ผลการให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกพริกบ้านนาเยีย ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, ความปลอดภัย, เกษตรกรผู้ปลูกพริกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental Design) แบบหนึ่งกลุ่มทดลองวัดผลก่อน - หลัง (pretest-posttest one group design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติก่อนและหลังการได้รับความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกพริก บ้านนาเยีย ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 50 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือน สิงหาคม 2561 ถึง พฤษภาคม 2562 โดยรูปแบบในการให้ความรู้กับเกษตรกร ประกอบด้วย การจัดอบรม การอภิปรายกลุ่มและแจกสื่อแผ่นพับ ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน เปอร์เซ็นไทล์ ที่ 25,75 ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ เปรียบเทียบคะแนนทัศนคติก่อนและหลังการให้ความรู้ โดยใช้สถิติ Wilcoxon matched-pairs signed rank test ผลการศึกษา พบว่า หลังการให้ความรู้เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนทัศนคติเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการให้ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p–value<0.001) โดยก่อนการให้ความรู้ เกษตรกรมีคะแนน มัธยฐานทัศนคติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชก่อนการให้ความรู้ เท่ากับ 37.00 (IQR = 5.50) หลังการให้ความรู้มีคะแนน มัธยฐานของทัศนคติ เท่ากับ 44.00 (IQR = 4.25) และจากการศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 74 เมื่อพิจารณาพฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชรายข้อ พบว่าเกษตรกรปฏิบัติถูกต้องและปฏิบัติมากที่สุด ในเรื่องการสวมเสื้อแขนยาวและกางเกง ขายาวขณะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ร้อยละ 94 ซึ่งเป็นพฤติกรรมในขณะฉีดพ่น ขณะที่พฤติกรรมในเรื่องการเผาภาชนะบรรจุสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ยังพบมากถึงร้อยละ 54 ดังนั้น รูปแบบการให้ความรู้ในงานวิจัยนี้จึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเกษตรกรในพื้นที่อื่นได้ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน การกระตุ้นและการส่งเสริม ให้เกษตรกรมีความรู้ เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยอย่างต่อเนื่องต่อไป
References
ภัทรษมน รัตนางกูร. ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม มุมมองบริบททฤษฎีขบวนการทางสังคมใหม่ (New Social Movement-NSM) [online]. แหล่งข้อมูลhttp://phatrasamon.blogspot.com /2010/new-social-movement-nsm.html. [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2562].
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2554 -2560 [online]. แหล่งข้อมูล.http://oldweb. oae.go.th/economicdata/pesticides.html. [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2562].
กรมควบคุมโรค. ผลกระทบต่อสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช [online]. แหล่งข้อมูล. http://envocc. ddc.moph.go.th/contents/view/106. [เข้าถึงเมื่อ 3 เมษายน 2562].
กรมควบคุมโรค.สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบต่อสุขภาพ [online]. แหล่งข้อมูล. http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/405. [เข้าถึงเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2561].
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองอุบลราชธานี. ข้อมูลจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกพริก. 2561.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไร่น้อย.ข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง. 2561.
โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวิชิราลงกรณ์.ข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยพิษจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. 2561.
ชูชีพ สืบทรัพย์. ผลการให้สุขศึกษาต่อการปรับความรู้ และพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกรอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ). คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2551
เสาวนีย์ หน่อแก้ว.ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนต่อการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกพริก ในตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2552
สุรัตน์ ตรีสุกล.การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก และไม่เป็นสมาชิกโครงการพยากรณ์ และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2549.
อาทิตย์ คชชา. ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมต่อโครงการ "โรงงานสีขาว. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2550.
เนตรชนก เจริญสุข.ประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของชาวนา ในอำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559; 26(1): 91-101
กรมควบคุมโรค. คู่มือสำหรับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน.กรุงเทพฯ: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. 2553.
พิชิต วรรณราช. การศึกษาทัศนคติของผู้นำชุมชนที่มีต่อบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบล ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในอุทยานแห่งชาติดอยหลวง. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 8 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ขอนแก่น. 2549
วรเชษฐ์ ขอบใจ.พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำ: กรณีศึกษาชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดพะเยา.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2553; 4(2): 36-46.
สำรวย แสงดารา.ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง จังหวัดข่อนแก่น.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยข่อนแก่น. 2541.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม