ปัจจัยจิตสังคมที่สัมพันธ์กับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของผู้ใหญ่วัยทำงาน

ผู้แต่ง

  • ภิญญดา มัญยานนท์, วท.บ. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิธัญญา วัณโณ, ค.ด. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน, ปัจจัยจิตสังคม, ผู้ใหญ่วัยทำงาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยทางสังคมกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของผู้ใหญ่วัยทำงาน และศึกษาความสามารถของปัจจัยจิตลักษณะและปัจจัยทางสังคมในการทำนายความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของผู้ใหญ่วัยทำงาน

วิธีการ : การศึกษาภาคตัดขวางในผู้ใหญ่วัยทำงานที่มีอายุ 20 - 60 ปี 300 คน สุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตน แบบวัดการมองโลกในแง่ดี แบบวัดความหวัง แบบวัดความยืดหยุ่นทางจิตใจ แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และแบบวัดการสนับสนุนทางสังคมจากที่ทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผล : ปัจจัยจิตสังคมทั้งหมดมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานมีความสัมพันธ์กับความหวังมากที่สุด (r = .66) รองลงมา ได้แก่ ความยืดหยุ่นทางจิตใจ (r = .57) และการมองโลกในแง่ดี (r = .52) ตัวแปรจิตสังคมสามารถร่วมกันทำนายความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานได้ร้อยละ 54.4 โดยความหวัง (β = .41, p < .01) การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว (β = .29, p < .01) และการมองโลกในแง่ดี (β = .13, p < .05) เป็นตัวแปรที่ทำนายความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจิตสังคมกับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ผู้ใหญ่วัยทำงานควรได้รับการส่งเสริมความหวัง การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และการมองโลกในแง่ดี เพื่อเสริมสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Greenhaus JH, Collins, KM, Shaw JD. The relation between work-family balance and quality of life. J Vocat Behav. 2003;63(3):510-31. doi:10.1016/S0001-8791(02)00042-8.

Hutton A. The case for work/life balance: Closing the gap between policy and practice. New York: Hudson Highland Group, Inc.; 2005.

ศยามล เอกะกุลานันต์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสมดุลระหว่างงานและชีวิตของเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าทางโทรศัพท์หญิง กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร [Factors affecting work-life balance of women call center agents in the information and communication technology business group]. วารสารสุทธิปริทัศน์. 2562;33(106):107-20.

สุภา เข็มแข็งปรีชานนท์, ระวี สัจจโสภณ, ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ. ปัจจัยที่มีผลต่อความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย [Factors affecting work-life balance of office of the permanent secretary for interior’s staff]. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 2563;11(1):169-90.

Luthans F, Youssef CM. Psychological capital: developing the human competitive edge. New York: Oxford University Press; 2007.

Chandrani S, Himangini H. Psychological capital and work-life balance: a study on police officers. International Journal of Management and Social Sciences Research. 2015;4(7):93-6.

Parray ZA, Shah TA. Islam SU. Psychological capital and employee job attitudes: the critical significance of work-life balance. Evidence-based HRM. 2022;ahead-of-print. doi:10.1108/EBHRM-07-2022-0160.

Anushi KS, Priyanath HMS, Tennakoon WD. Nexus among psychological capital, worklife balance and job satisfaction of employees in apparel industry. Sri Lanka Journal of Social Sciences and Humanities. 2022;2(1):85-95. doi:10.4038/sljssh.v2i1.59.

Christy F, David A, Choudhary N, Vivekanand N, Vibha V, Maheswari M. Impact of psychological capacities on the work life balance of entrepreneurs. Psychology and Education. 2021;58(3):3869-75. doi:10.2139/ssrn.3897245.

Russo M, Shteigman A, Carmeli A. Workplace and family support and work–life balance: Implications for individual psychological availability and energy at work. J Posit Psychol. 2016;11(2):173-88. doi:10.1080/17439760.2015.1025424.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods. 2007;39(2):175-91. doi:10.3758/bf03193146.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power [Influence size power analysis calculation of optimal sample size using the G*Power program]. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาฯ, 2553.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยโปรแกรม G*Power [Effect size, power analysis, optimal sample size calculations using G*Power software]. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563.

อรพินทร์ ชูชม. วิชา วป 502 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์ [RB 502 construction and development of measuring instruments in behavioral science]. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2545.

Bandura A. Self-efficacy: toward a unifying theory of behavioral change. Psychol Rev. 1977;84(2):191-215. doi:10.1037//0033-295x.84.2.191.

Seligman MEP. Building human strength: psychology's forgotten mission. APA Monitor. 1998;29(2).

Miller JF. Coping with chronic illness: overcoming powerlessness. Philadelphia: F.A. Davis Company; 1983.

Grotberg EH. A guide to promoting resilience in children: strengthening the human spirit. The Hague: Bernard van Leer Foundation; 1995.

ณิชารีย์ นิยมสินธุ์. แรงจูงใจความรู้พัฒนาการและการสนับสนุนทางสังคมที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ใหญ่วัยทำงาน [Motivation, developmental knowledge and social supportrelated to elderly health care behaviors of working adults] [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

สุมาลินี มธุรพจน์พงศ์. ความหวัง การมองโลกในแง่ดี และความสามารถในการฟื้นคืนได้: ตัวแปรทำนายผลงาน ความพึงพอใจในงาน ความสุขในการทำงาน และความผูกพันกับองค์การ [Hope, optimism, and resilience as predictors of performance, job satisfaction, work happiness, and organizational commitment]. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 2552;5(3):306-18.

วชิรวิชญ์ แสงโรจน์กิตติคุณ, อรพินทร์ ชูชม. ปัจจัยส่วนบุคคล และ ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกี่ยวข้อง กับสมดุลชีวิตการทำงานและการเรียนของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร [Personal and social environmental factors related to school work-life balance of graduate students in Bangkok]. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2564;27(2):63-77.

Marcinkus W, Whelan-Berry K, Gordon J. The relationship of social support to the work-family balance and work outcomes of midlife women. Women in Management Review. 2006;22(2):86-111. doi:10.1108/09649420710732060.

Downloads

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-05-30