ศึกษาข้อมูลสูงอายุ (2) ศึกษากระบวนการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ และ (3) ศึกษาผลลัพธ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ร่วมกิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 23 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้และพฤติกรรมก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมด้วยสถิติ Paired t-test ผลการศึกษา ระยะที่ 1 กลุ่มเป้าหมาย ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองด้วยหลัก 4 อ. อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.90 (Mean±S.D. = 8.60±2.74) และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองด้วยหลัก 4 อ. อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 100.00 (Mean±S.D.= 29.17±2.60) ระยะที่ 2 กระบวนการพัฒนา มี 4 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (2) การปฏิบัติ (3) การสังเกต และ (4) การสะท้อนผล โดยกิจกรรมพัฒนา มี 3 แผน ประกอบด้วย แผนที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ แผนที่ 2 การเยี่ยมบ้าน แผนที่ 3 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ระยะที่ 3 หลังการพัฒนา มีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการดูแลสุขภาพ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพตนเองด้วยหลัก 4 อ. สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) และ หลังการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว (Systolic blood pressure: SBP) และความดันโลหิตช่วงหัวใจคลายตัว (Diastolic blood pressure: DBP) ต่ำกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)

References

กรมสุขภาพจิต. ก้าวย่างของประเทศไทย สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. ทันกระแสสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564]. แหล่งข้อมูล : https://www.thaihealth.or.th/categories/3/1/54-ทันกระแสสุขภาพ.html

กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐาน >> การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ >> อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงต่อประชากร [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565]. แหล่งข้อมูล: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=6b9af46d0cc1830d3bd34589c1081c68

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด่านเกวียน. เวชระเบียน. นครราชสีมา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด่านเกวียน. 2561.

ชลลดา งอนสำโรง และทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารราชพฤกษ์ 2562; 17(1): 102-10.

กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์ และธนายุส ธนธิติ. การพัฒนา

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลบางเตย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2558; 35(3): 57-72.

เมธี วงศ์วีระพันธ์. การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุของชุมชนต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่.วารสารจิตวิทยาคลินิก. 2558; 47(1): 38-47.

วิลาวัลย์ ประกอบเลิศ และเกตุนภา ภูนิลวาลย์. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสวนโคก ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ [อินเตอร์เน็ต]. [สืบคันเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562]. แหล่งข้อมูล: http://203.157.186.16/kmblog/page_research_detail.php?ResID=506

Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. NewYork: W.H. Freeman and company; 1977.

ปรียาภรณ์ นิลนนท์. การรับรู้ความสามารถของตนเองในด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์. 2560; 32(14): 94-100.

อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง และทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะผู้สูงอายุในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงโรงเรียนผู้สูงวัยสัมฤทธิ์วิทยา ตำบลสัมฤทธิ์ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 9 2561; 24(2): 80-9.

อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ และ ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ ในการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. รายงานวิจัยกองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2562.

อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ และ รชานนท์ ง่วนใจรัก. การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลสุขภาพและ ป้องกันการเกิดภาวะพึ่งพิงในกลุ่มผู้สูงอายุ. รายงานวิจัยกองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2563.

Kemmis S & McTaggart C. The action research planner. (3rd ed). Victoria: Deakin University. 1988.

สมเกียรติ อินทะกนก และคณะ การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: กรณีศึกษาพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำซับ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9, 2564; 27(1): 56-67.

พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ และทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ด้วยหลัก 4 อ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.2562.

Kim M & Song M. Effects of self-management program applying Dongsasub training on self-efficacy,self-esteem, self-management behaviour and blood pressure in older audits with hypertension. J Korean Acid Nurs, 2015; 45(4): 576-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-03

How to Cite

รุจาคม ป., & สัตยวงศ์ทิพย์ พ. (2022). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในการดูแลสุขภาพตนเอง ด้วยหลัก 4 อ. ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 5(2), 84–93. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/253219