แบบสอบถามการฟื้นคืนสภาพครอบครัวของ Walsh สำหรับผู้ปกครองผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ผู้แต่ง

  • สุรางคณา ศุภฤทธิ์, วท.ม. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ฐาศุกร์ จันประเสริฐ, ปร.ด. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์, ปร.ด. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การฟื้นสภาพครอบครัว, เด็กและวัยรุ่น, แบบสอบถาม, ผู้ปกครอง, โรคมะเร็ง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อแปลและปรับแบบสอบถามการฟื้นคืนสภาพครอบครัวตามทฤษฎีของ Walsh (Walsh family resilience questionnaire: WFRQ) สำหรับผู้ปกครองของผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถาม

วิธีการ : แปลแบบสอบถาม WFRQ เป็นภาษาไทยและปรับคำถามให้สอดคล้องกับบริบทการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวของเด็กและวัยรุ่นในครอบครัวไทย ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และนำแบบสอบถามไปตรวจสอบอำนาจจำแนกและความเชื่อมั่นในผู้ปกครองที่ดูแลเด็กและวัยรุ่น 0 - 18 ปีที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์รายข้อกับคะแนนรวมและสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค

ผล : แบบสอบถาม WFRQ ที่แปลและปรับเป็นภาษาไทยแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ระบบความเชื่อในครอบครัว รูปแบบโครงสร้างและการจัดการของครอบครัว และกระบวนการสื่อสารและการแก้ปัญหาของครอบครัว มีข้อคำถาม 32 ข้อ การตรวจสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นพบว่า มี 10 ข้อที่มีดัชนีความสอดคล้องต่ำกว่า 0.5 และมี 3 ข้อที่มีอำนาจจำแนกต่ำกว่า 0.20 จึงตัดข้อคำถามดังกล่าวออก คงเหลือข้อคำถาม 19 ข้อ การทดสอบในกลุ่มตัวอย่าง 30 คนพบว่า แบบสอบถามการฟื้นคืนสภาพครอบครัวสำหรับผู้ปกครองผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ฉบับ 19 ข้อ มีอำนาจจำแนก 0.23 - 0.75 และความเชื่อมั่น 0.84

สรุป : แบบสอบถามการฟื้นคืนสภาพครอบครัวที่พัฒนาขึ้นนี้มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นที่ยอมรับได้ สามารถใช้ประเมินการฟื้นคืนสภาพครอบครัวด้วยตนเอง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดบริการทางจิตสังคมให้กับครอบครัวผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข

Downloads

Download data is not yet available.

References

Cancer Registry Unit, National Cancer Institute Thailand. Cancer in Thailand vol. IX, 2013-2015. Bangkok: New Thammada Press; 2018.

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. สถิติข้อมูลผู้เข้ารับการรักษาด้วยโรคมะเร็ง อายุระหว่างแรกเกิด ถึง 15 ปี [Statistics on individuals receiving cancer treatment between birth and 15 years old] [ซีดีรอม]. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาล; 2562.

บุษกร พันธ์เมธาฤทธิ์, อุทัยวรรณ พุทธรัตน์, พิสมัย วัฒนสิทธิ์. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็ง: ผู้ดูแลเด็กมีการรับรู้ต่างกันหรือไม่ [Quality of life of children with cancer: do caregivers perceive differently?]. สงขลานครินทร์เวชสาร. 2556;31(3):123-35.

Gordon J. An evidence-based approach for supporting parents experiencing chronic sorrow. Pediatr Nurs. 2009;35(2):115-9.

Walsh F. Family resilience: strengths forged through adversity. 4th ed. New York: Guilford Press; 2012.

Sukcharoen P, Sakunpong N, Sripa K. Effectiveness of transformative learning on spirituality in palliative care among nursing students: a mixed methods study. The Journal of Behavioral Science. 2020;15(3):19-33.

Walsh F. Family resilience: a framework for clinical practice. Fam Process. 2003;42(1):1-18. doi:10.1111/j.1545-5300.2003.00001.x.

Walsh F. The concept of family resilience: crisis and challenge. Fam Process. 1996;35(3):261-81. doi:10.1111/j.1545-5300.1996.00261.x.

Walsh F. Strengthening family resilience. 3rd ed. New York: Guilford publications; 2015.

Luthar SS, Cicchetti D, Becker B. The construct of resilience: a critical evaluation and guidelines for future work. Child Dev. 2000;71(3):543-62. doi:10.1111/1467-8624.00164.

