ระบาดวิทยากลุ่มความผิดปกติการควบคุมตัวเองในคนไทย : การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติปี พ.ศ. 2556

ผู้แต่ง

  • วรวรรณ จุฑา, กศ.ม. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
  • นพพร ตันติรังสี, ปร.ด. สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้ กรมสุขภาพจิต
  • กมลลักษณ์ มากคล้าย, ส.บ. สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต

คำสำคัญ:

กลุ่มความผิดปกติการควบคุมตัวเอง, ความชุก, ระบาดวิทยา, โรคร่วมทางจิตเวช, สุขภาพจิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โรคร่วมทางจิตเวช และการรับบริการของกลุ่มความผิดปกติการควบคุม ตัวเองในประเทศไทย

วิธีการ : ใช้ข้อมูลจากการสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติปี พ.ศ. 2556 ในคนไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป 4,727 คนที่สุ่มตัวอย่างแบบ 4 ชั้นภูมิ สัมภาษณ์ด้วยเครื่องมือ world mental health-composite international diagnostic interview 3.0 ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าถ่วงน้ำหนัก นำเสนอความชุกเป็นร้อยละและความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SE) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ด้วยสถิติ chi-square test

ผล : ความชุกตลอดชีวิตของกลุ่มความผิดปกติการควบคุมตัวเองพบร้อยละ 3.5 (SE = 0.4) พบความชุกสูงสุดในภาคใต้ร้อยละ 4.8 (SE = 0.4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มความผิดปกติการควบคุมตัวเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อปี การมีปัญหาการนอนหลับ การเจ็บป่วยด้วยโรคจิตเวช การมีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย การมีประวัติดื่มสุรา การมีประวัติใช้สารเสพติด การประสบเหตุการณ์เครียดรุนแรง และสถานะการเงินในครอบครัว กลุ่มโรคทางจิตเวชที่พบร่วมในผู้ที่มีความผิดปกติการควบคุมตัวเองมากสุด ได้แก่ กลุ่มความผิดปกติของพฤติกรรมดื่มสุราร้อยละ 46.4 (SE = 4.3) กลุ่มมีประสบการณ์คล้ายโรคจิตร้อยละ 17.1 (SE = 4.6) กลุ่มโรควิตกกังวลร้อยละ 15.8 (SE = 4.0) และกลุ่มความผิดปกติของพฤติกรรมใช้สารเสพติดร้อยละ 15.8 (SE = 4.7) ผู้ที่มีความผิดปกติการควบคุมตัวเองรับบริการจากผู้รักษาในระบบสุขภาพร้อยละ 15.9 (SE = 3.1) และผู้รักษานอกระบบสุขภาพร้อยละ 4.2 (SE = 2.9)

สรุป : กลุ่มความผิดปกติการควบคุมตัวเองในคนไทยพบร่วมกับกลุ่มโรคทางจิตเวชอื่นและความผิดปกติของพฤติกรรมดื่มสุราและใช้สารเสพติดได้บ่อยและมีการเข้าถึงบริการสุขภาพน้อย ควรมีการพัฒนาระบบการคัดกรองและการรักษาที่เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มความผิดปกติการควบคุมตัวเองเพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

References

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, บรรณาธิการ. บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรค และปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวข้องฉบับที่ 11 โรคจิตเวช ความผิดปกติทางพฤติกรรม หรือความผิดปกติพัฒนาการทางระบบประสาท และโรคในหมวดอื่นที่เกี่ยวข้อง [International classification of disease for mortality and morbidity statistics: mental, behavioural or neurodevelopment disorders and related codes]. นนทบุรี: สํานักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต; 2562. น. 255-7.

ปัญจภรณ์ วาลีประโคน. Impulsive-Control Disorders. ใน: มาโนช หล่อตระกูล. ปราโมทย์ สุคนิชย์, บรรณาธิการ. จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558. น. 255-64.

Grant JE, Levine L, Kim D, Potenza MN. Impulse control disorders in adult psychiatric inpatients. Am J Psychiatry. 2005;162(11):2184-8. doi:10.1176/appi.ajp.162.11.2184.

อนุรักษ์ บัณฑิตชาติ, พนมศรี เสาร์สาร, ภัคนพิน กิตติรักษนนท์, วรวรรณ จุฑา. ระบาดวิทยาของความผิดปกติทางจิตของประชาชนไทย ปี พ.ศ. 2541 [Epidemiology of mental disorders among Thai people]. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2544;46(4):335-43.

พรเทพ ศิริวนารังสรรค์, ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, อัจฉรา จรัสสิงห์. ความชุกของโรคจิตเวชในประเทศไทย : การสำรวจระดับชาติ ปี 2546 [Prevalence of mental disorders in Thailand: a national survey 2003]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2547;12(3):177-88.

วชิระ เพ็งจันทร์, ธรณินทร์ กองสุข, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, วรวรรณ จุฑา, พิทักษ์พล บุณยมาลิก, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน, และคณะ. ความชุกโรคจิตเวช : การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2551 [The prevalence of mental disorders: the 2008 national mental health epidemiological survey of Thais]. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย, สุทธา สุปัญญา. การสํารวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติปี พ.ศ. 2556 : วิธีการและกระบวนการ [Thai national mental health survey 2013: methodology and procedure]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2559;24(1):1-14.

พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา, อธิบ ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิต: การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556 [Prevalence of mental disorders and mental health problems: Thai national mental health survey 2013]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25(1):1-19.

Fincham D, Grimsrud A, Corrigall J, Williams DR, Seedat S, Stein DJ, et al. Intermittent explosive disorder in South Africa: prevalence, correlates and the role of traumatic exposures. Psychopathology. 2009;42(2):92-8. doi:10.1159/000203341. Erratum in: Psychopathology. 2016;49(2):124.

ณัฐกร จำปาทอง, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุฑา. ระบาดวิทยาสุขภาพจิตคนไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ ปี พ.ศ. 2559 [Thai mental health epidemiological study in deep south provinces in 2016]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25(1):20-31.

World Health Organization. The world health organization world mental health composite international diagnostic interview (WHO WMH-CIDI). Massachusetts: Harvard Medical School; 1990 [cited 2022 Dec 25]. Available from: https://www.hcp.med.harvard.edu/wmhcidi/.

Yoshimasu K, Kawakami N; WMH-J 2002-2006 Survey Group. Epidemiological aspects of intermittent explosive disorder in Japan; prevalence and psychosocial comorbidity: findings from the World Mental Health Japan Survey 2002-2006. Psychiatry Res. 2011;186(2-3):384-9. doi:10.1016/j.psychres.2010.07.018.

Scott KM, de Vries YA, Aguilar-Gaxiola S, Al-Hamzawi A, Alonso J, Bromet EJ, et al. Intermittent explosive disorder subtypes in the general population: association with comorbidity, impairment and suicidality. Epidemiol Psychiatr Sci. 2020;29:e138. doi:10.1017/S2045796020000517.

Viana MC, Andrade LH. Lifetime Prevalence, age and gender distribution and age-of-onset of psychiatric disorders in the São Paulo Metropolitan Area, Brazil: results from the São Paulo Megacity Mental Health Survey. Braz J Psychiatry. 2012;34(3):249-60. doi:10.1016/j.rbp.2012.03.001.

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. ความขัดแย้งชายแดนใต้ในรอบ 13 ปี: ความซับซ้อนของสนามความรุนแรงและพลังของบทสนทนาสันติภาพปาตานี [The southern border conflict in the past 13 years: the complexity of the field, the violence and the power of the Patani peace dialogue] [อินเทอร์เน็ต]. ปัตตานี: ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มอ.ปัตตานี; 2560 [สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2566]. จาก: https://deepsouthwatch.org/th/node/11053

Kessler RC, Berglund P, Demler O, Jin R, Merikangas KR, Walters EE. Lifetime prevalence and age-of-onset distributions of DSM-IV disorders in the National Comorbidity Survey Replication. Arch Gen Psychiatry. 2005;62(6):593-602. doi:10.1001/archpsyc.62.6.593. Erratum in: Arch Gen Psychiatry. 2005;62(7):768. Merikangas, Kathleen R [added].

Kessler RC, Coccaro EF, Fava M, Jaeger S, Jin R, Walters E. The prevalence and correlates of DSM-IV intermittent explosive disorder in the National Comorbidity Survey Replication. Arch Gen Psychiatry. 2006;63(6):669-78. doi:10.1001/archpsyc.63.6.669.

Haeny AM, Gueorguieva R, Morean ME, Krishnan-Sarin S, DeMartini KS, Pearlson GD, et al. The association of impulsivity and family history of alcohol use disorder on alcohol use and consequences. Alcohol Clin Exp Res. 2020;44(1):159-67. doi:10.1111/acer.14230.

van Buitenen N, van den Berg CJW, Meijers J, Harte JM. The prevalence of mental disorders and patterns of comorbidity within a large sample of mentally ill prisoners: a network analysis. Eur Psychiatry. 2020;63(1):e63. doi:10.1192/j.eurpsy.2020.63.

Pompili M, Fiorillo A. Aggression and impulsivity in schizophrenia. Psychiatric Times. 2015;32(7):12.

Wang PS, Aguilar-Gaxiola S, Alonso J, Angermeyer MC, Borges G, Bromet EJ, et al. Use of mental health services for anxiety, mood, and substance disorders in 17 countries in the WHO world mental health surveys. Lancet. 2007;370(9590):841-50. doi:10.1016/S0140-6736(07)61414-7.

อธิบ ตันอารีย์, นิศากร แก้วพิลา, เบ็ญจา นิ่มนวล, เศรษฐพงศ์ บุญหมั่น, ลวิญญ์วิชญพงศ์ ภูมิจีน, ณัฏฐพัชร สุนทโรวิทย์. การรับบริการสุขภาพจิตและสาเหตุที่ไม่เข้ารับบริการสุขภาพจิตของผู้ป่วยจิตเวชไทย [Mental health service utilization and reason for not receiving services among individuals with mental disorders]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25(3):176-86.

ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์. ช่องว่างในการเข้าถึงบริการจิตเวชและภาระทางเศรษฐศาสตร์ : การศึกษาชุมชนในระยะยาว [Gaps in access to psychiatric services and burden economics: a long-term community study]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21