ผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดประยุกต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ธัญญาพร สายโน โรงพยาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
  • ปวีณา ลิมปิทีปราการ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อรุณ บุญสร้าง วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ปัณฑิตา สุขุมาลย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • พลากร สืบสำราญ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การประเมินผล, โปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์, ผู้ป่วยยาเสพติด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (A quasi–experimental study) แบบ one-group posttest-only design เพื่อศึกษาผลของการรักษาผู้ป่วยยาเสพติดด้วยโปรแกรมจิตสังคมบำบัดประยุกต์แบบผู้ป่วยนอก ในผู้ป่วยยาเสพติดที่รักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 ถึงเดือนสิงหาคม 2559 จำนวน 235 คน และสัมภาษณ์ผู้ให้การบำบัด 1 คน ผลการบำบัดประเมินจากการไม่เสพซ้ำที่ 3 เดือนและ 1 ปี หลังการบำบัด รวบรวมข้อมูลโดยแบบบันทึกข้อมูลจากประวัติการเข้ารับการบำบัดแต่ละราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ Probability Exact test และ Multivariable logistic regression พบว่ามีผู้ป่วย ร้อยละ 40.4 บำบัดครบตามโปรแกรม และไม่เสพซ้ำเมื่อสิ้นสุด 16 สัปดาห์ คนที่มีการเสพยาระหว่างการบำบัดจะมีโอกาสที่บำบัดไม่ครบมากกว่าคนที่ไม่มีการเสพยา 3.5 เท่า (ORadj 3.5 95%CI 1.7-6.9) ด้านผลการรักษาที่ 3 เดือนหลังการบำบัด มีผู้ป่วยร้อยละ 5.28 กลับไปเสพซ้ำ และมีสัดส่วนของการไม่กลับไปเสพซ้ำร้อยละ 38.3 และผลการรักษาที่ 1 ปีหลังการบำบัด มีผู้ป่วยร้อยละ 44.2 กลับไปเสพซ้ำ และไม่กลับไปเสพซ้ำร้อยละ 22.6 โดยกลุ่มที่มีการอยู่อาศัยกับภรรยาหรือญาติ ระดับการศึกษาสูงกว่าประถมศึกษา และเสพยาน้อยกว่า 5 ปี มีแนวโน้มที่จะไม่กลับไปเสพซ้ำ ในการแก้ไขปัญหาการหายไประหว่างการบำบัด และการติดตามหลังการบำบัด ควรเพิ่มการติดตามเชิงรุก โดยให้ครอบครัวและญาติมีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัด และเฝ้าระวังดูแลหลังการบำบัดด้วย

References

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 3. สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (ตุลาคม 2557 - กันยายน 2558). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม; 2559.

ประภาสี คัยนันท์. การขับเคลื่อนนโยบายการบำบัดรักษายาเสพติดของประเทศไทย. วารสารสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 2560; 33(1): 26-9.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม; 2559.

โสภิต แกล้วกล้า. การประเมินผลการบําบัดรักษาด้วยโปรแกรมจิตสังคมบําบัด (Matrix Program) ของคลินิกบําบัดการติดยาเสพติด สํานักอนามัย กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2551.

อัครพล คุรุศาตรา. แนวทางการดำเนินงานยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

วิภากรณ์ ปัญญาดี. ผลการปรับรูปแบบการบําบัดยาเสพติดแบบจิตสังคมบําบัด ต่อการปฏิบัติบัติตามแผนการบําบัด ของผู้รับการบําบัดยาเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีน. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร 2563; 3(3): 109-19.

สำนักยาและวัตถุเสพติด.คู่มือการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

สุชาติ เลาบริพัตร.การศึกษาผลการปฏิบัติงานของการบำบัดผู้ติดยาในลักษณะผู้ป่วยนอกตามแบบ Matrix Drug Treatment Model และการนำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย.รายงานหลักสูตรนักบริหารการทูต สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงการต่างประเทศ; 2555.

กลุ่มวิชาการพยาบาล. การป้องกันการกลับไปเสพซ้ำของผู้ป่วยยาเสพติด. ปัตตานี: กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี; 2560.

อารี สุภาวงศ์. ประสิทธิผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดประยุกต์โรงพยาบาลทุ่งสง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562; 36

(พิเศษ): 160-70.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-05

How to Cite

สายโน ธ., ลิมปิทีปราการ ป., บุญสร้าง อ., สุขุมาลย์ ป., & สืบสำราญ พ. (2021). ผลของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดตามรูปแบบจิตสังคมบำบัดประยุกต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี . วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 4(2), 78–88. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/247237