การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด

Development of Prevention and Control Tuberculosis Model On New Pulmonary Tuberculosis Patients and Their Household Contaces in Health Network of Nong Phok District, Roi-Et Province

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ มิตรภานนท์ กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • รัชนี ระดา กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • เสฐียรพงษ์ ศิวินา กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การป้องกันและควบคุมวัณโรค, ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่, ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน

บทคัดย่อ

การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะที่ตรวจพบเชื้อรายใหม่ มีความสำคัญอย่างมากต่อแผนการดำเนินงานควบคุมและป้องกันวัณโรค การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา พัฒนารูปแบบ และประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรค สำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองพอก การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ปัญหาการป้องกันและวัณโรคในทีมสหสาขาวิชาชีพ 2) การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรค และ 3) การประเมินผลลัพธ์รูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 30 คน และใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ 117 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ความรู้ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านมีคะแนนความรู้และการปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมวัณโรคโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ หลังจากฝึกอบรมและพัฒนาตามรูปแบบแล้ว พบว่า ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมวัณโรคเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นเป็น 7.04  (Mean diff=7.04 95% CI; 5.97-8.11) และ 4.37 (Mean diff=4.37  95% CI; 3.48-5.26) ตามลำดับ ด้านปฏิบัติกิจกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรคมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้น 6.88 (Mean diff=6.88  95% CI; 4.84-8.92) ในผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ และมีคะแนนเพิ่มขึ้น 17.51 (Mean diff=17.51  95% CI; 16.44-18.57)  ในผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน จากผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสร่วมบ้านมีความรู้และการปฏิบัติกิจกรรมการป้องกันและควบคุมวัณโรคเพิ่มขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำรูปแบบนี้ไปใช้พื้นที่ต่อไป

References

อังกูร เกิดพานิช.วัณโรคในเด็ก…มีอะไรใหม่. เวชสารแพทย์ทหารบก 2550; 60(4): 101-118.

Ferguson JS, Schlesinger LS. Pulmonary surfactantin innate immunity and the pathogenesis of tuberculosis. Tubercle and Lung Disease 2000; 5(1): 173-184.

นัดดา ศรียาภัย. DOTS ไปสู่ยุทธศาสตร์หยุดยั้งวัณโรค. วารสารวัณโรคโรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤติ 2551; 29(3): 159-160.

ยุทธิชัย เกษตรเจริญ. ยุทธศาสตร์หลักในการควบคุมวัณโรค. วารสารวัณโรคโรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤติ 2550; 28(4): 75–76.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. เอกสารการตรวจราชการปี 2560. ร้อยเอ็ด; 2560.

โรงพยาบาลหนองพอก. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองพอกร้อยเอ็ด; 2560.

โรงพยาบาลหนองพอก. รายงานการปฏิบัติงานคลินิกวัณโรคโรงพยาบาลหนองพอก ร้อยเอ็ด; 2561.

ฉันทนา ชาวดร และเพชรไสว ลิ้มตระกูล. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดโรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555; 30(3): 78-86.

ปรียา สินธุระวิทย์ และวันเพ็ญ ปัณราช. การพัฒนาแนวทางการควบคุมวัณโรคในชุมชนของโรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2555; 30(3): 97-4.

มะลิณี บุตรโท และพรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. การป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านของผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อที่ขึ้นทะเบียนรักษา อำเภอประโคนชัย อำเภอกระสังและอำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น 2554; 18(3): 11-21.

เครือวัลย์ ดิษเจริญ. การค้นหารายป่วยวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอดโดยความร่วมมือ ของสมาชิกในครอบครัวและอาสาสมัครงานวัณโรคอำเภอเสลภูมิ-ทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557. 126 หน้า.

พิสิษฐ์กร โพธิ์ศรี. การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมโรคโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: ชุมชนเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554. 247 หน้า.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์; 2553: 99.

เฉลิมเกียรติ ตาตะมิ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์ และสุทิน ชนะบุญ. การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในพื้นที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562; 26(2): 36-47.

Green,LW., Kreuter,M.W. Health program planning: an educational and ecological Approach. Toronto. Mayfield Publishing Company 2005; 115-45.

อัจฉราพรรณ ค้ายาดี. การพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองอย่างมีส่วนร่วมต่อความสม่ำเสมอของการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ในผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2553. 93.

ธารารัตน์ สัจจาและกัลยาณี นาคฤทธิ์. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยวัณโรคของโรงพยาบาลระนอง.วารสารกองการพยาบาล 2555; 39(2): 22-35.

ศศิประภา ตันสุวัฒน์, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร และอารีวรรณ กลั่นกลิ่น. การพัฒนาแผนการดูแลทางคลินิกสำหรับการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อวัณโรคในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทั่วไป. พยาบาลสาร 2557; 41(4): 1-10.

สุรเดชช ชวะเดช. การพัฒนารูปแบบของการรักษาวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงกำกับ (DOT) อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2561; 8 (3): 339-351.

ดารารัตน์ โห้วงศ์ และปิยะณัฐ วิเชียร. การพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคปอดในผู้สูงอายุ โดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดสระแก้ว. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2562; 2(2): 83-94.

กาญจน์รวี ถิระเลิศพานิชย์. ผลของโปรแกรมการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคของผู้เสพยาเสพติด. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2561; 1(2): 63-76.

วีระวุธ แก่นจันทร์ใบ, สุมัทนา กลางคาร และสรญา แก้วพิทูลย์. ผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2561; 25(1): 79-90.

เนตรชนก จุละวรรณโณ. ผลการให้ความรู้รายบุคคลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยวัณโรค. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3(1): 17-30.

ปาจรีย์ ตรีนนท์, พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. การพัฒนาโปรแกรม

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยวัณโรคปอด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2557; 20(1): 52-66.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. คู่มืออบรม แนวทางมาตรฐานการดำเนินงานควบคุมวัณโรค สำหรับคลินิกวัณโรค. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

อรสา ลาวัลย์, จันทร์เพ็ญ โยประทุม และสุชิตา ปักสังคเน. ความสัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอดในผู้สัมผัสร่วมบ้าน ที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคอำเภอวาปีปทุม. มหาสารคาม: โรงพยาบาลวาปีปทุม; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-03

How to Cite

มิตรภานนท์ ส. . ., ระดา ร. ., & ศิวินา เ. (2020). การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมวัณโรคสำหรับผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่และผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านในเครือข่ายสุขภาพอำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด: Development of Prevention and Control Tuberculosis Model On New Pulmonary Tuberculosis Patients and Their Household Contaces in Health Network of Nong Phok District, Roi-Et Province. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 3(3), 164–174. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/242105