บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและป้องกันด้านสุขภาพจิตของประชาชนไทย

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ พุฒแซม, วท.บ. คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปวีณา อุตตะมี, วท.บ. คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • นาวินี เครือหงษ์, วท.ม. กองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

การป้องกันปัญหาสุขภาพจิต, การมีส่วนร่วม, การส่งเสริมสุขภาพจิต, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรสำคัญในการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตในชุมชน การสร้างความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นปัจจัยความสำเร็จและเป็นกลไกสำคัญของการดำเนินงานส่งเสริมและป้องกันสุขภาพจิตของประชาชนไทย บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่และแนวทางในการดูแลสุขภาพจิตประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการทบทวนบทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย และกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้อง สืบค้นจากฐานข้อมูล Thai Journals Online (ThaiJO) สามารถสรุปบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพจิตประชาชนได้ 3 ด้าน ได้แก่ 1) การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและเครือข่าย (promoting public participation) 2) การสนับสนุนการทรัพยากรในการดำเนินงาน (supporting resources) และ 3) การส่งเสริมสุขภาพกายร่วมกับสุขภาพจิต (promoting physical health and mental health) ผลการศึกษาสามารถสร้างความตระหนักและเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตที่มีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต การลดปัจจัยเสี่ยง และการส่งเสริมบริการสุขภาพจิตที่ครอบคลุมไร้รอยต่อสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. การส่งเสริมสุขภาพจิต แนวคิด หลักฐาน และแนวทางปฏิบัติ [Promotion mental health : concepts - emerging evidence - practice Summary report]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2560.

ปริทรรศ ศิลปกิจ, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพจิต [Social determinants of mental health]. เชียงใหม่: แผนงานพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิต; 2560.

Eaton J, McCay L, Semrau M, Chatterjee S, Baingana F, Araya R, et al. Scale up of services for mental health in low-income and middle-income countries. Lancet. 2011;378(9802):1592-603. doi:10.1016/S0140-6736(11)60891-X.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ประชาชนได้อะไร [Decentralized to local what do people get] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักฯ; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2565]. จาก: https://youtu.be/zWOABY7fEUA

จุฑามาศ อึ้งอำพร, ชาญวิทย์ พรนภดล, สุพร อภินันทเวช, อาภา ภัคภิญโญ. ปัจจัยความสำเร็จในการก่อตั้งงานสุขภาพจิตโรงเรียน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร [Success factors for establishment of school mental health program in Bangkok metropolitan schools]. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2561;13(1):33-44.

หทัยชนก บัวเจริญ, จุฑารัตน์ ผู้พิทักษ์กุล, วริยา จันทร์ขํา, ณัฐธยาน์ อังคะประเสริฐกุล, ศิริพร ฉายาทับ. การพัฒนาระบบและกลไกการจัดการบริการสุขภาพสําหรับผู้สูงอายุในชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [Development of strategies and system in providing health care services for elderly in community by sub district administrative organization]. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2558;33(1):97-107.

อดิศร คันธรส. การพัฒนาความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพชุมชนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ [Development of the strengthening in community health management by local administrative organizations in Chiang Mai, Thailand]. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 2565;5(4):39-54.

โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต. แนวทางประสานและสนับสนุนการขยายเครือข่ายบริการสุขภาพจิตและจิตเวช [Guidelines for coordinating and promoting the expansion of relationship and psychiatric service networks]. เชียงใหม่: โรงพยาบาลฯ; 2553.

ชลินดา จันทร์งาม, เทพอุทิศ กั้วสิทธิ์, กฤษณ์ ขุนลึก. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยจิตเวชของเครือข่ายสุขภาพจิตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำนาดี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ [The development of a health care network for psychiatric patient in Khamnadee sub-district, Meuang BuengKan district, BuengKan province]. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 2560;18(2):55-68.

วริยา จันทร์ขำ. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพจิตและจิตเวชในชุมชน: บทบาทพยาบาลจิตเวช [The development of psychiatric and mental health care system in the community: roles of psychiatric nurses]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2559;30(3):1-9.

ไทยมณี ไชยฤทธิ์. การจัดสรรความสุขให้กับผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [Allocation of happiness to the elderly of the local administration]. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 2563;6(2):255-66.

อมรศรี ฉายศรี, สุปาณี เสนาดิสัย, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล. การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน: กรณีศึกษา [Participation of schools, parents, primary care units, and the local administrative authority in school health: a case study]. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2554;17(3):506-19.

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์, วิรัตน์ ธรรมาภรณ์, ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุไทย [Role of local government organization for elderly care]. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 2559;9(1):121-7.

กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. ทิศทางของการพัฒนาผู้ดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน [The developing direction for long-term care giver in community]. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561;36(4):15-24.

ศรินรัตน์ จันทพิมพ์, ขนิษฐา นันทบุตร. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยชุมชน [Care of schizophrenia patients by the community]. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2561;36(2):68-76.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-20