การพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคปอดในผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
วัณโรคปอด, ผู้สูงอายุ, รูปแบบการป้องกัน, ชุมชนมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
วัณโรคปอดในผู้สูงอายุยังคงเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญแต่ยังขาดรูปแบบการป้องกันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จึงทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ (PAOR) เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคปอดในผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของขุมชน ในพื้นที่ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ 1)กลุ่มตัวอย่างในการจัดเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และการพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคปอดในผู้สูงอายุโดยกระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม คัดเลือกแบบเจาะจงจากบุคลากรสาธารณสุข ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บุคลากรจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคและตัวแทนประชาชนในชุมชนจำนวน 30 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่จะทดลองใช้รูปแบบการป้องกันวัณโรคปอดที่พัฒนาขึ้น ซึ่งเลือกแบบเจาะจงกับตัวอย่างผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว จำนวน 30 คน ดำนินกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระหว่างตุลาคม 2561 - มกราคม 2562 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ การสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการคัดกรองวัณโรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลต่างด้วย Paired T-test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการป้องกันวัณโรคปอดในผู้สูงอายุที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การสร้างองค์ความรู้เรื่องวัณโรคและส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่ 2) พัฒนาองค์ความรู้ด้านวัณโรคให้บุคลากรสาธารณสุขและแกนนำในชุมชน 3) เพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยใช้คัดกรองเชิงรุกด้วยวาจา รถเอ็กเรย์เคลื่อนที่ การตรวจทางอณูวิทยา และ 4) สร้างแนวทางการติดตามผู้ป่วยวัณโรคในพื้นที่ ผลการเปรียบเทียบความรู้เรื่องวัณโรคปอดของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการป้องกันวัณโรคในผู้สูงอายุ พบว่าในด้านความรู้ หลังการทดลองผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างคะแนนความรู้เกี่ยวกับวัณโรคปอด การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคในการปฏิบัติเพื่อป้องกันวัณโรค แรงจูงใจในการป้องกันวัณโรคและการปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคหลังการทดลองมีค่าค่าเฉลี่ยความแตกต่างคะแนนเพิ่มมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันวัณโรคในผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถป้องกันวัณโรคปอดในผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
2. สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย พ.ศ. 2561. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
3. World Health Organization. Global Tuberculosis report 2017. Geneva: World Health Organization; 2017.
4. กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการตรวจราชการ ระดับจังหวัด (ตก.1) คณะที่ 2 ประเด็นตรวจ INS 2.3 การพัฒนาประเด็นนโยบายสำคัญ : อัตราความสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่จังหวัดสระแก้ว เขตสุขภาพเขต 6 ตรวจราชการวันที่ 09/07/2561 ถึงวันที่ 11/07/2561. นนทบุรี: กองตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561 [cited 2561 พฤศจิกายน2]; Available from: https://bie.moph.go.th/e-insreport/report_ch.php?nasubject_id=95&id_regroup=1&id_area=6&around=2&id_group=2&province_id=62&year=2561.
5. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว. รายงานการตรวจราชการระดับจังหวัด รอบที่ 2/2561. สระแก้ว: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระแก้ว; 2561.
6. วีระวุธ แก่นจันทร์ใบ, สุมัทนา กลางคาร, สรญา แก้วพิทูลย์. ผลของโปรแกรมการสร้างการรับรู้ต่อการป้องกันวัณโรคปอดของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น2561;25(1):79-90.
7. วิวรรธน์ มุ่งเขตกลาง, สมาพร โสภาจิตร์. ประสิทธิภาพของแบบคัดกรองวัณโรคในผู้สูงอายุโรงพยาบาลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 2560.
8. Montaisong K. The factors predicting tuberculosis preventive behaviors among the tuberculosis contacts in the Bangkok area and perimeter [Master of Nursing Science]. Pathumtani: Thammasat University 2016.
9. จินตวีร์ เกษมศุข. แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561;26(50):169.
10. Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong,Victoria: Deakin University Press.; 1988.
11. Faul F, Erdfelder E, Buchner A, Lang A-G. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41, 2009;41:1149-60.
12. จรณิต แก้วกังวาล, ประตาป สิงหศิวานนท์. ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยทางคลินิก. ใน: พรรณี ปิติสุทธิธรรม, ชยันต์ พิเชียรสุนทร, บรรณาธิการ. ตำราการวิจัยทางคลินิก. กรุงเทพฯ: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554. p. 107-43.
13. ศิริชัย กาญจนวาสี. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสําหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4 ed. กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์; 2544.
14. สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, อริสรา ฤทธิ์งาม, ชรัญญากร วิริยะ, ตระกูลวงศ์ ฦๅชา, เจนจิรา เจริญการไกร, นิสากร กรุงไกรเพชร, และคณะ. การสร้างเสริมสุขภาพในการควบคุมวัณโรค : กรณีศึกษานวัตกรรม การสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยวัณโรคโรงพยาบาลวังน้ำเย็น. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา2558;23(4):1-22.
15. บุญยัง ฉายาทับ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดด้วยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำทัณฑสถาน [ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.
16. สําเริง ซึมรัมย์, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, สมศักดิ์ ศรีภักดี. การพัฒนารูปแบบการดําเนินงานป้องกันและควบคุมวัณโรคโดยการมีส่วนร่วม ของชุมชน อําเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2558;12(1):139-50.
17. สายทิพย์ ผลาชุม, พัชรี หลุ่งหม่าน, อัจริยา วัชราวิวัฒน์. การพัฒนาสมรรถนะการป้องกันวัณโรคปอดสำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงของอาสาสมัครสาธารณสุข ตำาบลเขาต่อ อำาเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558;3(3):307-19.
18. อวินนท์ บัวประชุม, วันเพ็ญ ปณราช. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยวัณโรคปอดอย่างมีส่วนร่วมในชุมชน อําเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ2559;34(3):54-60.
19. สมพงษ์ จรุงจิตตานุสนธ์. รูปแบบการเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคในเขตเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข2560;26(2):571-8.
20. สุพร กาวินำ, กิตติพัทธ์ เอี่ยมรอด. การคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในประชากรกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ติดสุรา. วารสารวิชาการสาธารณสุข2560;26(3):561-70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม