ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุของผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, อุบัติเหตุ, เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุแยกตามกลุ่มอายุ ในเขตพื้นที่ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสำรวจสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยภายในตัวบ้านและบริเวณรอบๆ ตัวบ้าน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์คราวละปัจจัยด้วยสถิติทดสอบ Chi-square test และ Fisher-exact test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์คราวละหลายปัจจัยด้วยสถิติทดสอบ Multiple logistic regression นำเสนอค่าความสัมพันธ์ด้วย Odds ratio และช่วงเชื่อมั่น 95% ผลการวิจัย พบว่าความชุกของการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 51.79 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุตอนปลาย 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 59.38 อุบัติเหตุที่พบในผู้สูงอายุส่วนใหญ่ คือ พลัดตกหกล้ม ร้อยละ 68.32 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุ โดยการคำนึงผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อายุ(ปี) การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัสสาวะในเวลากลางคืน การมองเห็น เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ บันได ลักษณะโถส้วม สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) กล่าวคือ กลุ่มอายุ 80 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็น 9.35 เท่าของกลุ่มอายุ 60-69 ปี (95%CI = 2.50 – 34.92) ลักษณะโถส้วมแบบนั่งยองๆมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็น 5.03 เท่าของโถส้วมแบบชักโครก (95%CI = 2.22 – 11.38) การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเป็น 4.80 เท่าของการใส่รองเท้าที่เหมาะสม (95%CI = 1.34 – 17.19) ดังนั้น จึงควรมีการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ
References
รพีพร โรจน์แสงเรือง. อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ (Geriatric Trauma) [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=941
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ“พิการ-เสียชีวิต” [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.hsri.or.th/people/media/infographic/detail/5319
ธนวรรษน์ สำกำปัง และกาญจนา นาถะพินธุ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2553; 18(1):61-9.
วรชาติ พรรณะ และกาญจนา นาถะพินธุ. สภาพแวดล้อมของที่พักอาศัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุแยกตามกลุ่ม อายุในเขตพื้นที่ตำบลโนนฆ้อง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2556; 11(1):86-91.
นพเก้า บัวงาม และกาญจนา นาถะพินธุ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุและปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7ขอนแก่น 2556; 25(2): 46-57.
ละออม สร้อยแสง, จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และกนกพร นทีธนสมบัติ. การศึกษาแนวทางการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุชุมชนมิตรภาพพัฒนา. วารสารพยาบาลทหารบก 2557; 15(1): 122-9.
วีรพันธ์ ซื่อสัตย์ และคณะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านโดยครอบครัว จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2562; 38(4): 462-9.
Lee VM, Wong TW, Lau CC. Home accidents in elderly patients presenting to an emergency department. Accid Emerg Nurs 1999; 7(2): 96-102.
Tromp AM, Pluijm SMF, Smit JH, Deeg DJH, Bouter LM, & Lips P. Fall-risk screening test. A prospective study on predictors for falls in community-dwelling elderly. Journal of clinical epidemiology 2001; 54: 837-44.
Sattin RW, Rodriguez JG, Devito CA, Wingo PA. Home environmental hazards and the risk of fall injury events among community-dwelling older persons. The American Geriatrics Society 1998; 46(6): 659-76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม