การวิจัยประเมินผลยุทธศาสตร์การป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ พ.ศ. 2560 - 2565
คำสำคัญ:
การป้องกัน, ฆ่าตัวตาย, ประเมินผล, ยุทธศาสตร์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานด้านการป้องกันการฆ่าตัวตายภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติปี พ.ศ. 2560 - 2565
วิธีการ : การวิจัยแบบผสานวิธีแบบลู่เข้า ใน 4 เขตสุขภาพที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงและต่ำกว่าเกณฑ์ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพพร้อมกันแบ่งเป็น 2 ระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามผู้รับบริการและญาติหรือผู้ดูแลหลักของผู้รับบริการ 463 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูล 5 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ บุคลากรในและนอกกระทรวงสาธารณสุข ผู้มารับบริการ และญาติหรือผู้ดูแลหลัก 287 คน ประเมินตามกรอบแนวคิด CIPP model ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์
ผล : เมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2560 - 2563 พบว่าในปี พ.ศ. 2564 - 2565 รูปแบบและสาเหตุการฆ่าตัวตายมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม แนวโน้มของผู้ฆ่าตัวตายอายุน้อยลง มีการพัฒนาการดำเนินงานด้านการป้องกันการฆ่าตัวตายที่สำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยงานบริการ และการขับเคลื่อนงานโดยใช้รูปแบบการดึงเครือข่ายในชุมชนและผู้ใกล้ชิดกลุ่มเสี่ยงมาเป็นผู้รับผิดชอบดูแลร่วมกัน หลังการดำเนินงานพบว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการให้บริการเกี่ยวกับการป้องกันการฆ่าตัวตายมากขึ้นและมีอัตราการฆ่าตัวตายซ้ำลดลง อุปสรรคการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากรและข้อจำกัดด้านความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในพื้นที่
สรุป : การดำเนินงานป้องกันการฆ่าตัวตายปี พ.ศ. 2564 - 2565 มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและมีนโยบายเฉพาะเจาะจงที่มุ่งเน้นการทำงานกับเครือข่ายร่วมกับการพัฒนาการบริการที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังต้องการการพัฒนาด้านบุคลากรและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อยกระดับการดำเนินงานในระดับชาติ
Downloads
References
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. รายงานอัตราการฆ่าตัวตาย แยกตามรายปี [Suicide Rate Report by year] [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2565]. จาก: https://suicide.dmh.go.th/report/suicide/stat_prov.asp?ndead=2
กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการฆ่าตัวตายสำเร็จ จากใบมรณบัตร ปี พ.ศ. 2564 [Summarize of successful suicides reports from death certificates 2021] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวง; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2565]. จาก: https://suicide.dmh.go.th/report/suicide/download/view.asp?id=25
จรรยารักษ์ มีวงษ์สม, สุวรรณา โควะวินทวีวัฒน์, อรรถพล แช่มสุวรรณ. สถานการณ์และวิธีการฆ่าตัวตายที่สัมพันธ์กับเพศ-ช่วงอายุ-ภูมิภาคในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2555 - 2559 [The suicide situation and methods in relation to gender-age-region in Thailand in 2012 - 2016]. วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์. 2564;7(2):90-107.
World Health Organization. Suicide worldwide in 2019 global health estimates. Geneva: World Health Organization; 2021.
สำนักข่าวอิศรา. ส่องยุทธศาสตร์นานาประเทศ รับมือ “ฆ่าตัวตาย” พุ่งสูงยุคโควิด [Shining international strategies dealing with 'suicide' soaring in the COVID era] [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนัก; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2565]. จาก: https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/100316-isranews-health-2.html
กรมสุขภาพจิต. ยุทธศาสตร์การป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ ปี พ.ศ. 2564 - 2565 [National suicide prevention strategy year 2021-2022] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรม; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2565]. จาก: https://suicide.dmh.go.th/download/files/แผนยุทธ์ฯเล่มขวางวันที่7.1.64.pdf
Creswell JW. Research design: qualitative, quantitative and mixed methods approaches. 4th ed. Thousand Oaks, CA: SAGE publications; 2014.
สถิต วงศ์สุรประกิต, สมพร สันติประสิทธิ์กุล. สถานการณ์โรคซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยงโดยการตรวจคัดกรอง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย [Situation of depression in pre-screened risk groups in muang district, Chiang Rai province]. วารสารสภาการพยาบาล. 2555;27(3):91-105.
หวนธน บุญลือ, ธีราพร สุภาพันธ์, น้องเล็ก คุณวราดิศัย, สุทธาสินี สุวรรณกุล, อุไรวรรณ อกนิตย์, ฑิภาดา สามสีทอง. การคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าในนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี [Depression risk screening among students at Ubon Ratchathani university]. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2565;5(2):114-24.
World Health Organization. Depression let’s talk online [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2018 [cited 2022 Dec 25]. Available from: http://www.thaidepression.com/www/who_depress/km_depress.pdf
อธิชาติ โรจนะหัสดิน, จันทิมา อังคพณิชกิจ. สถานการณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยไทย [Depression situation for Thai university students]. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี. 2565;15(1):61-87.
สุรชัย เฉนียง, ปาริชาต เมืองขวา, กมลนัทธ์ คล่องดี. การรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและครูเกี่ยวกับสาเหตุและการป้องกันการฆ่าตัวตายในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม [Students and teachers’ perception on cause and suicide prevention at secondary school in Nakhon Phanom province]. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2564;37(1):38-50.
อังคณา ศิริอำพันธ์กุล. ภาวะซึมเศร้ากับพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียล [Depression and social media behavior]. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 2561;10(ฉบับพิเศษ):327-37.
van den Eijnden RJ, Meerkerk GJ, Vermulst AA, Spijkerman R, Engels RC. Online communication, compulsive internet use, and psychosocial well-being among adolescents: a longitudinal study. Dev Psychol. 2008;44(3):655-65. doi:10.1037/0012-1649.44.3.655.
กิตติวัฒน์ กันทะ, ช่อผกา แสนคำมา, ศศิธร กันทะ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย อำเภอจุน จังหวัดพะเยา [Factors related to suicide in Chun district Phayao province]. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2562;6(1):16-23.
วราภรณ์ ประทีปธีรานันต์. อัตราการฆ่าตัวตายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมฆ่าตัวตาย โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี [The rate of suicide and factors related to suicidal behavior at Chaophayayommarat hospital Suphanburi province]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2557;28(3):90-103.
Kongsuk T, Supanya S, Kenbubpha K, Phimtra S, Sukhawaha S, Leejongpermpoon J. Services for depression and suicide in Thailand. WHO southeast Asia J Public Health. 2017;6(1):34-8. doi:10.4103/2224-3151.206162.
ณัฐพล ปัญญา, สุพล การกล้า. การพัฒนาแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าแจ้งเตือนออนไลน์บนมือถือร่วมกับการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่กักตัวในบ้าน ตำบลขุหลุ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี [The development of depression screening online notification form on mobile phone with home quarantine surveillance, Khulu-subdistrict, Trakarnpueatpon district, Ubonratchathani]. วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2563;3(3):210-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ผู้อ่านสามารถนำข้อความ ข้อมูล จากวารสารไปใช้ไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ เช่น เพื่อการสอน เพื่อการอ้างอิง แต่การนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อการค้า จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรมสุขภาพจิตก่อน
- ความคิดเห็น ข้อมูล และบทสรุปต่าง ๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทยเป็นของผู้เขียนบทความและมิได้แสดงว่ากองบรรณาธิการหรือกรมสุขภาพจิตเห็นพ้องด้วย