ผลของรูปแบบการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
หญิงตั้งครรภ์, ภาวะโลหิตจาง, การขาดธาตุเหล็ก, การกินยาต่อหน้าบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ Two – group compare test design เพื่อทดสอบผลของรูปแบบการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 60 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 60 คน สุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ โดยกลุ่มควบคุมได้รับบริการฝากครรภ์ตามมาตรฐาน กลุ่มทดลองได้รับบริการฝากครรภ์ตามมาตรฐานร่วมกับได้รับการดูแลให้กินยาเสริมธาตุเหล็กและดื่มนมจืดแบบต่อหน้า (Directly Observed Treatment : DOT by FCT) รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติเปรียบเทียบ T-test และ F-test ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับบริการตามรูปแบบและกินยาเสริมธาตุเหล็กและดื่มนมเสริมแบบต่อหน้า มีระดับค่า HCT2 > 33% (ไม่มีภาวะโลหิตจาง) มากกว่ากลุ่มควบคุม หญิงตั้งครรภ์ที่กินยาเสริมธาตุเหล็กและดื่มนมเสริมต่อหน้าในกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย HCT2 มากกว่า กลุ่มควบคุมที่กินยาเสริมธาตุเหล็กและดื่มนมเสริมไม่สม่ำเสมอ และไม่ได้กินยาเสริมธาตุเหล็กและไม่ได้ดื่มนมเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) หญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก นม อย่างสม่ำเสมอ กับหญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานยาเสริมธาตุเหล็กและนมแบบต่อหน้า มีค่าเฉลี่ย HCT2 ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรมีการนำรูปแบบการดูแลให้กินยาเสริมธาตุเหล็กและดื่มนมจืดแบบต่อหน้าไปใช้เป็นมาตรฐานในการดำเนินงานเพื่อสุขภาวะของหญิงตั้งครรภ์
References
Dewheursts textbook of Obstetrics and Gynecology for postgraduates, 3rd trimester: Blackwell Science 1995: 228-250.
มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี. คู่มือโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โจเซฟโคราช; 2563.
ยงยส หัถพรสวรรค์และคณะ. การศึกษาประสิทธิผลของการดูแลภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์ สถานบริการสาธารณสุขของรัฐในประเทศไทย. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
UNICEF. The state of the world’s children 2009: Maternal and newborn health [Internet]. [cited 2020 Nov 20]. Available from: https://www.unicef.org/media/84866/file/SOWC-2009.pdf
กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางสำหรับการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
Health Data Center (HDC). รายงานมาตรฐานด้านสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ssk.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
ถาวร มาต้น. ระเบียบวิธีวิจัยทางสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2559.
บุญมี พันธ์ไทย. ระเบียบวิธีวิจัยการศึกษาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2557.
วรัญญา ภัทรสุข. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.
Wipawadee Pipatkul, Nittaya Sinsuksai & Wanna Phahuwatanakorn. (2015). Effects of a Nutrition and Iron Supplement Promoting Program on Iron Deficiency Anemia in Pregnant Women. J Nurse Sci. 33(1): 69–76.
Seck BC, & Jackson RT. Determinants of compliance with iron supplementation among pregnant women in Senegal. Public Health Nutrition 2007; 11(6): 596 – 605.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม