ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ชุมชนเมืองในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • มนัสวี สิงห์โห วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม, ปร.ด. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เดชา วรรณพาหุล, ปร.ด. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กมล อาจดี, ปร.ด. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ภัทรวดี รุจิพิชชาพร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, โควิด 19, ภาวะหมดไฟ, แรงจูงใจอาสา, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาระดับภาวะหมดไฟของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านบุคคล แรงจูงใจอาสา และคุณภาพชีวิตในการทำงาน

วิธีการ : การศึกษาแบบภาคตัดขวาง ใน อสม. ชุมชนเมือง จังหวัดชลบุรี ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยด้านบุคคล แรงจูงใจอาสา คุณภาพชีวิตในการทำงาน และภาวะหมดไฟจากการปฏิบัติงานของ Maslach นำเสนอข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผล : ตัวอย่างทั้งหมด 168 คน มีภาวะหมดไฟด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และการลดความเป็นบุคคลอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่มีภาวะหมดไฟด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับสูง ส่วนใหญ่รับรู้ถึงประโยชน์ของการทำงาน และครึ่งหนึ่งพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงาน ความอ่อนล้าทางอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน การลดความเป็นบุคคลมีความสัมพันธ์กับการมีอาชีพหลักในปัจจุบัน ขณะที่การลดความสำเร็จส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับรายได้ต่อเดือนของครอบครัวและมีความสัมพันธ์ทางลบกับแรงจูงใจอาสาและคุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงาน

สรุป : ในระหว่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อสม. ชุมชนเมืองมีความรู้สึกว่าตนไม่ประสบความสำเร็จในการทำงาน แม้รับรู้ถึงประโยชน์ของการทำงานอาสาสมัคร ควรมีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยเฉพาะด้านทักษะและทรัพยากรในการปฏิบัติงาน สัมพันธภาพกับเครือข่ายและชุมชน และความสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัว เพื่อป้องกันและลดภาวะหมดไฟจากการปฏิบัติงานอาสาสมัคร

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Burn-out an “occupational phenomenon”: international Classification of Diseases [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2019 [cited 2023 July 30]. Available from: https://www.who.int/mental_health/evidence/burn-out/en/.

Shye S. The motivation to volunteer: a systemic quality of life theory. Soc Indic Res. 2010;98(2):183-200. doi:10.1007/s11205-009-9545-3.

Walton RE. Improving the quality of work life. Harvard Business Review. 1974;14(16):4-12.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน [Village health volunteer] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรม; 2565 [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2565]. จาก: http://prgroup.hss.moph.go.th/article/1000-อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน-อสม

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ. สธ. พัฒนานโยบายสวัสดิการ อสม. หลักประกันความมั่นคง-ขวัญกำลังใจให้พี่น้อง อสม. [Ministry of Public Health develops welfare policy for village health volunteers to guarantee security and morale for village health volunteers] [อินเทอร์เน็ต]. อุดรธานี: สำนักข่าว Hfocus; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2565]. จาก: https://www.hfocus.org/content/2020/02/18527

ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์. ภาวะหมดไฟในการทำงาน [Burn-out syndrome]. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิชชิ่ง; 2562.

กรมสุขภาพจิต. ตรวจเช็คสุขภาพใจ [Mental Health Check-In] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2565]. จาก: https://checkin.dmh.go.th/.

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ [Situation of COVID-19 patients in the country] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองดิจิทัลเพื่อการควบคุมโรค; 2565 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2565]. จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ [The social science research methodology]. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2551.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. สถิติประยุกต์เพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ [The research methodology in behavioral science and social science]. อุดรธานี: บริษัทอักษรศิลป์การพิมพ์; 2554.

มนัสพงษ์ มาลา. ภาวะเมื่อยล้าหมดไฟในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตสุขภาพที่ 4 [Job burnout in the performance of village health volunteers in health region 4]. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(5):944-54.

Maslach C, Jackson SE. Maslach burnout inventory manual. 2nd ed. Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press; 1986.

ศศิมา ยอดทหาร, วัลลีรัตน์ พบคีรี. คุณภาพชีวิตในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร [Quality of work life in operational performance of Bangkok health volunteers]. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 12 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. 2563:2223-33.

Bloom BS. New views of the learner: implications for instruction and curriculum. Educational Leadership. 1978;35(7):563-76.

Best JW, Kahn JV. Research in education. New Jersey: Printice Hall. Inc; 1997.

Cooper CL, Dewe PJ, O'Driscoll MP. Organizational stress: a review and critique of theory, research, and applications. Gend Work Organ. 2003;10(1):130-1. doi:10.1111/1468-0432.00006_4.

วราภรณ์ เลิศวิลัย. ภาวะหมดไฟในการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเทคนิคการแพทย์ ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร [Job burnout and related factors among medical techonogist, Bangkok] [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

Potter P, Deshields T, Divanbeigi J, Berger J, Cipriano D, Norris L, et al. Compassion fatigue and burnout: prevalence among oncology nurses. Clin J Oncol Nurs. 2010;14(5):E56-62. doi:10.1188/10.CJON.E56-E62.

ปรางค์ จักรไชย, อภิชัย คุณีพงษ์, วรเดช ช้างแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี [Factors affecting the performance of village health volunteers (Vhvs) of family care teams, Pathum Thani province]. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2560;31(1):16-28.

วราภรณ์ ปั้นบรรจง, พิศณุ พูนเพชรพันธ์. คุณภาพชีวิตการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรีปทุมธานี [Quality of working life of village health volunteers (VHV) Muang Ratchaburi]. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2560;10(1):143-54.

Huse EF, Cummings TG. Organizational development and change. Saint Paul: West Pub Co; 1985.

จินตนา บุญยิ่ง, ธงชัย อามาตยบัณฑิต, สุภาดา คําสุชาติ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารหมู่บ้านจัดการสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี [Factors influencing health volunteer to participate in village health promotion administration in Ubon Rachathani]. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2556;22(6):997-1004.

Maslach C, Leiter MP. Understanding the burnout experience: recent research and its implications for psychiatry. World Psychiatry. 2016;15(2):103-11. doi:10.1002/wps.20311.

ไพบูลย์ งามสกุลพิพัฒน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี [Factors affecting village health volunteers' performance in amphoe Nongjik, Pattani] [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2554.

Gordon E, Lim Y, Paradis J, Guarna T, Degetau G, Vijaykumar M. Deep listening: a framework for collaborative climate adaptation. In: Lockton D, Lenzi S, Oak A, Hekkert P, Sádaba J, Lloyd P, editor. DRS2022: Bilbao. Bilbao: Design Research Society; 2022. doi:10.21606/drs.2022.287

Buchanan Hill J. Questioning techniques: a study of instructional practice. Peabody Journal of Education. 2016;91(5):660-71. doi:10.1080/0161956X.2016.1227190.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-18