ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคน้ำอัดลมของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • อารี บุตรสอน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ปนัดดา โกษาแสง นักศึกษาหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • มาวิน วารินทรา นักศึกษาหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อรุณ บุญสร้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การตัดสินใจ, น้ำอัดลม, นักศึกษามหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคน้ำอัดลมของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 502 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ระหว่างเดือน มีนาคม 2563 ถึง ตุลาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Multiple logistic regression ประมาณช่วงเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95 ของ Adjusted Odds ratio กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 79.48 เคยดื่มน้ำอัดลม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.16 มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 77.69 ปัจจัยที่มีอิทธิพล คือ การสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมในระดับมากมีโอกาสที่จะตัดสินใจบริโภคน้ำอัดลมมากกว่าการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมในระดับน้อย 2.72 เท่า (ORadj=2.72, 95% CI=1.71-4.43) มหาวิทยาลัยจึงควรมีมาตรการที่จะควบคุมการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น จำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมภายในมหาวิทยาลัย

References

วรรณา ยงพิศาลภพ. แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2562-2564 อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Food-Beverage/Beverage/IO/io-beverage-20-th

วรรณา ยงพิศาลภพ. พัฒนาการและโครงสร้างอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในประเทศไทย. ฟู้ด โฟกัส ไทยแลนด์ 2563; 15(172): 50-9.

กรมสุขภาพจิต. โทษของน้ำอัดลม [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: https://new.camri.go.th/infographic/37

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ชุดความรู้เรื่อง การบริภาคเกินไม่ได้สัดส่วน หวานเกิน มันเกิน เค็มเกิน [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://thaincd.com/document/file/download/knowledge/ExcessiveSugar.pdf

จันทิพา เลาหะพงษ์. ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกบริโภคน้ำอัดลมของประชาชนในเขตนิคมอุสาหกรรมบางปู. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2551.

นัชชา ยันติ, อภิญญา อุตระชัย, กริซ เรืองไชย. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะน้ำหนักตัวเกินในนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564]. แหล่งข้อมูล: http://203.157.108.3/ptepho/Fileupload/research/20200325583290203-รายงานวิจัยเล่มสมบูรณ์16.3.63จัดหน้า.pdf

จุฑารัตน์ ตั้งธรรมากร. พฤติกรรมการซื้อ และปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดของประชาชนอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม.(วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557.

Philip Kotler. The Role Played by the Broadening of Marketing Movement in the History of Marketing Thought. Journal of Public Policy & Marketing 2005; 24(1): 114–6.

อนพัทย์ หนองคู. พฤติกรรมและปัจจัยด้านสื่อดิจิทัลทางการตลาดที่มีผลต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่สวนดุสิต. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2563; 12(2): 1-15.

อภิญญา จงรวมกลาง. กระบวนการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มโคคา-โคล่า (โค้ก) ของประชานในกรุงเทพมหานคร.สาขาการตลาด [อินเตอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564]. แหล่งข้อมูล: https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mlw11/sec1/6014963022.pdf

ศุภรัตน์ กุลเสน, สุทิน ชนะบุญ, ลำพึง วอนอก. พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มน้ำอัดลมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน 2562; 2(2): 75-86.

สุรพี หมื่นประเสริฐดี. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคสินค้าตามกระแสนิยมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2556.

สุชา ชุลสำลี และนนทยา ทางเรือ. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคกับระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมันในเลือดและค่าดัชนีมวลกายของพระภิกษุสงฆ์ในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561; 21(42): 107-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-23

How to Cite

บุตรสอน อ., โกษาแสง ป., วารินทรา ม., & บุญสร้าง อ. (2021). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคน้ำอัดลมของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(2), 130–137. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/249881