Walsh F. Family resilience: a developmental systems framework. Eur J Dev Psychol. 2016;13(3):313-24. doi:10.1080/17405629.2016.1154035.

Walsh F. Facilitating family resilience: relational resources for positive youth development in conditions of adversity. In: Ungar M, editor. The social ecology of resilience. New York: Springer; 2012. p. 173-85.

Walsh F. Applying a family resilience framework in training, practice, and research: mastering the art of the possible. Fam Process. 2016;55(4):616-32. doi:10.1111/famp.12260.

Tedeschi RG, Calhoun LG. Target article: "posttraumatic growth: conceptual foundations and empirical evidence". Psychological Inquiry. 2004;15(1):1-18. doi:10.1207/s15327965pli1501_01.

Tedeschi RG, Kilmer RP. Assessing strengths, resilience, and growth to guide clinical interventions. Prof Psychol Res Pr. 2005;36(3):230-7. doi:10.1037/0735-7028.36.3.230.

McCubbin HI, Thompson AI, McCubbin MA. Family assessment: resiliency, coping and adaptation: inventories for research and practice. Madison: University of Wisconsin Publishers; 1996.

Walsh F. The “new normal”: diversity and complexity in 21st century family. In: Walsh F, editor. Normal family processes. 4th ed. New York: Guilford Press; 2012. p. 4-27.

Rocchi S, Ghidelli C, Burro R, Vitacca M, Scalvini S, Della Vedova AM, et al. The Walsh family resilience questionnaire: the Italian version. Neuropsychiatr Dis Treat. 2017;13:2987-99. doi:10.2147/NDT.S147315.

Karaminia R, Haji MD, Salimi SH, Ahmadi Tahour MA. Translation and validation of the “Walsh family resilience questionnaire” for Iranian families. Int J Behav Sci. 2018;12(2):48-52.

Duncan JM, Garrison ME, Killian TS. Measuring family resilience: evaluating the Walsh family resilience questionnaire. The Family Journal. 2021;29(1):80-5. doi:10.1177/1066480720956641.

วันเพ็ญ มานะเจริญ, เพ็ญนภา กุลนภาดล, วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์. การศึกษาและพัฒนาการคืนสภาพครอบครัวในครอบครัวผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยการปรึกษาครอบครัวเชิงบูรณาการทฤษฎีและเทคนิคการปรึกษา [A study and development of family resilience of patients with cerebrovascular disease through assimilative integrate family counseling]. วารสารกองการพยาบาล. 2560;44(1):62-81.

อรนุช ศรีสะอาด. การตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดผลโดยผู้เชี่ยวชาญ [Verification of the accuracy of measurement instruments by experts]. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2538;1(1):45-9.

สุนทรียา สุวรรณโคตร, อรนุช ศรีสะอาด. การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดทักษะการเรียนรู้ของนักศึกษาครูในศตวรรษที่ 21 [The construct validity varification of learning skills indicators of student teachers in 21st century model]. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2560;23(2):211-20.

สุวิมล ติรกานันท์. การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ [Creating measurement instruments for social science research: practical guidelines].กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

กรุณา จันทุม. การสร้างเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพประเภทสเกล [Health-related quality of life measurement scale: guide to development]. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2560;24(3):11-21.

Ebel RL. Estimation of the reliability of ratings. Psychometrika. 1951;16(4):407-24. doi:10.1007/BF02288803.

Ebel RL, Frisbie DA. Essentials of educational measurement. 5th ed. New Jersey: Englewood Cliffs; 1972.

Wong N., Rindfleisch A, Burroughs JE. Do reverse-worded items confound measures in cross-cultural consumer research? The case of the material values scale. J Consum Res. 2003;30(1):72-91. doi:10.1086/374697.

สุวิมล ติรกานันท์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ [Research methods in the social sciences: a guide to practice]. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2551.

วรรณี แกมเกตุ. วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ [Research methodology in behavioral sciences]. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

ประสาท เนืองเฉลิม. วิจัยการเรียนการสอน [Teaching and learning research]. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัททวี พริ้น (1991) จำกัด; 2556.

ไพศาล วรคำ. การวิจัยทางการศึกษา [Educational research]. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ตักศิลาการพิมพ์; 2559.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช, พนา จินดาศรี. ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC [The real meaning of IOC]. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2561;24(2):3-12.

จิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย. คุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย [The quality of the instruments used in the research]. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 2560;7(1):1-15.

Nunnally JC. Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill Book Company; 1978.

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE, Tatham RL. Multivariate data analysis. 6th ed. New Jersey: Prentice Hall; 2006.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-06