ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะไขมันพอกตับกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ของผู้ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
ภาวะไขมันพอกตับ , โรคเบาหวานชนิดที่ 2 , Case control studyบทคัดย่อ
ภาวะไขมันพอกตับเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการมีภาวะไขมันพอกตับกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการศึกษาแบบ case-control study จากฐานข้อมูลของผู้มารับการรักษาที่โรงพยาบาลวารินชำราบ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563 โดยมีกลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มละ 156 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติการถดถอยพหุลอจิสติก นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (ORadj) และช่วงความเชื่อมั่นที่ 95% ผลการศึกษา พบว่า ภาวะไขมันพอกตับมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรในสมการสุดท้าย (ORadj = 1.52, 95%CI; = 0.74-3.11) แม้ว่าการศึกษาครั้งนี้จะพบว่าภาวะไขมันพอกตับมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามควรศึกษาเพิ่มเติมการตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องในช่วงระยะเวลาที่ทำการศึกษาเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของภาวะไขมันพอกตับและตัวแปรด้านห้องปฏิบัติการที่ใช้ประกอบการวินิจฉัย การติดตาม วางแผนการดูแลเฝ้าระวัง เพื่อลดโอกาสเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ป่วยภาวะไขมันพอกตับในอนาคต
References
International Diabetes Federation. Type 2 diabetes [Online]. [Cited 2020 November 1] Available from: https://www.idf.org/aboutdiabetes/type-2-diabetes.html
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี. อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน [อินเตอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2563]. แหล่งข้อมูล: https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_year=2020.
Mantovani A, Byrne CD, Bonora E, & Targher G. Nonalcoholic fatty liver disease and risk of incident type 2 diabetes: A meta-analysis. Diabetes Care 2018; 41(2): 372–382.
Ming J, Xu S, Gao B, Liu G, Ji Y, Yang F, et al. Non-alcoholic fatty liver disease predicts type 2 diabetes mellitus, but not prediabetes, in Xi'an, China: a five-year cohort study. Liver International 2015; 35(11): 2401–2407.
พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล. โรคเบาหวานชนิดที่ 2; 2560. [อินเตอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.honestdocs.co/care-and-treatment-of-diabetes-diabetes.
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดอุบลราชธานี. ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีปีพ.ศ. 2562. [อินเตอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2563]. แหล่งข้อมูล: https://ubn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page_kpi.php?flag_kpi_level=9&flag_kpi_year=2019.
โรงพยาบาลวารินชำราบ. โครงการตรวจมะเร็งท่อน้ำดีประจำปีงบประมาณ 2563. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลวารินชำราบ 2563; (เอกสารอัดสำเนา).
ชุติมันต์ อุดมพรมงคล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันพอกตับในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ช่องท้องในเขตอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 2(3): 182-92.
อัญชนา เอียมปิยะกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์โรคไขมันพอกตับของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสตูล. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2564; 18(1): 178-185.
Schlessman JJ. Case-control studies: Design, conduct: analysis. New York: Oxford University 1982.
Thinkhamrop K, Khuntikeo N, Phonjitt P, Chamadol N, Thinkhamrop B, Moore MA, et al. Association between diabetes mellitus and fatty liver based on ultrasonography screening in the world’s highest cholangiocarcinoma incidence region, Northeast Thailand. Asian Pacific Journal of Cancer Prevention 2015; 16(9): 3931–3936.
Hsieh FY. Sample size tables for logistic regression. Statistics in Medicine 1989; 8(7): 795-802.
Motta BM, Grander C, Gögele M, Foco L, Vukovic V, Melotti R, et al. Microbiota, type 2 diabetes and non-alcoholic fatty liver disease: Protocol of an observational study. Journal of Translational Medicine 2019; 17(1): 408.
Adams LA, Harmsen S, St Sauver JL, Charatcharoenwitthaya P, Enders FB, Therneau T, et al. Nonalcoholic fatty liver disease increases risk of death among patients with diabetes: A community-based cohort study. The American journal of gastroenterology 2010; 105(7): 1567–1573.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม