ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันพอกตับในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ช่องท้องในเขตอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชุติมันต์ อุดมพรมงคล กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ภาวะไขมันพอกตับ, ภาวะเมตะบอลิก, การตรวจอัลตราซาวน์, ระดับไขมันในเลือด

บทคัดย่อ

     

การศึกษาวิจัยแบบวิเคราะห์ตัดขวางครั้งนี้ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลประชากรที่ไม่ได้ดื่มสุรา ในเขตอำเภอเดชอุดม ที่เข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ช่องท้อง ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดมในช่วงเวลาตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2559 ถึงเดือนกรกฎาคม 2561 เก็บข้อมูลประวัติทางการแพทย์ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อศึกษาอัตราการเกิดไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในเขตพื้นที่เดชอุดม วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะไขมันพอกตับ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 300 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 60.7 และเพศชายร้อยละ 39.3 มีภาวะเมตะบอลิก ร้อยละ 41.3 พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 79.: 21) ตรวจพบภาวะไขมันพอกตับ ร้อยละ 46.0 พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (ร้อยละ 71: 29) เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันพอกตับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value=0.001) ผลการเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกาย น้ำหนัก รอบเอว และระดับไขมัน Triglyceride ในเลือดของผู้ป่วยที่มีไขมันพอกตับกับไม่มี พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์คราวละหลายปัจจัยโดยใช้สถิติ multiple logistic regression พบว่า เพศหญิง กลุ่มที่มีค่าดัชนีมวลกาย ≥ 23 กิโลกรัม/ (เมตร)2 ขนาดรอบเอว > 90 เซนติเมตร ระดับไขมัน Triglyceride ในเลือด > 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันพอกตับมากกว่ากลุ่มที่ไม่มี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) จากงานวิจัยนี้อาจใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเมื่อพบผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันพอกตับ เพื่อให้การรักษาก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะอักเสบในตับ หรือเซลล์ตับตาย เกิดพังผืดภายในตับ จนกลายเป็นโรคตับแข็ง ควรให้คำแนะนำกับผู้ป่วยที่ตรวจพบภาวะไขมันพอกตับ ให้ควบคุมน้ำหนัก ลดขนาดรอบเอว ลดค่าดัชนีมวลกาย และอาจพิจารณาตรวจระดับไขมัน Triglyceride ในเลือด เพื่อการวินิจฉัยภาวะไขมันในเลือดสูง ในรายที่มีความเสี่ยง ซึ่งการพิจารณาในการเจาะไขมัน Triglyceride ในเลือด ในผู้ป่วยทุกรายที่พบภาวะไขมันพอกตับนั้น อาจต้องพิจารณา cost effectiveness ร่วมด้วย

References

1. Ludwig J, Viggiano TR, McGill DB, Oh BJ. Nonalcoholic steatohepatitis: Mayo Clinic experiences with a hitherto unnamed disease. Mayo Clin Proc. 1980;55(7):434-8.

2. Bellentani S, Scaglioni F, Marino M, Bedogni G. Epidemiology of non-alcoholic fatty liver disease. Dig Dis. 2010;28(1):155-61.

3. S Merat, S Yarahmadi, S Tahaghoghi1, Z Alizadeh, N Sedighi, N Mansournia1, et al. Prevalence of Fatty Liver Disease among Type 2 Diabetes Mellitus Patients and its Relation to Insulin Resistance. [online], 2009. Available from: https://pdfs.semanticscholar.org/7eb3/99fd94c9b954a2a500bba60fc4a37728101e.pdf [cites 2018 July 24].

4. De Lusong MA, Labio E, Daez L, Gloria V. Non-alcoholic fatty liver disease in the Philippines: comparable with other nations? World J Gastroenterol. 2008; 14(6):913-7.

5. Targher G. Non-alcoholic fatty liver disease, the metabolic syndrome and the risk of cardiovascular disease: the plot thickens. Diabet Med. 2007; 24(1):1-6.

