การประเมินโครงการค้นหาและคัดกรองผู้ได้รับสเตียรอยด์และผู้ป่วยจากสเตียรอยด์ในเขตสุขภาพที่ 10
คำสำคัญ:
การคัดกรอง, ผู้ใช้สเตียรอยด์, CIPP Model, เขตสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการค้นหาและคัดกรองผู้ได้รับสเตียรอยด์และผู้ป่วยจากสเตียรอยด์ในเขตสุขภาพที่ 10 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2560 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประสานงานโครงการ จำนวน 31 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย ด้านบริบท พบว่า เป็นโครงการแก้ปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.03) สอดคล้องกับนโยบายเขตสุขภาพ ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.65) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า โครงการได้รับความร่วมมือจากชุมชน เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลชุมชน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.06) งบประมาณที่ได้รับสนับสนุนมีความเหมาะสม ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.77) การสนับสนุนชุดตรวจสอบสาร สเตียรอยด์เหมาะสม ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.35) การสนับสนุนด้านวิชาการในระหว่างการดำเนินงานเหมาะสม ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.47) ด้านกระบวนการ พบว่า การดำเนินกิจกรรมในระดับเขตมีความเหมาะสม ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.26) การดำเนินกิจกรรมในระดับพื้นที่มีความเหมาะสม ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.35) การติดตามผลดำเนินงานมีความเหมาะสม ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.97) ด้านผลผลิต พบว่า การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.77) ผู้ประสานงานโครงการมีความพึงพอใจ ร้อยละ 87.10 จึงควรมีการขยายผลโครงการให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ทุกหมู่บ้าน เพื่อค้นหาผู้ป่วย และนำเข้าสู่ระบบการรักษาที่ถูกต้อง
References
2. เด่นชัย ดอกพอง. การประเมินผลโครงการ การจัดการสเตียรอยด์โดยเครือข่ายชุมชน ตำบลศรีตระกูล อำเภอ
ขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 19; (5): 845-53.
3. เด่นชัย ดอกพอง. การจัดการสเตียรอยด์โดยเครือข่ายชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ. ใน: ยุพดี ศิริสินสุข (บรรณาธิการ). รายงานสถานการณ์ระบบยา ปี 2554. กรุงเทพฯ: แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา; 2554.
4. เด่นชัย ดอกพอง. สรุปผลดำเนินงานโครงการค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยจากสเตียรอยด์ในชุมชน เขตสุขภาพที่ 10. แผนงานสร้างกลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา; 2560.
5. สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. การออกแบบการกำกับงาน และประเมินผลโครงการ. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 12; (1): 49-62.
6. Stufflebeam DL, Madaus, GF, Kellaghan T. Evaluation Models. Viewpoints on Educational and Human Services Evaluation. 2nd ed. Boston: Springer; 2000.
7. Best, J. W. (1981). Research in education. 4th ed. New Jersey: Prentice Hall; 1981.
8. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. การจัดการสเตียรอยด์ที่คุกคามชีวิตคนไทย. สมัชชาสุขภาพ [online], 2557. แหล่งข้อมูล; https://www.samatcha.org/ node/71. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562].
9. เทพศักดิ์ อังคณาวิศัลย์, ผณินชิสา มุสิกะไชย. การถอดบทเรียนจากโครงการจัดการความปลอดภัยด้านยาในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม ของภาคีเครือข่ายในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาระหว่างปี 2558-2560. วารสารเภสัชกรรมไทย. 10; (1): 142-160.
10. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรมวิทย์ with you [online], 2562. แหล่งข้อมูล; http://alert.dmsc.moph. go.th/. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562].
11. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ตรวจสอบการอนุญาต [online], 2562. แหล่งข้อมูล; https://porta. fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562].
12. สำนักข่าว Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. เภสัชกร ชี้ยาดีต้องไม่ออกฤทธิ์หวือหวา-หายป่วยทันใจ. . Hfocus [online], 2560. แหล่งข้อมูล; https://www.hfocus. org/content/2017/03/13680. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562].
13. รุ่งนภา คำผาง และคณะ. โครงการพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพบริการปฐมภูมิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระยะที่ 1. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ [online], 2560. แหล่งข้อมูล; http://www. hitap.net/wp-content/uploads/ 2015/10/QOF-PhaseI_final.pdf. [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2562].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม