ความตั้งใจในการขับขี่รถจักรยานยนต์ฝ่าสัญญาณไฟจราจรของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
Driving motorcycle through traffic lights, Student, Ubon Ratchathani Universityบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจในการขับขี่รถจักรยานยนต์ฝ่าสัญญาณไฟจราจรของนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กับกลุ่มตัวอย่างจำนวนที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 268 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ Chi-square test, Kruskal-Wallis test และ Mann-Whitney U Test ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาร้อยละ 6.0 มีความตั้งใจในการขับขี่รถจักรยานยนต์ฝ่าสัญญาณไฟจราจร นักศึกษา 3 กลุ่มสาขาวิชา ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีค่ามัธยฐานคะแนนความตั้งใจในการขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.001) และเมื่อนำไปทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ พบว่า ค่ามัธยฐานคะแนนความตั้งใจในการขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจรระหว่างนักศึกษากลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและกลุ่มมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.048) และการศึกษานี้ยังพบว่าการมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์และการมีผู้ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการขับรถฝ่าสัญญาณไฟจราจรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.02 และ 0.01 ตามลำดับ) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎจาจรมากขึ้นและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ปลอดภัยในนักศึกษาทุกกลุ่ม
References
[online]. แหล่งข้อมูล : http://service.nso.go.th/nso/ web/statseries/statseries21.html [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561].
2. WHO. Violence and Injury Prevention: Global status report on road safety 2013; 2014 [online]. Available from: https://www.who.int/violence _injury_prevention/road_safety_status/2015/en/ [เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561].
3. Megan Gannon. Countries with the Most and Least Car-Crash Deaths [online]. Available from: https://www.livescience.com/43466-countries-with-deadliest-roads.html [เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561].
4. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเปรียบเทียบข้อมูล 2 ฐาน [online]: แหล่งข้อมูล: http://thaincd.com/document/file/ info/injured/ [เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561].
5. กรมทางหลวง. สถิติอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ.2554 [online]. แหล่งข้อมูล: http://bhs.doh.go.th/files/Project/Roadsides/Report%20All/Final%20Report_2 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561].
6. หน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน. อุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล [online]. แหล่งข้อมูล: https://www.livescience.com/43466-countries-with-deadliest-roads.html [เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2561].
7. Texas Transportation Institute. Red-Light-Running Handbook: An Engineer’s Guide to Reducing Red-Light Related Crashes. USA: Texas Transportation Institute, the Texas A&M University System; 2004.
. Icek Ajzen. Behavioral Interventions Based on the Theory of Planned Behavior; 2006. [online]. Available from: https://people.umass.edu/aizen/ pdf/tpb.intervention.pdf [เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561]
9. ชมรมกู้ชีพ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สรุปรายงานอุบัติเหตุในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2559. [online]. แหล่งข้อมูล : http://www.ubu.ac.th/new/index. php?page=ubu_event [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2561].
10. ธนากรณ์ ติยะบุตรและคณะ. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในการฝ่าสัญญาณไฟแดง. ในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 20; 8-10 กรกฎาคม 2558; ชลบุรี. 1-11. [online]. แหล่งข้อมูล: http://trsl.thairoads.org/ FileUpLoad/1572/151204001572.pdf [เข้าถึงเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2561].
11. Charles Osgood. Semantic Differential Scaling [Online]. 1952. Available from: https://www. researchgate.net/profile/Benjamin_Rosenberg2/publication/320808961_SEMANTIC_DIFFERENTIAL_SCALING/links/59fb59c10f7e9b9968b9cd7b/SEMANTIC-DIFFERENTIAL-SCALING.pdf [เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562].
12. ปวีณา คําพุกกะ, อุไรรัตน์ ยามรัมย์ และสุชาดา ชมชื่น. พฤติกรรมการฝ่าฝืนกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2555; 1(2): 59-75.
13. กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ และ เอื้ออารีย์ เจนศุภการ. รายงานฉบับสมบูรณ์การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยก [online]: 2558. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก:
http://www.thairoads.org/wp-content/uploads/2015/01/การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร.pdf
14. ปัญญ จันทรสุขโข. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการกระทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2556; 24(1): 110-120.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกเพื่อการพัฒนางานด้านวิชาการ แต่ต้องได้รับการอ้างอิงที่ถูกต้องเหมาะสม