ผลของการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมาลาเรียของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • ลำพูน วรจักร์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
  • พุทธิไกร ประมวล กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ไข้มาลาเรีย, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 238 คน ใน 3 อำเภอชายแดนไทย-กัมพูชา โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ก่อนและหลังการทดลอง  ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 – 31 มีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลต่างของคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรียโดยใช้สถิติ Multilevel mixed-effects linear regression นำเสนอด้วยค่า Mean difference และช่วงความเชื่อมั่น 95%  พบว่า อสม.ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.43 อายุเฉลี่ย 47±9.79 ปี เคยป่วยเป็นไข้มาลาเรีย ร้อยละ 12.61 เคยได้รับการตรวจคัดกรองมาลาเรีย ร้อยละ 42.02 และเคยได้รับการอบรม ร้อยละ 70.71 ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคไข้มาลาเรีย แยกรายด้าน พบว่า ด้านความรู้ ด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ ด้านทักษะการสื่อสารและการสนับสนุนทางสังคม ด้านทักษะการตัดสินใจในการปฏิบัติตัว ด้านทักษะในการจัดการตนเอง และด้านทักษะการรู้เท่าทันสื่อ มีค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนทดลอง เท่ากับ 7.95±1.61, 3.62±0.67, 3.56±0.89, 3.92±0.73, 3.77±0.94 และ 3.82±0.96 ตามลำดับ และหลังทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 8.67±1.24, 4.02±0.52, 3.99±072, 4.15±0.48, 4.15±0.60 และ 4.20±0.66 ตามลำดับ คะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมทั้งก่อนและหลังทดลองอยู่ในระดับสูงร้อยละ 56.72 และ 84.03 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพก่อนและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่า หลังทดลอง อสม.มีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพมากกว่าก่อนทดลอง 15.42 คะแนน (Adjusted mean difference = 15.42, 95% CI = 12.10-18.74 p-value<0.001) ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จึงควรนำรูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพนี้ไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้มาลาเรียตามบริบทพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

References

1. สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียประเทศไทย พ.ศ.2560-2569. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559. 116.
2. ประยุทธ สุดาทิพย์, เสาวนิต วิชัยขัทคะ, และสุธีรา พูลลิน. การประเมินผลการดำเนินงานควบคุมโรคมาลาเรีย โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 43 จังหวัด ภายใต้โครงการกองทุนโลกรอบที่ 7: การประเมินเชิงนโยบายและผลกระทบการดำเนินงาน. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2011: 225-239.
3. สำนักระบาดวิทยา. สรุปสถานการณ์โรคไข้มาลาเรีย ประจำปี 2561: รายงานในระบบเฝ้าระวังโรค. แหล่งข้อมูล: http://www.boe.moph.go.th/boedb/
surdata/506wk/y61/d30_5261.pdf. [สืบค้นเมื่อ 1 มิ.ย. 2563].
4. ปรีชา ปิยะพันธ์. พฤติกรรมการป้องกันโรคมาลาเรียของประชาชนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7. 2556; (4): 30-39.
5. กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. แนวทางการปฏิบัติงานกำจัดโรคไข้มาลาเรีย สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562. 55-8.
6. คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. [online]. แหล่งข้อมูล: http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/
20180914162453_1_.pdf. [สืบค้นเมื่อ 1 มิ.ย. 2563].
7. เดือนนภา ศิริบูรณ์ และนพรัตน์ ส่งเสริม. ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียของตัวแทนครัวเรือนตำบลโดมประดิษฐ์ อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. SNRU journal of science and Technology. 2016; 8(3): 292-300.
8. สมหมาย งึมประโดน, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์ และสมศักดิ์ ศรีภักดี. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันโรคมาลาเรียโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลหนองแวง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2559; 23(1): 35-45.
9. สุวรรณี สิริเศรษฐภักดี. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคไข้มาลาเรียของประชาชนเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา. 2555; 18(2): 44-55.
10. รุ่งนภา อาระหัง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ภาควิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ; มหาวิทยาลัยคริสเตียน: 2560.
11. อุทัย เจริญจิตต์. ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพแลพฤติกรรมตาม 3อ 2ส ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง โรงพยาบาลบ้านโป่ง. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล. 2561; 3(2): 58-72.
12. จุพามณี กันกรุง. การศึกษาความฉลาดทางสุขภาวะของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). พิษณุโลก; มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม: 2558.
13. Cho, Y. I., Lee, S. Y., Arozullah, A. M., & Crittenden, K. S. (2008). Effects of health literacy on health status and health service utilization among the elderly. Social Science & Medicine,
66(8), 1809-1816.
14. Von Wagner, C., Knight, k., Steptoe, A., & Wardle, J. (2007). Functional health literacy and health promoting behavior in a national sample of British adults. Journal Epidemio Community Health, 61(12), 1086-1090.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-10

How to Cite

วรจักร์ ล. ., & ประมวล พ. . . (2020). ผลของการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมาลาเรียของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(3), 175–186. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/243603