ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 ในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์ ทองนพคุณ สาขาวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศิริอร โชคบำรุง สาขาวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การปรับตัว, การรับน้อง, สถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยแบบตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวในมหาวิทยาลัย ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี จำนวน 418 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.7  พักอาศัยในหอพักนอกมหาวิทยาลัย ร้อยละ 50.7 เข้าร่วมกิจกรรมรับน้องประชุมเชียร์ ร้อยละ 84.7 นักศึกษาถึง    ร้อยละ 44.5 ได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ในระดับน้อย การปรับตัวอยู่ในภาพรวมอยู่ในระดับสูงเพียงร้อยละ 3.6 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม พบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ (p<0.01) และกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยแบบเปิดเผยไม่ลับตา (p<0.05) แรงสนับสนุนจากนักศึกษารุ่นพี่ (p<0.01) มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวในมหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาควรสนับสนุนให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าร่วมกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ โดยผู้ที่เกี่ยวข้องควรควบคุมดูแลให้กิจกรรมต่างๆ เป็นไปโดยเปิดเผยไม่ลับตา และควรเน้นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษารุ่นพี่กับรุ่นน้อง เพื่อเสริมสร้างการปรับตัวที่ดีในมหาวิทยาลัยให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ต่อไป

References

1. ประเวศ วะสี. จุดเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทย-จุดเปลี่ยนประเทศไทย. โพสต์ทูเดย์. 2555 31 กรกฏาคม 2555.

2. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. เกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. 2560.

3. มัลลิกา วีระสัย และ ประดิษฐา นาครักษา. สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมของนักศึกา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพมหานครฯ; 2557.

4. Assembly S-fWH. Resolution WHA 64.28: Youth and health risks Geneva: World Health Organization; 2011 Available from: https://apps.who.int/gb/ebwha/pdf_files/WHA64/A64_R28-en.pdf.

5. อรอนงค์ นิยมธรรม, มาลา เทพมณี, วรเกียรติ ทองไทย. การ ปรับ ตัว ของ นักศึกษา มหาวิทยาลัย เทคโนโลยี ราช มงคล ล้าน นา ตาก. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว. 2017; 12(1).

6. Coleman JC, Butcher JN, Carson RC. Abnormal psychology and modern life: Scott Foresman; 1980.

7. จินตนา ดูใจ. ความพึงพอใจต่อกิจกรรมรับน้องของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต).คณะเภสัชศาสตร์. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2555.

8. Darwin C. On the origin of species, 1859: Routledge; 2004.

9. Agarwal H. Ragging: History & Evolution CURE Report 2005/07-27 2005. [Online]. Available from: https://www.noragging.com.

10. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. การจัดกิจกรรมต้อนรับน้องใหม่และประชุมเชียร์ในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ; 2561.

11. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สำมะโนประชากรและเคหะ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2553 [Online]. Available from: https://popcensus.nso.go.th/table_ stat.php?

12. ไตรถิกา นุ่นเกลี้ยง. ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบและผลกระทบของการจัดกิจกรรมการรับน้องใหม่ และประชุมเชียร์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2557 [Online]. Available from: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/11116/1/415818.pdf.

13. Green LW, Marshall W. Kreuter: Health Program Planning: An educational and ecological approach. MC Graw Hill co.; 2005.

14. Cochran WG. Sampling Techniques. John Wiley & Sons. New York. 1977.

15. พูนพร ศรีสะอาด. การศึกษาเปรียบเทียบการสนับสนุนทางสังคมที่มีผลต่อความวิตกกังวลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 4 ของวิทยาลัยพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2534.

16. ดารณี ประคองศิลป์. การศึกษาปัญหาการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. กรุงเทพมหานครฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2530.

17. Mooney RL, Gordon LV. Mooney Problem Check Lists. [Manual]. 1950.

18. Conbach LJ. Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw Hill; 1984.

19. ณัฐวุฒิ ศรีวัฒนาวานิช. การปรับตัวในมหาวิทยาลัยของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2556.

20. สุริยัน อ้นทองทิม, ภูกิจ เล้าจีรัณกุล, ศศิวิมล พจน์พาณิชพงศ์, ชลิตตาภรณ์ ดวงติ๊บ. การปรับตัวของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สถาบันอุดมศึกษาภายในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 2558;23 (1):18-25.

21. ชนัดดา เพ็ชรประยูร, ชูศรี เลิศรัตร์เดชา, และ นนริรัตน์ พัฒนภักดี. ความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2554;21(1):157-66.

22. House JS. Work stress and social support. Addison-Wesley Series on Occupational Stress. 1983.

23. ณัฐดนัย เอี่ยมวัฒนเสรี. สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของ มหาวิทยาลัยของรัฐในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2556.

24. ไพศาล แย้มวงษ์. การศึกษาการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555.

25. จารุชา บรรเจิดถาวร. ความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตปริญญาตรีที่ได้รับทุนการศึกษาในคณะพาณิชยศาสตร์และบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2560.

26. บุรียา แตงพันธ์, คณิต เขียววิชัย. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเผชิญปัญหาของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-31

How to Cite

ทองนพคุณ เ., & โชคบำรุง ศ. (2019). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 ในจังหวัดชลบุรี. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(2), 75–82. สืบค้น จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmpubu/article/view/193039