การพัฒนาต้นแบบโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการวัยแรกเกิดถึง 5 ปี ในรูปแบบบริการออนไลน์ กรณีศึกษาสถาบันราชานุกูลในช่วงการระบาดไวรัส COVID-19

ผู้แต่ง

  • นิรมัย คุ้มรักษา, กศ.ม. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
  • จันทนี มุ่งเขตกลาง, ปร.ด. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
  • รัชดาวรรณ์ แดงสุข, วท.ม. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

การส่งเสริมพัฒนาการ, ความบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ, โปรแกรมออนไลน์, ทักษะผู้ปกครอง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาต้นแบบโปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการวัยแรกเกิดถึง 5 ปี (TEDA4I) รูปแบบออนไลน์ และศึกษาผลของโปรแกรมต่อทักษะการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการของผู้ปกครองและพัฒนาการของเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ

วิธีการ : การวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงบรรยายเกี่ยวกับสถานการณ์ ความต้องการ และความจำเป็นในการพัฒนา ใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาเชิงระบบ ระยะที่ 2 การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาต้นแบบโปรแกรม TEDA4I online ที่ให้บริการที่บ้าน และ TEDA4I onsite ที่ให้บริการ ณ สถานบริการเป็นหลัก ตรวจสอบคุณภาพจากความตรงเชิงเนื้อหา และระยะที่ 3 การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังเพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมทั้ง 2 รูปแบบในผู้ปกครองและเด็กอายุ 0 - 5 ปีที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา paired t-test และ independent t-test

ผล : การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพบว่า ผู้รับบริการต้องการรับบริการต่อเนื่องและสามารถรับบริการในรูปแบบออนไลน์ได้ การตรวจสอบคุณภาพพบว่า โปรแกรม TEDA4I ที่พัฒนาขึ้นทั้ง 2 รูปแบบมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระดับใช้ได้ การศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง 39 คน (ผู้ปกครอง 19 คน เด็ก 20 คน) ที่เข้าร่วม TEDA4I online และ 41 คน (ผู้ปกครอง 20 คน เด็ก 21 คน) ที่เข้าร่วม TEDA4I onsite พบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยทักษะของผู้ปกครองและพัฒนาการของเด็กสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยหลังเข้าร่วมโปรแกรมไม่แตกต่างกัน

สรุป : โปรแกรม TEDA4I ทั้ง 2 รูปแบบสามารถเพิ่มทักษะการประเมินและส่งเสริมพัฒนาการของผู้ปกครองและพัฒนาการของเด็กกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ

Downloads

Download data is not yet available.

References

นิรมัย คุ้มรักษา, รัชดาวรรณ์ แดงสุข, ธัญหทัย จันทะโยธา. ผลของโปรแกรม TEDA4I ในเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการในจังหวัดกาญจนบุรี [Effect of TEDA4I on child development of children with delay development in Kanchanaburi province]. วารสารราชานุกูล. 2561;33(1):19-29.

สมัย ศิริทองถาวร. การพัฒนาเครื่องมือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ [Development of assessment tools to assist young children with developmental problems]. เชียงใหม่: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์; 2562.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของเด็กอายุ 9, 18, 30, 42, 60 เดือน ที่คัดกรองพัฒนาการแล้วพบว่ามีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการด้วย TEDA4I หรือเครื่องมือมาตรฐานอื่น [Percentage of children aged 9, 18, 30, 42, 60 Months in which developmental delays were screened and received developmental stimulation with TEDA4I or other standard tools] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2565]. จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id%20=ea11bc4bbf333b78e6f53a2 6f7ab6c89&id=023dcdc36f90b6b070358fbc6727c768

กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพจิตเด็กปฐมวัย สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร. รายงานร้อยละของเด็กอายุแรกเกิดถึง 5 ปี [Reports the percentage of children ages birth to 5 years]. กรุงเทพฯ: กลุ่มงาน; 2565.

สถาบันราชานุกูล. รายงานข้อมูลพื้นฐานสถาบันราชานุกูล [Basic information report of Rajanukul institute]. กรุงเทพฯ: สถาบัน; 2565.

Zaagsma M, Volkers KM, Swart EAK, Schippers AP, Van Hove G. The use of online support by people with intellectual disabilities living independently during COVID-19. J Intellect Disabil Res. 2020;64(10):750-6. doi:10.1111/jir.12770.

Navas P, Amor AM, Crespo M, Wolowiec Z, Verdugo MÁ. Supports for people with intellectual and developmental disabilities during the COVID-19 pandemic from their own perspective. Res Dev Disabil. 2021;108:103813. doi:10.1016/j.ridd.2020.103813.

Broka A, Mihailova H. Family counselling and flexibility of social services during Covid-19 emergency: case study of Latvian municipalities. SHS Web Conf. 2020;85:01010. doi:10.1051/shsconf/20208501010.

Bernard R. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Pacific Grove CA: Duxbury Press; 2000.

Turner RC, Carlson L. Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. Int J Test. 2003;3(2):163-71. doi:10.1207/S15327574IJT0302_5.

Cronbach LJ. Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika. 1951;16(3):297-334. doi:10.1007/BF02310555.

สมัย ศิริทองถาวร. รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเครื่องมือในการคัดกรอง และประเมินความ ผิดปกติของพัฒนาการสําหรับเด็กปฐมวัย (0-5 ปี).[ The development of developmental screening and assessment instruments for children aged birth to 5 years] [อินเทอร์เน็ต]. เชียงใหม่: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์; 2558 [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2565]. จาก: https://dmh-elibrary.org/items/show/459

บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง, สังวรณ์ งัดกระโทก. ความเที่ยงระหว่างผู้ประเมินของความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบกับตัวชี้วัดวิทยาศาสตร์ [Inter-rater reliability of alignment between science items and indices]. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2563;48(3):144-63.

Fleiss JL, Levin B, Paik MC. Statistical methods for rates and proportions. 3rd ed. New Jersey: John Wiley & Sons; 2003.

Bearss K, Burrell TL, Challa SA, Postorino V, Gillespie SE, Crooks C, et al. Feasibility of parent training via telehealth for children with autism spectrum disorder and disruptive behavior: a demonstration pilot. J Autism Dev Disord. 2018;48(4):1020-30. doi:10.1007/s10803-017-3363-2.

Degli Espinosa F, Metko A, Raimondi M, Impenna M, Scognamiglio E. A model of support for families of children with autism living in the COVID-19 lockdown: lessons from Italy. Behav Anal Pract. 2020;13(3):550-8. doi:10.1007/s40617-020-00438-7.

The Illinois interagency council on early intervention (IICEI). Principles of early intervention [Internet]. Illinois: IICEI; 2021 [cited 2023 Apr 10]. Available from: https://providerconnections.org/principles-of-early-intervention/.

Sforzo GA, Kaye MP, Todorova I, Harenberg S. Costello K, Cobus-Kou l, et al. Compendium of the health and wellness coaching literature. Am J Lifestyle Med. 2017;12(6):436-47. doi:10.1177/1559827617708562.

Young HM, Miyamoto S, Dharmar M, Tang-Feldman Y. Nurse coaching and mobile health compared with usual care to improve diabetes self-efficacy for persons with type 2 diabetes: randomized controlled trial. JMIR Mhealth Uhealth. 2020;8(3):e16665. doi:10.2196/16665.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18