ผลของโปรแกรมสติบำบัดออนไลน์ต่อความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พริษฐ์ โพธิ์งาม, พ.บ. โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
  • ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, ปร.ด. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความเครียด, โปรแกรมสติบำบัดออนไลน์, พยาบาลวิชาชีพ, ภาวะหมดไฟในการทำงาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : ศึกษาผลของโปรแกรมสติบำบัดออนไลน์ต่อความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ

วิธีการ : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง 2 กลุ่ม ในพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 80 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสติบำบัดออนไลน์ผ่านโปรแกรม Google Meet สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประเมินความเครียดด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และความเครียด (DASS-21) ประเมินภาวะหมดไฟในการทำงานด้วยแบบประเมินภาวะหมดไฟในการทำงานของมาลาส (MBI-GS) ก่อนเริ่มโปรแกรมและเมื่อสิ้นสุดโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา chi-square test, paired-t test และ independent t-test

ผล : กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีข้อมูลส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพจิต และภาวะหมดไฟในการทำงานก่อนเริ่มโปรแกรมไม่แตกต่างกัน กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความเครียดหลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (mean difference = 6.24, 95% CI = 5.33 - 7.17, p < .001) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference = 4.24, 95% CI = 2.71 - 6.14, p < .001) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยภาวะหมดไฟในการทำงานด้านการเมินเฉยต่องานหลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (mean difference = 2.95, 95% CI = 0.41 - 5.50, p = .02) และต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean difference = 2.89, 95% CI = 0.31 - 5.35, p = .03) ส่วนภาวะหมดไฟในการทำงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และด้านความสามารถในการทำงานพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน

สรุป : โปรแกรมสติบำบัดออนไลน์สามารถลดความเครียดและภาวะหมดไฟในการทำงานด้านการเมินเฉยต่องานของพยาบาลวิชาชีพได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลการประเมินภาวะสุขภาพจิตของคนไทยในช่วงปี พ.ศ. 2564 (Mental health check-in) [Data on mental health assessment of Thai people, 2021 (Mental health check-in)] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสุขภาพจิต; 2564 [สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2565]. จาก: https://checkin.dmh.go.th/dashboards

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2563 [Department of mental health annual report, 2020] [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต; 2563 [สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2565]. จาก: https://www.dmh.go.th/report/dmh/rpt_year/view.asp?id=461

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือคลายเครียด ฉบับปรับปรุง [Stress management guideline]. นนทบุรี: กรม; 2555.

Maslach C, Leiter MP. Understanding the burnout experience: recent research and its implications for psychiatry. World Psychiatry. 2016;15(2):103-11. doi:10.1002/wps.20311.

วิศิษฎ์ เนติโรจนกุล. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของปัญหาทางสุขภาพจิตของบุคลากรทางการ แพทย์โรงพยาบาลนครปฐมในยุคการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [Prevalence and associated factors of mental health problems on healthcare workers at Nakhonpathom hospital in Corona virus disease 2019]. วารสารแพทย์ เขต 4-5. 2563;39(4):616-27.

วรวรรณ จุฑา, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, กมลลักษณ์ มากคล้าย, นพพร ตันติรังสี. ภาวะหมดไฟและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของบุคลากรสาธารณสุขจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [Burnout and related factors in health personnel form the Coronavirus disease 2019 (COVID-19) pandemic]. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2565;30(2);147-60.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมศานติ์. คู่มือสติบำบัด [Mindfulness-based therapy and counseling (MBTC) manual]. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: บริษัทบียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2559.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูงวิถีใหม่แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง [Handbook of integrated, people-centered health services in new normal diabetic and hypertension clinic]. นนทบุรี: กองวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์; 2563.

ธีรยุทธ เกิดสังข์, อุไรวรรณ เกิดสังข์, เบญจวรรณ งานวงศ์วิวัฒน์. ผลของโปรแกรมการบำบัดและให้คำปรึกษาโดยใช้สติเป็นฐานต่อความเครียดและระดับสติในนักศึกษาพยาบาล [Effects of mindfulness-based therapy and counseling program on stress and mindfulness in nursing students]. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2561;32(1):33-48.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1998.

Oei TP, Sawang S, Goh YW, Mukhtar F. Using the depression anxiety stress scale 21 (DASS-21) across cultures. Int J Psychol. 2013;48(6):1018-29. doi:10.1080/00207594.2012.755535.

นันทาวดี วรวสุวัส, ลักษณา สกุลทอง, กุลิสรา พิศาลเอก, มนัสพงษ์ มาลา, ปราณี เนาวนิตย์. โครงการวิจัยพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจ ป้องกันภาวะหมดไฟ ดูแลใจคนทำงาน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 (EPI-BP Model) [The development of model to enhancing psychological immunity and burnout prevention for health region 7 health officials: EPI-BP Model]. ขอนแก่น: ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7 กรมสุขภาพจิต; 2560.

Zhang D, Lee EKP, Mak ECW, Ho CY, Wong SYS. Mindfulness-based interventions: an overall review. Br Med Bull. 2021;138(1):41-57. doi:10.1093/bmb/ldab005.

Koncz A, Demetrovics Z, Takacs ZK. Meditation interventions efficiently reduce cortisol levels of at-risk samples: a meta-analysis. Health Psychol Rev. 2021;15(1):56-84. doi:10.1080/17437199.2020.1760727.

Fazia T, Bubbico F, Iliakis I, Salvato G, Berzuini G, Bruno S, et al. Short-Term meditation training fosters mindfulness and emotion regulation: a pilot study. Front Psychol. 2020;11:558803. doi:10.3389/fpsyg.2020.558803.

Tan C. Search inside yourself: the unexpected path to achieving success, happiness (and world peace). New York: HarperOne; 2012.

Spijkerman MP, Pots WT, Bohlmeijer ET. Effectiveness of online mindfulness-based interventions in improving mental health: a review and meta-analysis of randomised controlled trials. Clin Psychol Rev. 2016;45:102-14. doi:10.1016/j.cpr.2016.03.009.

Janssen M, Heerkens Y, Kuijer W, van der Heijden B, Engels J. Effects of mindfulness-based stress reduction on employees' mental health: a systematic review. PLoS One. 2018;13(1):e0191332. doi:10.1371/journal.pone.0191332.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13