6. Chen CH, Huang MH, Yang JC, Nien CK, Yang CC, Yeh YH, et al. Prevalence and risk factors of nonalcoholic fatty liver disease in an adult population of taiwan: metabolic significance of nonalcoholic fatty liver disease in nonobese adults. J ClinGastroenterol. 2006; 40(8):745-52.

7. Kladchareon N, Treeprasertsuk S, Mahachai V, Wilairatana P, Kullavanijaya P. The prevalence of nonalcoholic steatohepatitis in Thai patients with non-HBV, non-HCV chronic hepatitis. J Med Assoc Thai. 2004;87Suppl 2:S29-34.

8. ณัฐฐาภณิตา รพีพงษ์พัฒนา, มาศ ไม้ประเสริฐ, พัฒนา เต็งอำนวย. อุบัติการณ์ของภาวะไขมันเกาะตับและความสัมพันธ์กับกลุ่มภาวะเมตะบอลิกในประชากรไทยที่รับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลพญาไท 2 กรุงเทพฯ.[online]. แหล่งข้อมูล: http://archive.mfu.ac.th/school/anti-aging/File_PDF/Research_PDF54/4.pdf [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561].

9. Bedossa P. Current histological classification of NAFLD: strength and limitations. Hepatol Int. 2013;7Suppl 2:765-70.

10. Hsieh, F.Y., Bloch, D.A. & Larsen, M.D. A simple method of sample size calculation for Linear and logistic regression. Statistics in medicine. 1998;17(14):1623–34.

11. Bundit P, Prevalence of nonalcoholic fatty liver disease (NAFLD) and correlation between revalence of NAFLD and obesity in people living in borabue district, Mahasarakham province. 2017; 14(2): 22-28.

12. ชาญชัย ธงพานิช. ปัญหาและผลกรทบของสัราและยาเสพติด. [online]. แหล่งข้อมูล:https://www.tyrkk.go.th/web/uploads/ck/files/Problemsandtheeffectsofdrugs.pdf [เข้าถึงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561].

13. Lipsy RJ. The National Cholesterol Education Program Adult Treatment Panel III guidelines. J Manag Care Pharm. 2003;9(1 Suppl):2-5.

14. Summart U, Thinkhamrop B, Chamadol N, Khuntikeo N, Songthamwat M, Kim CS. Gender differences in the prevalence of nonalcoholic fatty liver disease in the Northeast of Thailand: A population-based cross-sectional study. F1000Res. 2017;6:1630.

15. Cuenza LR, Razon TLJ, Dayrit JC. Correlation between severity of ultrasonographic nonalcoholic fatty liver disease and cardiometabolic risk among Filipino wellness patients. J CardiovascThorac Res. 2017;9(2):85-9.

16. Chalasani N, Younossi Z, Lavine JE, Diehl AM, Brunt EM, Cusi K, et al. The diagnosis and management of non-alcoholic fatty liver disease: practice Guideline by the American Association for the Study of Liver Diseases, American College of Gastroenterology, and the American Gastroenterological Association. Hepatology. 2012;55(6):2005-23.

17. Thinkhamrop K, Khuntikeo N, Phonjitt P, Chamadol N, Thinkhamrop B, Moore MA, et al. Association between Diabetes Mellitus and Fatty Liver Based on Ultrasonography Screening in the World's Highest Cholangiocarcinoma Incidence Regin, Northeast Thailand. Asian Pac J Cancer Prev. 2015;16(9):3931-6.

18. Phisalprapa P, Supakankunti S, Charatcharoenwitthaya P, Apisarnthanarak P, Charoensak A, Washirasaksiri C, et al. Cost-effectiveness analysis of ultrasonography screening for nonalcoholic fatty liver disease in metabolic syndrome patients. Medicine (Baltimore). 2017;96(17):e6585.

19. พบแพทย์ 2561. [online]. แหล่งข้อมูล: https://www.pobpad.com [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26

How to Cite

อุดมพรมงคล ช. (2019). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะไขมันพอกตับในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ช่องท้องในเขตอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(3), 182–192. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/222305