ประสิทธิผลของเจลสมุนไพรสูตรประยุกต์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดตำรับยาสมุนไพรต่อการลดอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ

ผู้แต่ง

  • กัญทร ยินเจริญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
  • ศรินทร์รัตน์ จิตจำ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่
  • สิริรัตน์ เลาหประภานนท์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่
  • ณัฐชนน ปทุมรัตนโรจน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่
  • กอแก้ว พิธกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ไสใหญ่

คำสำคัญ:

อาการปวดประจำเดือน, ปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ, ตำรับยาสมุนไพร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเจลสมุนไพรสูตรประยุกต์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดตำรับยาสมุนไพรต่อการลดอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ เตรียมสูตรตำรับเจลโดยมีส่วนผสมสารสกัดสมุนไพรในตำรับยาพอกท้องน้อยขับโลหิตจากหนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ น้ำมันระกำ และน้ำมันสะระแหน่ ทดสอบการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนในอาสาสมัครหญิงที่มีภาวะปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ จำนวน 15 คน ประเมินระดับอาการปวดประจำเดือนก่อนและหลังการใช้เจลด้วยมาตรวัดความเจ็บปวด (Visual Analogue Scale ; VAS) ในวันที่ 1 และวันที่ 2 ของการมีประจำเดือน ประเมินระดับอาการปวดหลังจากใช้เจลเป็นเวลา 15 นาที 30 นาที 1 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครมีค่าคะแนนความปวดหลังการใช้ลดลงทั้ง 15 คน ค่าเฉลี่ยคะแนนการปวดประจำเดือนในวันที่ 1 และวันที่ 2 พบว่า คะแนนการปวดประจำเดือนก่อนใช้ หลังใช้ 15 นาที  หลังใช้ 30 นาที  หลังใช้ 1 ชั่วโมง และหลังใช้ 4 ชั่วโมง  มีอย่างน้อยหนึ่งคู่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) เมื่อนำมาทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีบอนเฟอโรนี พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนการปวดประจำเดือนก่อนใช้กับหลังใช้ 30 นาที ก่อนใช้กับหลังใช้ 1 ชั่วโมง และก่อนใช้กับหลังใช้ 4 ชั่วโมง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) แสดงให้เห็นว่าเจลสมุนไพรสูตรประยุกต์ซึ่งมีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพรจากตำรับยาพอกท้องน้อยขับโลหิต สามารถลดระดับความเจ็บปวดในอาสาสมัครสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอาการปวดประจำเดือนระดับปฐมภูมิได้ โดยไม่พบผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

References

Butsripoom B & Wittayapun Y. Prevalence, Impact and Self-Management of Dysmenorrhea Among Nursing Students. Songklanagarind Journal of Nursing 2019; 1: 41-52.

Laimek S, Tassaneesuwan S, Vetcho S, Chukaew O & Aphichato A. The Practice of Yoga in Releasing Menstruation Discomforts. Songklanagarind Journal of Nursing 2018; 1: 154-162.

Chandrima FA. A survey on knowledge and awareness of dysmenorrhea among the female students of East West University. PhD Thesis. East West University. 2017

Armour M, Parry K, Manohar N, Holmes K, Ferfolja T, Curry C, MacMillan F & Smith CA. The prevalence and academic impact of dysmenorrhea in 21,573 young women: a systematic review and meta-analysis. Journal of women's health 2019; 28(8): 1161-1171.

Chailarp K, Lagampan S & Auemaneekul N. Impact of an Educative-Supportive Nursing Programme on Self-Care Behaviour and Quality of Life of Female Students with Primary Dysmenorrhea. Thai Journal of Nursing Council 2018; 32(4): 107-107.

นวลจันทร์ ใจอารีย์. การแพทย์แผนไทยและสมุนไพรเพื่อลดปวดประจําเดือน. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2555; 12(4): 782-792.

จันธิดา กมลาสน์หิรัญ, อรวรรณ เล็กสกุลไชย. การศึกษาประสิทธิผล และผลข้างเคียงของสารสกัดตำรับยาประสะไพลกับ Mefenamic acid ในการลดอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2555; 12(4): 749-756.

ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2497. 994.

Junkum A, Maleewong W, Saeung A, Champakaew D, Chansang A, Amornlerdpison D, Aldred AK, Chaithong U, Jitpakdi A, Riyong D & Pitasawat B. Ligusticum sinense Nanoemulsion Gel as Potential Repellent against Aedes aegypti, Anopheles minimus, and Culex quinquefasciatus (Diptera: Culicidae). Insects 2021; 12(7): 596.

ยศพล เหลืองโสมนภา, นุสรา ประเสริฐศรี, พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, ชวนชม พืชพันธ์ไพศาล. การจัดการความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558; 7(1): 99-110.

Tangyuenyongwatana P & Gritsanapan W. Prasaplai: An essential Thai traditional formulation for primary dysmenorrhea treatment. CELLMED 2014; 4(2): 10-21.

Daily JW, Zhang X, Kim DS & Park S. Efficacy of ginger for alleviating the symptoms of primary dysmenorrhea: a systematic review and meta-analysis of randomized clinical trials. Pain Medicine 2015; 16(12): 2243-2255.

Tanmahasamut P & Chawengsettakul S. Dysmenorrhea in Siriraj medical students; prevalence, quality of life, and knowledge of management. Journal of the medical association of Thailand 2012; 95(9): 1115-1121.

Lucius K. Botanical Medicines and Phytochemicals in Colorectal Cancer Prevention. Alternative and Complementary Therapies 2021; 27(5): 235-242.

Melzack R & Wall PD. Pain mechanisms: a new theory. Science 1965; 150: 971-979.

Ojewole JA. Analgesic, antiinflammatory and hypoglycaemic effects of ethanol extract of Zingiber officinale (Roscoe) rhizomes (Zingiberaceae) in mice and rats. Phytotherapy Research 2006; 20(9): 764-772.

Tasleem F, Azhar I, Ali SN, Perveen S & Mahmood ZA. Analgesic and anti-inflammatory activities of Piper nigrum L. Asian Pacific journal of tropical medicine 2014; 7: 461-468.

Martin D, Valdez J, Boren J & Mayersohn M. Dermal absorption of camphor, menthol, and methyl salicylate in humans. The Journal of Clinical Pharmacology 2004; 44(10): 1151-1157.

Alankar S. A review on peppermint oil. Asian Journal of Pharmaceutical and Clinical Research 2009; 2(2): 27-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-03

How to Cite

ยินเจริญ ก., จิตจำ ศ., เลาหประภานนท์ ส., ปทุมรัตนโรจน์ ณ., & พิธกิจ ก. (2021). ประสิทธิผลของเจลสมุนไพรสูตรประยุกต์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดตำรับยาสมุนไพรต่อการลดอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 5(1), 1–10. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/252329